ทำความเข้าใจ Investor Return กันซักนิด

Investor Return แท้จริงคืออะไร? เกี่ยวข้องกับ Market Timing อย่างไร? วันนี้มาหาคำตอบกัน

Morningstar 22/05/2561
Facebook Twitter LinkedIn

ผมเชื่อว่านักลงทุนหลายๆท่านคงเคยมีคำถามในใจทำนองว่า “ถ้าเราซื้อกองทุนแล้วถือยาวๆโดยไม่ต้องมานั่งดูค่า NAV กันทุกวัน (Buy and Hold) หรือ เราพยายามจับจังหวะดูเวลาที่ NAV ต่ำๆแล้วค่อยซื้อ พอ NAV สูงๆแล้วค่อยขาย (Market Timing) แบบไหนจะดีกว่ากัน ?” วันนี้ทาง Morningstar จะมาช่วยนักลงทุนหาคำตอบกันครับ

เริ่มกันที่ สมมุติเราซื้อกองทุนไว้ตอนต้นปีแล้วถือยาวไปซัก 5 ปีแล้วขายทิ้ง ณ สิ้นปีของปีที่ 5 ดังนั้นผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้จะเท่ากับ Total Return ของกองทุนนั้นในระยะ 5 ปี หรือ Time-weighted rate อันนี้ทุกท่านคงพอทราบกันอยู่แล้ว แต่ในทำนองกลับกันว่าถ้าสมมุตินักลงทุนใช้วิธีจับจังหวะเข้าออก หรือพูดง่ายๆว่ามีการซื้อและขายในระหว่าง 5 ปีหลายครั้งๆนั้น ทุกท่านคงเริ่มสงสัยแล้วว่าเราจะคิดผลตอบแทนกันอย่างไรพอมีเงินเข้าและเงินออกมาเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุผลนี้ทาง Morningstar จึงนำวิธีการคำนวณ Money-weighted rate ที่เราๆคุ้นเคยกันมาเป็นตัววัด แล้วใช้คำว่า Investor Return เป็นตัวแทนนั้นเอง โดย Investor ในที่นี้คือ นักลงทุนโดยทั่วๆไปที่เข้ามาซื้อขายกองทุนครับ ไม่ใช่เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

Investor Return

เมื่อเราพอเข้าใจ Concept เบื้องต้นในการคิดค่าทั้ง 2 ค่าแล้ว ทีนี้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เรามาดูว่าทั้ง 2ค่า ให้ผลแตกต่างกันได้กี่กรณี อย่างไรบ้าง

  1. Total Return > Investor Return เรามักจะเห็นกรณีนี้เป็นส่วนใหญ่นั้นแปลว่าการซื้อแล้วถือไว้ให้ผลตอบแทนมากกว่าการจับจังหวะ
  2. Total Return < Investor Return สามารถเกิดขึ้นได้ นั่นหมายความว่า นักลงทุนส่วนมากเข้าซื้อและขายถูกจังหวะ มากกว่าการซื้อแล้วถือยาว
  3. Total Return = Investor Return แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะนั่นหมายถึงนักลงทุนทุกคนต้องซื้อกองตั้งแต่ต้น โดยไม่มีเงินเข้าออกระหว่างทาง และขายกองเมื่อสิ้นสุดในระยะเวลานั้น

 

ผลตอบแทนของกองทุน VS ผลตอบแทนของผู้ลงทุน

Investor 2

ที่มา: Morningstar Direct , ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561

จากข้อมูลเราเลือกกองทุนรวมหุ้นอินเดียมาเป็นตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ถ้าเป็นการลงทุนระยะยาว 5 ปีนั้นถ้าเราเลือกซื้อกองทุนแล้วถือยาว ผู้ลงทุนจะได้ผลตอบแทนอยู่เฉลี่ยประมาณ 11.50% แต่ถ้าเลือกจับจังหวะเข้าออกจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 6.61% เรียกว่าผลตอบแทนหายไปประมาณ 4.88% เลยทีเดียว ในส่วนการลงทุนในระยะ 3 ปีนั้น จะเห็นได้ว่าถึงแม้การใช้กลยุทธ์จับจังหวะจะชนะการถือยาวแต่ก็ชนะไปแค่ 0.47% เท่านั้น (ซึ่งยังไม่นับค่าธรรมเนียมซื้อขาย ที่เราต้องจ่ายทุกครั้งที่มีการซื้อขาย) ในส่วนของการลงทุนระยะสั้น 1 ปีนั้น การถือยาวก็ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเฉลี่ยประมาณ 1.01% จากตัวเลขเหล่านี้เราจะเริ่มเข้าใจได้ว่า ทำไมหลายคนถึงแนะนำว่าการลงทุนในกองทุนนั้นผู้ลงทุนควร Focus การลงทุนระยาวเป็นหลัก เพราะถึงแม้ว่าท่านจะจับหวะซื้อขายกองทุนได้แม่นยำ (ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก และใช้เวลาอย่างยิ่ง) ก็ชนะการถือยาวได้ไม่กี่ % เท่านั้นครับ

ก่อนจากกันอยากทิ้งท้ายว่าการลงทุนในกองทุนต่างประเทศนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาในส่วนอื่นเพิ่มเติมด้วยครับ เช่น ค่าใช่จ่ายต่างๆของกองทุน สไตล์การลงทุนของกองMaster ว่าเน้นการลงทุนแบบไหน รวมไปถึงกองที่ท่านเลือกซื้อมีการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินหรือไม่ประการใด ทั้งความผันผวนของตลาดที่จะไปลงทุนนั้นมีมากน้อยเพียงใด อีกทั้งเราไม่ควรใช้ Investor Return มาดูแทน Total Return ครับ แต่ควรนำมาใช้ประกอบกันในการเปรียบเทียบเพื่อให้การเปรียบเทียบค่าผลตอบแทนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นครับ

 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar