สรุปภาพรวมกองทุนรวมปี 2019 (3)

กองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิปิดที่ 6.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.3% มีเงินไหลออกสุทธิรวมทั้งปีที่ -2.2 หมื่นล้านบาท

Morningstar 16/01/2563
Facebook Twitter LinkedIn

กองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund)

กองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิปิดที่ 6.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.3% จากปีที่แล้ว โดยกลุ่ม Property - Indirect Global เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตสูงสุดถึง 85.1% ซึ่งเกิดจากทั้งผลตอบแทนและความนิยมในกองทุนกลุ่มนี้ ทำให้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 21% และมีขนาดทรัพย์สินใหญ่ที่สุดที่ 1.3 แสนล้านบาทแทนที่กลุ่ม Global Allocation ที่ในทางกลับกันมีมูลค่าทรัพย์สินลดลงถึง -17.7% ไปอยู่ที่ 1.0 แสนล้านบาท ทางด้านกลุ่มกองทุน Global Bond ที่แม้ว่าจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 6.2% แต่ยังมีเงินไหลออกอย่างต่อเนื่องทำให้มีมูลค่าทรัพย์สินลดลง -18.2% เหลือ 7.5 หมื่นล้านบาท และมีส่วนแบ่งตลาดกองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term fund) ที่ 12%

กลุ่ม Global Equity มีเงินไหลเข้าสุทธิไม่มากนักราว 2.6 พันล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 33.1% ทำให้มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 4.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเกิดจากผลตอบแทนที่สูงถึง 19.5% (1 ปี) ทางด้านกลุ่ม China Equity มีมูลค่าทรัพย์สิน 4.2 หมื่นล้านบาท สูงเป็นอันดับ 5 ของกองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund) โดยเพิ่มขึ้น 12.2% ซึ่งเกิดจากผลตอบแทนกองทุนเป็นหลักเนื่องจากมีเงินไหลออกสุทธิ -3.9 พันล้านบาทในขณะที่มีผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปีราว 21.9%

6 FIF TNA growth Q419 th

แม้ว่ากองทุนต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund) จะมียอดเงินไหลเข้าสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2-4 แต่ก็ยังมีเงินไหลออกสุทธิรวมทั้งปีที่ -2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเกิดจากปริมาณเงินไหลออกมากในไตรมาสแรก รวมทั้งกลุ่มกองทุนส่วนใหญ่มีทิศทางเป็นเงินไหลออกซึ่งมีเพียง 5 กลุ่มกองทุนที่มีเงินไหลเข้าสุทธินำโดย Property - Indirect Global 5.1 หมื่นล้านบาท กลุ่ม Foreign Investment Miscellaneous ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน โดยกองทุนที่มีเงินไหลเข้าสุทธิสูงสุดสำหรับกลุ่มนี้คือ กองทุน SCB Complex Return 1YB มีเงินไหลเข้าสุทธิ 6.7 พันล้านบาทจากการเสนอขายครั้งเดียวในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2019

กองทุนต่างประเทศหลายกลุ่มในปีนี้ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ย 6-26% ยกเว้นกลุ่ม India Equity ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียง 1% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม นักลงทุนได้ใช้โอกาสนี้ปรับพอร์ตการลงทุนซึ่งเห็นได้จากเงินไหลออกสุทธิในเกือบทุกกลุ่ม เช่น กลุ่ม Global Allocation มีผลตอบแทนเฉลี่ย 12.5% แต่เป็นกลุ่มที่มีเงินไหลออกสูงสุด -3.5 หมื่นล้านบาท โดยกองทุน K Strategic Global Multi-Asset (K-SGM) เป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มและมีเงินไหลออกสุทธิสูงสุดเช่นกันที่ -1.2 หมื่นล้านบาท

กลุ่ม Global Bond มีเงินไหลออกสุทธิ -2.2 หมื่นล้านบาท แม้จะยังมีทิศทางเป็นเงินไหลออกแต่มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปี 2018 ที่เกือบ -9 หมื่นล้านบาท โดยกองทุน TMB Global Income (TMBGINCOME) ยังมีเงินไหลออกสุทธิสูงสุดที่ -9.3 พันล้านบาททำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงไปที่ 2.6 หมื่นล้านบาทจากที่เคยสูงถึง 1.0 แสนล้านบาทในช่วงปี 2017 อย่างไรก็ตามปริมาณเงินไหลออกอาจไม่ได้มีเหตุมาจากผลตอบแทนเพราะกองทุนนี้มีผลตอบแทนเฉลี่ย 6.8% สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มเล็กน้อยที่ 6.2%

กลุ่ม Japan Equity และ Global Healthcare มีเงินไหลออกสุทธิ -7.8 และ -7.2 พันล้านบาท ตามลำดับ โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ย 18.2% และ 19.8%

7 FIF category flow Q419 th

ตลาดกองทุนรวมที่เป็น Feeder Fund ณ สิ้นปี 2019 อยู่ที่ 4.0 แสนล้านบาท ลดลง -2.2% จากปีก่อนหน้าที่ 4.1 แสนล้านบาท มีมูลค่าเป็น 9.4% ของมูลค่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทย นำโดย บลจ. กสิกรไทย ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดที่ 21.9% ด้วยมูลค่าทรัพย์สินกอง Feeder Fund รวม เกือบ 9 หมื่นล้านบาท โดยกองทุน K Gold เป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่สุดด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.1 หมื่นล้านบาท

บลจ. ทหารไทย มีส่วนแบ่งตลาดกองทุน Feeder Fund 18.6% และมีกองทุน Feeder Fund ขนาดใหญ่ที่สุดคือกองทุน TMB Global Income ซึ่งมีการลงทุนใน Master Fund คือ PIMCO GIS Income นอกจากนี้ยังมี บลจ. ไทยพาณิชย์, บลจ. กรุงศรี และ บลจ.ยูโอบี ที่ลงทุนในกอง master fund เดียวกัน และเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดที่เป็น Feeder Fund เช่นกัน

ปี 2019 กองทุน Feeder Fund มีเงินไหลออกสุทธิ -6.8 หมื่นล้านบาท โดยเกือบทุก บลจ. มีเงินไหลออกสุทธิ นำโดย บลจ. ไทยพาณิชย์ -2.1 หมื่นล้านบาท, บลจ. ทหารไทย -1.7 หมื่นล้านบาท และ บลจ. กสิกรไทย -1.2 หมื่นล้านบาท ทางด้านเงินไหลเข้าสุทธิมีเพียง 3 บลจ. คือ We Asset 1.7 พันล้านบาท, บลจ. กรุงศรี 483 ล้านบาท และ บลจ. ธนชาต 10 ล้านบาท

8 Feeder firm th market share Q419 th

บลจ. ต่างประเทศที่กองทุนรวมไทยเข้าลงทุนยังคงมี บลจ. PIMCO มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 16% ตามมาด้วย BlackRock 9%, SPDR State Street 8%, JPMorgan 8% และ Wellington 6% ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดแซง บลจ. UOB ที่เคยอยู่ในอันดับ 5 ณ สิ้นปี 2018

กลุ่มกองทุนผสมมีส่วนแบ่งตลาดที่กระจุกตัวใน บลจ. 5 อันดับแรกได้แก่ JPMorgan 31%, BlackRock 18%, Deutsche 13%, PIMCO 11% และ UOB 10% ในขณะที่กองทุนตราสารทุนมีส่วนแบ่งตลาดที่ค่อนข้างกระจายตัวนำโดย BlackRock 12% ซึ่งในกลุ่ม feeder ตราสารทุนนี้มีกองทุนจาก บลจ. ทหารไทย เป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ TMB Global Quality Growth โดยกองทุน Wellington Global Quality Growth เป็น master fund

9 master fund firm market share Q419 th

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar