ตรวจสอบพอร์ตอย่างง่ายๆใน 5 ขั้นตอน

คุณควรวางแผนที่จะปรับพอร์ตโฟลิโอของคุณ อย่างน้อยทุกๆ 2-3 ปี โดยสังเกตจาก 5 ขั้นตอนต่อไปนี้

Facebook Twitter LinkedIn

หลายกฏพื้นฐานสำหรับการลงทุนนั้นมักจะดูขัดแย้งกับความรู้สึกของคนทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยอาจจะเป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในบัตรเงิน ฝาก (certificates of deposit: CDs) และผลิตภัณฑ์ออมเงินระยะสั้นในรูปแบบต่างๆ แต่ว่ากันตามจริงแล้ว การเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยย่อมไม่ส่งผลดีสำหรับกองทุนตราสารหนี้  และอีกกฎหนึ่งที่น่าสนใจคือ โดยส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนที่ไม่ขยันนั้นจะประสบความสำเร็จมากกว่านักลงทุนที่ ขยันทำงานหนัก

จากประโยคข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า หากคุณเป็นนักลงทุนที่ขยัน คุณจะเช็คพอร์ตโฟลิโอที่คุณถืออยู่ทุกวัน และคอยจับตาดูการขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณอาจรู้สึกอยากจะทำการซื้อขายมากกว่าที่จำเป็น และยังจะทำให้คุณเสียภาษีและค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่คุณจะเข้าไปซื้อหุ้นและกองทุนที่กำลังมาแรงในขณะ นั้น โดยหวังว่าหุ้นหรือกองทุนนั้นจะให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นเหนือหุ้นหรือกองทุน อื่นๆ แต่จริงๆแล้วมันอาจจะทำให้คุณขาดทุนมากกว่านั่งอยู่เฉยๆก็เป็นได้

เพราะ มีความเป็นไปได้ที่คุณจะทำการซื้อขายมากเกินไป เราจึงสนับสนุนให้คุณเช็คพอร์ตโฟลิโอของคุณสัก 2 ถึง 3 ครั้งใน 1 ปี  โดยคุณอาจจะเช็คพอร์ตโฟลิโอของคุณทุกครึ่งปี หรือทุกๆไตรมาสเพื่อหาข้อผิดพลาด หรือ เพื่อปรับพอร์ตโฟลิโอของคุณ  ที่เรียกว่า Rebalancing Portfolio (คุณควรวางแผนที่จะปรับพอร์ตโฟลิโอของคุณ โดยการลดจำนวนเงินลงทุนในส่วนที่มีผลประกอบการที่ดี และไปเพิ่มเงินลงทุนในส่วนที่ผลประกอบการยังไม่ดีเท่าที่ควร อย่างน้อยทุกๆ 2-3 ปี) โดยสังเกตจาก 5 ขั้นตอนต่อไปนี้

1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสัดส่วนของสินทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอของคุณตรงกับเป้าหมายที่คุณตั้งไว้

หนึ่ง ในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พอร์ตโฟลิโอของคุณบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือการจัดสรรสินทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอของคุณ ว่าควรจะถือสินทรัพย์ประเภท หุ้น ตราสารหนี้ และเงินสดเป็นสัดส่วนอย่างละเท่าใด สำหรับผู้ใช้งานMorningstarthailand.com คุณสามารถใช้แถบเครื่องมือ X-ray ที่อยู่บนเว็บไซต์ เพื่อที่จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงสถานะปัจจุบันของพอร์ตโฟลิโอคุณได้ดีขึ้น โดยการใส่ชื่อกองทุนและสัดส่วนการถือครอง จากนั้นคลิ๊ก Show X-Ray คุณก็จะเห็นตารางแสดงการถือครองสินทรัพย์ของคุณว่ามีประเภทใดบ้าง และมีสัดส่วนสินทรัพย์แต่ละประเภทเป็นเท่าไร ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของคุณคืออะไร และมันจะทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบการจัดสรรสินทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอของคุณ ว่าตรงตามเป้าหมายที่คุณตั้งไว้ตั้งแต่แรกหรือไม่

2. เอกซเรย์พอร์ตโฟลิโอ

สำรวจสถานะ หุ้น (stock) และ ตราสารหนี้ (bond) ในพอร์ตโฟลิโอของคุณก่อนว่าเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยเครื่องมือ เอกซเรย์กองทุน (Instant X-Ray) คุณจะเห็น Morningstar style box (กล่องสี่เหลี่ยม 9 ช่อง ที่มุมบนขวาของหน้า X-Ray) ซึ่งจะบอกกลุ่มลักษณะการลงทุนของสินทรัพย์ที่คุณถืออยู่ คุณควรระวังถ้าสินทรัพย์ที่คุณถือแสดงอยู่แค่ใน 1 หรือ 2 ช่องของ style box เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบอกว่าพอร์ตโฟลิโอของคุณเริ่มมีการกระจุกตัวเกิดขึ้น นอกจากนี้ Instant X-Ray ยังช่วยบอกว่าหุ้นที่คุณถืออยู่นั้นกระจายตัวอยู่ในอุตสาหกรรมใดบ้างอีกด้วย

3. ทบทวนสินทรัพย์ที่ถืออยู่

เมื่อ คุณได้ทำการเช็คการจัดสรรพอร์ตโฟลิโอคุณไปแล้ว ต่อมาก็ถึงเวลาที่คุณควรจะดำเนินการทบทวนสินทรัพย์ที่คุณถือครองอยู่ในแต่ละ ตัว คุณจำเป็นที่จะต้องเจาะลึกลงไปในข้อมูลที่สำคัญต่างๆเพื่อที่จะได้ทำความ เข้าใจกับสินทรัพย์ที่คุณถืออยู่มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเข้าไปดูงบการเงินของบริษัทย้อนหลังเพื่อดูความสามารถในการทำกำไร หรือการแข่งขันของธุรกิจที่บริษัททำอยู่ หรือคุณอาจเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อดูวิสัยทัศน์ของผู้บริหารเกี่ยว กับกลยุทธ์ที่จะใช้ในอนาคต การอ่านบทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคุณ ได้เช่นกัน ในส่วนของกองทุน คุณจะต้องคอยติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงใดๆของผู้จัดการกองทุน การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ หรือการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของบริษัทที่บริหารกองทุนนั้นอยู่

4. ตรวจสอบผลการดำเนินงาน

คุณ ไม่ควรมุ่งความสนใจไปที่ผลตอบแทนระยะสั้นมากจนเกินไปในการวัดผลการดำเนินงาน ของพอร์ตโฟลิโอ และเวลาที่คุณตรวจสอบพอร์ตฟอลิโอรายไตรมาส หรือรายครึ่งปีนั้น คุณควรจะทำการประเมินแบบคร่าวๆด้วยว่าสินทรัพย์ตัวใดของคุณทำกำไรมากที่สุด หรือขาดทุนมากที่สุดต่อผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตโฟลิโอของคุณ  คุณอาจจะใช้ตัวเลขผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี ที่เรียกว่า Year-to-date return แต่สิ่งที่คุณควรจะให้ความสำคัญที่สุด นั่นคือตัวเลขผลตอบแทนในระยะยาว ในช่วงระยะเวลา 3 ถึง 5 ปี และนำมาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของสินทรัพย์อื่นในประเภทเดียวกัน

นอก จากนี้ คุณควรสังเกตุผลตอบแทนเชิงสมบูรณ์ (absolute return) ด้วยว่าสินทรัพย์ตัวใดในพอร์ตโฟลิโอของคุณที่ทำกำไรให้สูงสุด หรือขาดทุนสูงสุด การที่ผลการดำเนินงานของพอร์ตโฟลิโอต่ำกว่าเกณฑ์เป็นเวลานานนั้น อาจเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับทรัพย์สินตัวใดตัว หนึ่งของคุณก็เป็นได้ แต่หากปัจจัยพื้นฐานที่คุณใช้ในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นหรือกองทุนนั้นๆยัง ไม่เปลี่ยนแปลง การที่หุ้นหรือกองทุนนั้นมีผลตอบแทนที่ไม่ดีในช่วงใดช่วงหนึ่งอาจจะเป็น โอกาสให้คุณซื้อสินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้นในราคาที่ถูกได้ ตอนที่คุณปรับพอร์ตโฟลิโอของคุณ

5. วางแผนการลงทุนของคุณในอนาคต

หลัง จากที่คุณตรวจสอบสถานะปัจจุบันของพอร์ตโฟลิโอของคุณทั้ง 4 ขั้นตอนผ่านไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องมีการวางแผนการลงทุนต่อไป ซึ่งในการลงทุนคุณอาจจะไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้นกับพอร์ตโฟลิโอในทันที แต่คุณก็ควรกำหนดเวลาที่แน่นอนในการปรับพอร์ตโฟลิโอของคุณ หลักการวางแผนทางการเงินแบบดั้งเดิมบอกไว้ว่า ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการปรับสมดุลของพอร์ตโฟลิโอคือช่วงสิ้นปี แต่ถ้าคุณมีเวลาพอ คุณอาจจะโฟกัสไปที่ช่วงเวลาอื่นของปี เช่น ในช่วงต้นๆไตรมาส 4 คุณก็สามารถทำได้เช่นกัน

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar Analysts   -