เทคนิคการลงทุนในกองทุน LTF

คำถามยอดฮิต "ซื้อ LTF กองไหนดี? " วันนี้มอร์นิ่งสตาร์มีเทคนิคดีๆมาช่วยให้ท่านเลือกกองทุนที่ดีและเหมาะกับท่านมาฝากครับ

Facebook Twitter LinkedIn

          มาถึงวันนี้ผมเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่คงทราบข่าวเรื่องการต่ออายุสิทธิประโยชน์ในการลงทุนผ่านกองทุน LTF กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่หากใครยังไม่ทราบผมขอถือโอกาสสุรปให้ฟังสั้นๆว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการลงทุนใน LTF นั้นได้รับการต่ออายุไปอีก 3 ปี โดยท่านสามารถลงทุนและรับสิทธิประโยชน์ไปจนถึงปี 2562 แต่การลงทุนตั้งแต่ปีหน้า 2559  เป็นต้นไปนั้น ผู้ลงทุนจะต้องถือครองอย่างน้อย 7 ปีปฎิทิน แต่ผู้ลงทุนที่ลงทุนในปีนี้ 2558 ยังคงใช้กฎการถือครองเดิมคือ 5 ปีปฎิทิน

มาถึงตรงนี้คำถามสำคัญที่อยู่ในใจผู้ลงทุนทุกคนนั้นก็คือ แล้วเราจะซื้อกองทุน LTF กองไหนดี ก่อนจะไปถึงคำตอบของคำถาม หลายท่านคงสงสัยว่า LTF นั้นก็เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นในประทศไทยทั้งสิ้น แล้วมันจะต่างกันได้อย่างไร กองไหนห็น่าจะเหมือนๆกันไม่ใช่หรอ ตรงนี้ต้องขอตอบเลยครับว่า แต่ละกองทุนนั้นแตกต่างกันทั้งในแง่ของผลตอบแทน ความเสี่ยง สไตล์การลงทุน วิธีการบริหาร รวมถึงค่าธรรมเนียม และที่สำคัญไม่ใช่ว่าทุกกองทุนจะเหมาะสมกับเรา

ปัจจุบันมีกองทุน LTF ทั้งหมด 52 กองทุน และมี 1 กองทุนที่มี 2 ชนิดหน่วยลงทุน โดยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่มหลักคือ 1. เน้นลงทุนในหุ้นแบบเต็มจำนวน (มี 40 กองทุน) 2. เน้นลงทุนในหุ้นเพียง 70% ส่วนที่เหลือ 30% ลงทุนในตราสารหนี้ (มี 9 กองทุน) และ 3. แบบที่มีการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (มี 3 กองทุนแต่ไม่เปิดขายหน่วยลงทุนเพิ่มแล้ว) และในจำนวน 52 กองทุนนี้มี 27 กองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล

หลักการเลือกกองทุน LTF อย่างง่ายๆดังต่อไปนี้

Do’s

  1. ทำความรู้จักตัวเอง เริ่มต้นที่ระดับการรับความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้น้อยกองทุน LTF ที่แบบ 70/30 ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่หากรับความเสี่ยงได้สูง กองทุน LTF ที่เน้นลงทุนหุ้นเต็มจำนวนก็เป็นทางเลือกที่แหมาะสมกว่า
  2. รู้จักกองทุน ที่ท่านกำลังสนใจ ซึ่งแต่ละกองทุนมีสไตล์การบริหารกองทุนที่ไม่เหมือนกัน บางกองทุนมีกลยุทธ์แบบซื้อแล้วถือ (Buy and Hold) ซึ่งก็จะต่างกันกับกองทุนที่เน้นลงทุนแบบจับจังหวะ (Trading) หุ้นที่ลงทุนก็สำคัญบางกองทุนเน้นลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ เน้นหุ้นปันผล หรือ เน้นหุ้นเติบโตสูง ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ยังสะท้อนไปถึงความเสี่ยงของกองทุนนั้นๆอีกด้วย
  3. เช็คผลตอบแทนย้อนหลังระยะยาวมากกว่า 3 ปีขึ้นไป และนำไปเปรียบเทียบกับทั้งดัชนีชี้วัด (Benchmark) และกองทุน LTF กองอื่นๆ รวมทั้งควรเน้นดูความสม่ำเสมอในการผลตอบแทนรายปีย้อนหลัง 3 ปีขึ้นไปด้วยเช่นกัน
  4. ตรวจสอบค่าธรรมเนียม ซึ่งในที่หมายถึง ค่าธรรมเนียมซื้อ/ขาย และที่สำคัญค่าใช้จ่ายที่กองทุนเรียกเก็บจากกองทุน (Total Expense Ratio) ซึ่งจะมีประกาศอยู่ทั้งใน Fund Factsheet และ หนังสือชี้ชวน ซึ่งหลักๆจะประกอบไปด้วย ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าผู้ดูแลรักษาผลประโยชน์ ค่าผู้สอบบัญชี เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนในการลงทุนทั้งสิ้น ซึ่งตรงนี้ถ้ากองทุนยิ่งเก็บน้อยเท่าไรก็ยิ่งเป็นผลดีต่อผู้ลงทุน

Don’ts

  1. อย่าเลือกซื้อกองทุนเพียงเพราะความสะดวกสบาย เหตุผลเพียงเท่านี้ไม่ควรนำมาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกกองทุน เพราะการซื้อกองทุนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากกว่าแต่ก่อนมาก ท่านไม่จำเป็นต้องไปซื้อที่สาขาธนาคารเท่านั้นอีกต่อไปแล้ว แทบทุก บลจ. มีบริการการซื้อขายออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือท่านยังสามารถเลือกซื้อผ่านตัวแทนขายหน่วยลงทุน หรือ Fund Supermart ต่างๆได้อีก
  2. การซื้อกองทุนหลายกองนั้นไม่ได้หมายความว่าท่านได้กระจายความเสี่ยงเสมอไป เพราะหากกองทุนที่ท่านซื้อมีสไตล์การลงทุนเหมือนกัน อาทิเช่น ทุกกองทุนเน้นลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ ความเสี่ยงในการลงทุนก็ยังคงกระจุกตัวอยู่เช่นเดิม
  3. อย่าวิ่งไล่ตามผลตอบแทน (โดยเฉพาะผลตอบแทนระยะสั้น) หลายครั้งที่ผู้ลงทุนมักจะซื้อกองทุนที่สามารถทำผลตอบแทนได้สูงที่สุดในแต่ละปีและสุดท้ายก็ต้องผิดหวังกับผลตอบแทนในปีถัดมา

หากผู้ลงทุนสนใจศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุน LTF สามารถเข้ามาใช้บริการฟรีได้ที่ www.morningstarthailand.com โดยให้เข้าไปที่

  •  จัดลำดับกองทุน

Quickrank

  • เลือกดูเฉพาะกองทุน LTF

LTF

  • เรียงลำดับผลตอบแทนตามช่วงเวลาต่างๆ

Performance

  • ดูรายละเอียดเชิงลึกรายกองทุน โดยคลิกได้ที่ชื่อกองทุนแต่ละกองที่สนใจ

Profile

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst