ปี2559นักลงทุนไทยนิยมลงทุนกองทุนไหน

ความกังวลต่อภาวะการลงทุนที่เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ลงทุนมีการเลือกลงทุนประเภทสินทรัพย์เปลี่ยนไปในแต่ละปี 

Facebook Twitter LinkedIn

บทความนี้เป็นเนื้อหาบางส่วนจากการแถลงข่าวสรุปภาพรวมกองทุนรวมปี 2559         

          ปี 2559 ที่ผ่านมานี้ เปิดต้นปีกันด้วยความผันผวนและความกังวลต่อการลงทุนส่งผลให้เป็นอีกปีหนึ่งที่นักลงทุนไทยหันมาลงทุนกันในกองทุนที่หรือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมากขึ้นแต่ที่ต่างไปจากในอตีดที่ผ่านมานั้นก็คือ นักลงทุนเริ่มเรียนรู้การลดระดับความเสี่ยงการลงทุนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึงส่งผลให้กองทุนหรือประเภทสินทรัพย์ที่มาแรงในปี 2559 นี้คือ กองทุนแบบผสม หรือ Allocation Fund นั้นเองซึ่งถ้าหากดูจากเม็ดเงินลงทุนสุทธิเปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเมื่อปลายปีก่อนหน้านี้นั้น (Organic Growth Rate %) นั้นถือว่ากองทุนประเภทดังกล่าวมีการเติบโตสูงที่สุดถึง 65.44% ตามมาด้วยสิ้นทรัพย์ประเภทตราสารหนี้หรือ Fixed Income ที่โต 27.54%

แต่อย่างไรก็ตามหากมองเฉพาะแต่เม็ดเงินสุทธิก็ต้องยอมรับว่ากองทุนในกลุ่ม Fixed Income นั้นยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ซึ่งกลุ่ม Foreign Investment Bond Fixed Term Short Term Bond นั้นมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิสูงสุด 2 อันดับแรกประจำปี 2559 ที่ 298,575 และ 123,211 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีกองทุนผสมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ Global Allocation ตามมาในลำดับที่ 3 และแบบที่เน้นลงทุนในประเทศ Aggressive Allocation ในลำดับที่ 4 โดยมีเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิที่ 47,435 และ 43,069 ตามลำดับ

ในทางกลับกัน ความกังวลที่มีต่อความเสี่ยงของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในสินทรัพย์ประเภท High Yield ประกอบกับผลตอบแทนที่น้อยลงและดูเหมือนจะไม่คุ้มกับความเสี่ยงก็ส่งผลให้ความนิยมของกองทุนในกลุ่มดังกล่าวลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดจึงส่งผลให้กลุ่ม Global High Yield Bond Fix Term นั้นมีเงินไหลออกสุทธิสูงที่สุดประจำปี 2559 นี้ที่ -43,416 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่ม Money Market ที่ในอดีตเคยได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเสมือนหนึ่งเป็นแหล่งพักเงินในยามที่ผู้ลงทุนเกิดความไม่มั่นใจต่อการลงทุนก็กลับไม่ได้รับความนิยมเหมือนเช่นเคยเนื่องจากระดับผลตอบแทนที่ลดลง ส่งผลให้มีเงินไหลออกกว่า -23,889 ล้านบาท

TopInOutFlow

ในส่วนของ บลจ ที่มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าสุทธิสูงสุด 5 อันดับแรกนั้นก็ไม่ได้เป็นที่น่าแปลกใจโดยที่ 5 บลจ. ใหญ่ นำมาโดย SCBAM(120,699 ล้านบาท), TMBAM(80,958 ล้านบาท), KAsset(76,595 ล้านบาท), KTAM(76,140 ล้านบาท) และ BBLAM(72,910 ล้านบาท) ที่ล้านแล้วแต่มีธนาคารเป็นบริษัทแม่นั้นสามารถนำเม็ดเงินลงทุนสุทธิรวมกันเข้าได้สูงถึง 81.40% ของเม็ดเงินลงทุนสุทธิรวมของทั้งปี

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst