กองทุน Robotics ในประเทศไทย

กองทุน Robotics คืออะไร แล้วมีกองทุนอะไรบ้าง รายละเอียดเป็นอย่างไร วันนี้มอร์นิ่งสตาร์จะมาเล่าให้ฟังครับ

Morningstar 26/02/2561
Facebook Twitter LinkedIn

ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วรวมถึงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เชื่อว่านักลงทุนหลายท่านคงได้ยินหลายคนพูดถึงกองพวก Thematic Fund ใหม่ๆ อย่าง กองประเภท Automation & Robotics ซึ่งมีการลงทุนในบริษัทชั้นนำของโลกที่มุ่งพัฒนาหุ่นยนต์ และระบบออโตเมชั่นเพื่อการค้าอาทิเช่น  KEYENCE (บริษัทจากประเทศญี่ปุ่นที่จำหน่ายหุ่นยนต์อุตสหกรรม), NVIDIA (บริษัทผู้ผลิตการ์ดจอคอมพิวเตอร์จากอเมริกา นักขุด Bitcoin ทั้งหลายคงคุ้ยเคยกับบริษัทนี้ดี), INTUITIVE SURGICAL (บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแพทย์) รวมไปถึงบริษัทชั้นนำอื่นๆ ที่ได้ลงทุนพัฒนาและวิจัยในส่วนของเทคโนโลยีและหุ่นยนต์อัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐิ์ (A.I) เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ และต่อยอดทางธุรกิจ

คำถามต่อมาคือ “ทำไมเราถึงควรลงทุนในกองทุนธีมเหล่านี้?” ต้องย้อนความไปในอดีตว่าโลกของเราได้ผ่านการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหญ่มาหลายครั้งมีการนำเครื่องจักรเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ในช่วงต้น และในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าเราอยู่ในช่วงต้นของการเปลี่ยนถ่ายที่นำเทคโนโลยีอัจฉริยะและปัญญาประดิษฐิ์เข้ามาช่วยมนุษย์ทำงานให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่หุ่นยนต์มีราคาลดลง รวมถึงปัญหาสังคมผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบให้เกิดความไม่สมดุลในตลาดแรงงาน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยหนุนให้ Robotics Technology มีศักยภาพในการเติบโตที่สูงในอนาคต

สำหรับนักลงทุนไทยที่ชอบติดตามกระแสเทรนด์เทคโนโลยีและหุ่นยนต์ของโลก และสนใจที่จะลงทุนในกองทุนประเภทนี้ในบ้านเราก็มีให้เลือกลงทุนกันอยู่ 4 กองทุน ดังนี้

robo

 

หมายเหตุ : เนื่องจากกองทุนประเภทนี้ในประเทศไทยยังมีไม่ครบตามเงื่อนไขตั้งแต่ 5 กองขึ้นไป ทาง Morningstar จึงยังไม่ได้จัดตั้ง category สำหรับกลุ่มนี้นะครับ

กองทุน Asset Plus Robotics

เน้นลงทุนในกอง Master fund เพียงกองเดียวคือ  AXA WF Framlington Robotech I USD  คิดเป็น 63.16 % ของทั้งหมด   โดยกองเน้นลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ในหุ้นกลุ่ม Large market cap ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงในอนาคต ทั้งยังมีการลงทุนใน ETF บางส่วน รวมถึงมีการกระจายความเสี่ยงการลงทุนไปในหลายทวีปแต่เน้นลงทุนในอมเริกาเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงเน้นการลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีเป็นหลัก โดยกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 (เกือบทั้งหมด) ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ

โดยมีค่าธรรมเนียมซื้อที่ 1.5 % และมีค่าใช้จ่ายกองทุนทั้งหมด(เก็บจริง) 2.53%

*ข้อมูลการลงทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2560; ข้อมูลการลงทุนเพิ่มเติม https://goo.gl/LWXG9A

กองทุน SCB Global Robotics A (ชนิดสะสมมูลค่า)

มีลักษณะการลงทุนเป็น fund of Funds เน้นกระจายความเสี่ยงการลงทุนใน ETF 3 กองในสัดส่วนเท่าๆกัน กองที่ 1. Global X Robotics & Artificial Intelligence ETF (BOTZ) มีการลงทุนในญี่ปุ่นสูงที่สุด ตามมาด้วยอเมริกา และส่วนที่เหลือจะเป็นในยุโรปที่พัฒนาแล้ว

กองที่ 2. ROBO Global Robotics and Automation (ROBO) มีการลงทุนหลักในอเมริกาเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยญี่ปุ่น และยุโรปที่พัฒนาแล้ว

กองที่ 3. iShares Automation & Robotics (RBOT) เน้นลงทุนในเอเชียเกือบครึ่ง โดยในจำนวนนี้เป็นหุ้นญี่ปุ่นเกินครึ่งหนึ่ง ขณะที่ลงทุนในอเมริกาในลำดับต่อมา

โดยรวมแล้วกองทุนเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม Mid market cap ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงในอนาคต รวมถึงมีการกระจายความเสี่ยงการลงทุนไปในหลายทวีป โดยกองทุนเน้นการลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีเป็นหลัก นอกจากนี้กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนแบบตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุนโดยมีค่าธรรมเนียมซื้อที่ 1.605 % และมีค่าใช้จ่ายกองทุนทั้งหมด(เก็บจริง) 1.19%

*ข้อมูลการลงทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2560; ข้อมูลการลงทุนเพิ่มเติม  https://goo.gl/UZc89s

กองทุน LHROBOT-E

เน้นลงทุนในกอง Master fund เพียงกองเดียวคือ iShares Automation & Robotics UCITS ETF   โดยกองแม่นั้นมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนที่หวังผลตอบแทนและรายได้ให้ใกล้เคียงกับดัชนี iSTOXX FactSet Automation & Robotics Index กองแม่นั้นมีสัดส่วนการลงทุนเน้นในกลุ่มทวีปเอเชียเกือบครึ่งหนึ่ง โดยเน้นหนักที่ญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ ตามมาด้วยกลุ่มเอเชียที่พัฒนาแล้วที่มีการใช้หุ่นยนต์ในอุตสหกรรมสูง เช่น ไต้หวัน นอกจากนี้ยังมีการกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในเกือบทุกภูมิภาคของโลก เน้นลงทุนในกลุ่มบริษัทส่วนใหญ่ในหุ้นกลุ่ม Mid market cap เป็นหลักเพราะยังมีศักยภาพที่จะโตได้ในอนาคต นอกจากนี้กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแบบตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน

โดยมีค่าธรรมเนียมซื้อที่ 1.00 % และมีค่าใช้จ่ายกองทุนทั้งหมด(เก็บจริง) 1.37% (*เนื่องจากเป็นกองที่เพิ่งตั้งใหม่ในปลายเดือนมกราคมจึงไม่มีข้อมูล Portfolio การลงทุนของกองทุนนะครับ)

สรุปสั้นๆได้ว่า แต่ละกองมีสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกันไป เน้นน้ำหนักการลงทุนในแต่ละทวีปที่ไม่เหมือนกัน ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุนก็มากน้อยตามแต่ บลจ. ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนลงทุน รวมถึงความเสี่ยงของการลงทุนที่เราสามารถยอมรับได้ ผู้ลงทุนสามารถเข้าไปดูเพื่ออัพเดท และเปรียบเทียบข้อมูลผ่านทาง website ของ Morningstar ที่มีให้ใช้กันแบบฟรีๆได้นะครับ

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar