P/E Ratio: กำไรในอดีตหรืออนาคต (2)

มาทำความรู้จักกับ PEG Ratio และ การใช้ P/E Ratio ในการวิเคราะห์กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น

Facebook Twitter LinkedIn

หลังจากเรียนรู้วิธีคำนวณ P/E และความแตกต่างระหว่างการใช้ Backward-looking P/E และ Forward-looking P/E กันไปแล้วว่า มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ในบทความนี้มาต่อกันที่

PEG Ratio: อัตราส่วนที่ช่วยเสริม P/E    

P/E Ratio ที่สูงนั้น อาจไม่ได้หมายความว่าหุ้นตัวนั้นแพงและไม่น่าลงทุนเสมอไป ด้วยเหตุนี้นักลงทุนในต่างประเทศจึงนิยมใช้ Ratio อีกหนึ่งตัวที่เรียกว่า PEG Ratio (P/E Ratio / Earnings Growth) เพื่อแก้ไขจุดอ่อนของ P/E Ratio นั่นเอง แต่ในบ้านเรา PEG Ratio อาจได้รับความนิยมน้อยกว่า P/E Ratio ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น จุดอ่อนของ P/E Ratio นั้นก็คือเมื่อใดก็ตามที่หุ้นมีค่า P/E สูง นักลงทุนจะคิดว่าหุ้นมีราคาแพง ซึ่งความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้หากพิจารณาถึงอัตราการเติบโต (%) ของหุ้นในแต่ละตัวซึ่งในที่นี้หมายถึงการเติบโตของกำไรเท่านั้น  ดังนั้นการคำนวณ PEG จึงมีการใช้อัตราการเติบโตของกำไร (Earnings Growth %) ของบริษัทเพิ่มเข้ามาในการคำนวณ ซึ่งค่านี้สามารถหาได้จากการนำค่า EPS ในปีนี้เปรียบเทียบกับ EPS ปีที่แล้ว

นักลงทุนสามารถหาค่า PEG Ratio ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

วิธีการอ่านค่า PEG Ratio    

PEG Ratio > 1 : ค่า P/E สูงกว่าการอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น

PEG Ratio < 1 : ค่า P/E ต่ำกว่าการอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น

            ในกรณีนี้ นักลงทุนทั่วไปที่สนใจมองแต่เพียง P/E Ratio เพียงอย่างเดียวอาจเห็นว่า Growth Co. มีค่า P/E สูงกว่า Mature Co. อยู่มาก หุ้นอาจจะมีราคาแพงเกินไปแล้ว แต่หากนำ Earnings Growth เข้ามาคำนวณด้วยจะเห็นว่า Growth Co. มีอัตราการเจริญเติบโตที่มากกว่า Mature Co. อยู่ถึง 5 เท่า ทำให้ค่า PEG ที่คำนวนได้สำหรับ Growth Co. ต่ำกว่าค่า PEG ของ Mature Co. เสียอีก หากนำ PEG Ratio เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์แล้วจะเห็นว่า ถึงแม้ Growth Co. จะมีค่า P/E ที่สูงกว่า Mature Co. อยู่มากแต่ก็อาจจะเป็นบริษัทที่น่าสนใจในการลงทุน เนื่องจากตัวบริษัทมีอัตราการเติมโตของกำไรที่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การใช้ P/E Ratio หรือ PEG เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถทำให้เห็นถึงมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ นักลงทุนจึงควรเลือกใช้อัตราส่วนเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งในการตัดสินลงทุนเท่านั้น

P/E และกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น

นอกจากจะใช้ P/E Ratio ในการวิเคราะห์หุ้นแล้ว นักลงทุนยังสามารถใช้ P/E Ratio ในการวิเคราะห์กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นได้เช่นกัน ซึ่งทาง Morningstar ได้ทำการให้ข้อมูล P/E Ratio สำหรับกองทุนหุ้นไว้ในเครื่องมือจัดลำดับกองทุนของเรา P/E Ratio ที่เราใช้เรียกว่า Price/Prospective Earnings โดยตัวกำไรที่นำมาใช้คำนวณนั้นมาจากค่าคาดการณ์กำไรในอนาคตของหุ้นทุกตัวที่กองทุนรวมถืออยู่

Morningstar จะใช้วิธีการคำนวณ P/E โดยการเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) ของหุ้นในพอร์ตโฟลิโอของกองทุนนั้นๆ ดังนั้น กองทุนรวมที่มีค่า P/E Ratio ที่สูงอาจใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นความเติบโต (growth strategy) ในขณะที่กองทุนรวมที่มีค่า P/E ต่ำอาจใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (value-oriented) นอกจากนี้ P/E Ratio ของกองทุนหุ้นยังขึ้นอยู่กับ สัดส่วนของหุ้นแต่ละตัวที่อยู่ในพอร์ตโฟลิโอของกองทุนนั้นๆด้วย ซึ่งหุ้นที่มีสัดส่วนมากในพอร์ตโฟลิโอย่อมจะมีน้ำหนักมากเมื่อนำไปคำนวน P/E Ratio รวมของกองทุน

กุญแจสำคัญสำหรับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

นักลงทุนที่ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นคุณค่ามักใช้ P/E Ratio ในการค้นหาหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง การใช้อัตราส่วน P/E Ratio และตัวชี้วัดอื่นๆ จะทำให้นักลงทุนและผู้จัดการกองทุนสามารถเลือกบริษัทที่เหมาะสมกับกลยุทธ์การลงทุนได้ โดยเน้นซื้อหุ้นที่มีราคาถูกและถือหุ้นนั้นจนกว่าราคาจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่า P/E Ratio จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการประเมินราคาของหุ้น กองทุนรวม และตลาดโดยทั่วไป แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดข้อมูลทุกอย่าง เราควรพิจารณาปัจจัยเสริมอื่นๆในการลงทุนด้วย ตัวอย่างเช่น  การจัดการภายในของผู้บริหาร แนวโน้มอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจโดยรวม  ในทำนองเดียวกัน สำหรับกองทุนรวม นักลงทุนควรพิจารณาถึง วิธีการคัดเลือกสินทรัพย์ ประสบการณ์ของผู้จัดการกองทุน ผลการดำเนินงานและความเสี่ยงโดยรวมของกองทุนด้วย สุดท้ายนี้ หากนักลงทุนต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ P/E ของแต่ละกองทุนสามารถเข้ามาดูได้ที่ www.morningstarthailand.com ค่ะ 

บทความจากคอลัมน์ Five-Star Investor (หนังสือพิมพ์ Posttoday วันที่ 28 พ.ค. 2556)

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar Analysts   -