Morningstar Awards Methodology

เตรียมตัวพบกับโฉมหน้าผู้ชนะรางวัล Morningstar Fund Award 2018 กันเร็วๆนี้นะครับ

Morningstar 09/03/2561
Facebook Twitter LinkedIn

Logo 2018

วันนี้อยากจะพาท่านผู้อ่านไปศึกษาวิธีคิดรางวัล มอร์นิ่งสตาร์ อวอร์ดที่จัดขึ้นที่ประเทศไทยของเรา โดยปีนี้เป็นปีที่ 9 ติดต่อกันแล้ว ก่อนอื่นอยากกล่าวถึงประวัติของการมอบรางวัลซักเล็กน้อยก่อน โดยรางวัล มอร์นิ่งสตาร์ อวอร์ด มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้นักลงทุนทั่วโลก ได้เลือกกองทุนที่มีผลงานโดดเด่น โดยมีการมอบรางวัลทุกๆปีในหลายทวีปทั่วโลก เช่น ยุโรป, เอเชีย, แอฟริกา, และอเมริกา โดยทางมอร์นิ่งสตาร์ใช้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลกในการคัดเลือกกองทุนที่ชนะจากการพิจารณทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยพิจารณาจากผลตอบแทนปีล่าสุด,ผลตอบแทน 3 ปีย้อนหลัง, และผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง รวมถึงความเสี่ยง 3 ปี, และ 5 ปีย้อนหลัง เป็นปัจจัยพิจารณาสำหรับรางวัลกองทุนยอดเยี่ยม ในส่วนรางวัลบริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยมนั้นพิจารณาโดยใช้ผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยงตามแบบมอร์นิ่งสตาร์ (Morningstar Risk-adjusted Return)

 

สำหรับรางวัลประเภท Category Awards นั้นมีเกณฑ์การให้คะแนนคร่าวๆดังนี้

ผลตอบแทน = คิดเป็น 80% ของคะแนนทั้งหมด โดยมีรายละเอียดย่อยดังนี้

ปีล่าสุด: 30% คูณ อันดับเปอร์เซนไทล์ของผลตอบแทนปีล่าสุด

3 ปีย้อนหลัง: 20% คูณ อันดับเปอร์เซนไทล์ของผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี

5 ปีย้อนหลัง: 30% คูณ อันดับเปอร์เซนไทล์ของผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี

(จะเห็นว่าหลังคำนวณ; 30% + 20% + 30% = 80% พอดี)

 

ความเสี่ยง = คิดเป็น 20% ของคะแนนทั้งหมด โดยมีรายละเอียดย่อยดังนี้ (เป็นความเสี่ยงที่คิดแบบมอร์นิ่งสตาร์)

3 ปีย้อนหลัง: 8% คูณ อันดับเปอร์เซนไทล์ของความเสี่ยงย้อนหลัง 3 ปี

5 ปีย้อนหลัง: 12% คูณ อันดับเปอร์เซนไทล์ของความเสี่ยงย้อนหลัง 5 ปี

 (จะเห็นว่าหลังคำนวณ; 8% + 12% = 20% พอดี)

โดยหลังจากได้คะแนนดิบจากวิธีการข้างบนแล้ว จะนำมาพิจารณาโดยวิธีเชิงคุณภาพและเกณฑ์อื่นๆอีกทีนึง เพื่อให้ได้ผู้ชนะที่ดีที่สุด

 

สำหรับรางวัลประเภท Fund House Awards นั้นมีเกณฑ์การให้คะแนนคร่าวๆดังนี้

บริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยม ประเภทหุ้นภายในประเทศ โดยต้องมีกองทุนหุ้นที่ขายในประเทศอย่างน้อย 5 กอง

บริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยม ประเภทตราสารหนี้ภายในประเทศ โดยต้องมีกองทุนตราสารหนี้ที่ขายในประเทศอย่างน้อย 3 กอง

(**โดยกองทุนต้องได้รับมอร์นิ่งสตาร์ เรทติ้ง 5 ปี ถึงจะได้รับการพิจารณา นั้นหมายความว่ากองทุนที่ผลงานย้อนหลังไม่ถึง 5 ปี หรือกองทุนที่ไม่ได้รับมอร์นิ่งสตาร์ เรทติ้ง จะถูกคัดออก)

ระบบการให้คะแนนนั้นทางมอร์นิ่งสตาร์จะคำนวณคะแนนภายในแต่ละบริษัทจัดการดังนี้

  1. หาค่า Morningstar Risk-adjusted Return (MRAR) ในแต่ละ Share class ของกองทุนในบริษัทจัดการนั้นๆ แล้วนำมาหาอันดับเปอร์เซนไทร์ (MRAR Percent% Rank) โดยเทียบกับกองทุนในประเภทนั้นๆแล้วนำค่าที่ได้มารวมกันภายในแต่ละบริษัทจัดการ

2.   หาค่าเฉลี่ยของ MRAR ภายในแต่ละบริษัทจัดการนั้นๆ

3.   จากนั้นนำค่าเฉลี่ย MRAR มาปรับด้วยความน่าจะเป็น (Probability function) เพื่อลดความแตกต่างของ

ขนาดกองทุนในแต่ละบริษัทจัดการนั้นๆ โดยบริษัทจัดการที่ได้คะแนนต่ำสุดหลังจากปรับค่าแล้วจะได้รับการ คัดเลือกเป็นผู้ชนะในประเภทนั้นๆ

สำหรับผุ้ที่สนใจวิธีคำนวนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://awards.morningstar.com/

 

ก่อนจากกันขอประชาสัมพันธ์งานประกาศผลรางวัลกองทุนยอดเยี่ยมปี 2018 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 มีนาคม ที่หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ชั้น 3 อาคาร B ตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนผลจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวจะมาแจ้งให้นักลงทุนทราบกันนะครับ

 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar