กฎเกณฑ์และการจัดเก็บภาษีกองทุนทั่วโล

มอร์นิ่งสตาร์เปิดเผยรายงานผลการศึกษาประสบการณ์การลงทุนในด้าน Regulation and Taxation ของอุตสาหกรรมกองทุนทั่วโลก: ประเทศไทยได้คะแนนระดับ Average

Morningstar 30/04/2563
Facebook Twitter LinkedIn

มอร์นิ่งสตาร์เปิดเผยข้อมูลผลการศึกษาประสบการณ์การลงทุนทั่วโลก Global Investor Experience (GIE) ที่จัดทำขึ้นทุก ๆ 2 ปี โดยเป็นการให้คะแนนด้านประสบการณ์การลงทุนกองทุนรวมของนักลงทุนใน 26 ตลาดการลงทุนในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา

สำหรับรายงานในส่วนที่ 2 คือกฎเกณฑ์และการจัดเก็บภาษี (Regulation and Taxation) เป็นการประเมินโครงสร้างกฎเกณฑ์และภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม โดยให้ระดับคะแนนแต่ละตลาดเป็น Top, Above Average, Average, Below Average, และ Bottom โดยประเทศไทยได้คะแนนระดับ Average

มอร์นิ่งสตาร์ให้คะแนนระดับ Top แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงถึงการมีกฎเกณฑ์และการจัดเก็บภาษีที่เป็นมิตรกับตลาด ในทางตรงกันข้ามมอร์นิ่งสตาร์ให้คะแนนระดับ Below Average กับประเทศออสเตรเลีย แคนาดา จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากยังต้องมีการปรับปรุงระเบียบแบบแผนในด้านกฎเกณฑ์และภาษี มอร์นิ่งสตาร์ไม่ได้ให้คะแนนระดับ Bottom ในตลาดใดเนื่องจากในทุกตลาดมีมาตรการเพื่อปกป้องคุ้มครองนักลงทุน

2020 04 30 1559 Reg and Tax for TH web

รายงานการศึกษาหัวข้อกฎเกณฑ์และการจัดเก็บภาษี (Regulation and Taxation) มีประเด็นสำคัญดังนี้

• ประเทศเนเธอร์แลนด์ สวีเดน และสหราชอาณาจักรได้คะแนนระดับสูงสุด แม้ว่าจะไม่มีประเทศใดมีระบบภาษีที่ดีที่สุด แต่ประเทศเหล่านี้ให้สิทธิประโยชน์เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคคลทั่วไปลงทุนได้เป็นอย่างดี สหราชอาณาจักรยังคงมีการขยายมาตรการการลงทุนภาคบังคับอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันเนเธอร์แลนด์มีจุดเด่นในการห้ามเก็บค่าธรรมเนียมการขาย และสวีเดนมีจุดเด่นในด้านการกำกับดูแลที่เข้มงวด รวมทั้งเป็นผู้นำการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ESG

• ประเทศในทวีปยุโรปภายใต้การกำกับดูแลของ MiFID II ได้คะแนนในระดับ Average เป็นอย่างต่ำ เนื่องจากเกณฑ์การลงทุนกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ เช่น soft-dollar commissions และมีความโปร่งใสที่มากขึ้น

• ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกายังคงเป็นรองตลาดอื่นเช่นเดิม ประเทศเหล่านี้มีกฎเกณฑ์บังคับใช้แนวปฏิบัติและแนวทางการขายที่เพียงพอตามมาตรการขั้นพื้นฐาน และนักลงทุนสามารถได้รับประสบการณ์การลงทุนที่ดี อย่างไรก็ตามประเทศเหล่านี้ยังคงขาดมาตรฐานที่ประเทศอื่นใช้กำกับดูแลด้านความขัดแย้งทางผลประโยชน์และสร้างแรงจูงใจหรือให้สิทธิประโยชน์การลงทุน นอกจากนี้ทั้งประเทศออสเตรเลีย แคนาดาและสหรัฐอเมริกายังตามหลังประเทศอื่นในด้านนโยบายทางภาษี ทำให้อาจเป็นอุปสรรคหรือขาดแรงจูงใจให้เกิดการลงทุน

• ประเทศญี่ปุ่นมีคะแนนลดลงไปที่ระดับ Below Average แม้ว่าจะมีการพัฒนาเชิงบวก ประเทศญี่ปุ่นตกไปที่ระดับ Below Average จากระดับ Average เนื่องจากทางมอร์นิ่งสตาร์มีการปรับปรุงระเบียบวิธีการให้คะแนนโดยจะเน้นไปที่นโยบายการปฏิบัติงานและการขายกองทุนรวมมากขึ้น ซึ่งเป็นด้านที่ตลาดอื่นมีการพัฒนาอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นไม่มีข้อบังคับการเปิดเผยข้อมูลต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายด้าน third-party research ที่จ่ายจากกองทุนรวม รวมทั้งไม่มีการเปิดเผยรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกี่ยวกับผู้แนะนำการลงทุนหรือผู้ขาย

• ประเทศจีนยังขาดการส่งเสริมให้มีการออมเพื่อการเกษียณที่เพียงพอ รวมทั้งการสนับสนุนการลงทุนผ่านกองทุนรวมในวงกว้าง ประเทศจีนมีเพียงโครงการบำเหน็จบำนาญที่บริหารจัดการโดยภาครัฐโดยไม่มีรูปแบบกองทุนแบบกำหนดเงินสมทบภาคบังคับอื่นใด นอกจากนี้กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลของต้นทุนค่าใช้จ่าย third-party research และ soft dollars ค่อนข้างหละหลวม ถึงแม้ว่าจีนมีความพยายามที่จะเปิดตลาดทุนมากขึ้น ตัวเลือกของกองทุนยังคงจำกัดอยู่กับกองทุนในประเทศ

• การเติบโตของ ETF ทำให้นักลงทุนมีทางเลือกการลงทุนมากขึ้นในหลายตลาด แม้ว่าผู้ขายจะมีแรงจูงใจที่จะเสนอขายกองทุนเปิดมากกว่าก็ตาม นอกจากนี้การเก็บภาษีจาก ETF อาจมีความแตกต่างในแต่ละตลาด ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกาที่มีความต่างด้านภาษีที่เป็นประโยชน์กับ ETF ในขณะที่จะทำให้ผู้ที่มีรายได้น้อยในนิวซีแลนด์จะเสียประโยชน์ทางภาษีหากลงทุน ETF

• แม้กองทุนในหลายประเทศยังมีการเก็บค่าธรรมเนียมการขายจากค่าใช้จ่ายกองทุน แต่ก็มีแนวโน้มที่ลดลง ยกตัวอย่างเช่น มีการห้ามเก็บค่า commission ในออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ขณะเดียวกันในฮ่องกงหากตัวกลางได้รับผลประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบตัวเงินหรือรูปแบบใดจากผู้ออกกองทุนแล้วจะไม่ถือว่าเป็นตัวกลางอิสระ

• จากทั้งหมด 26 ตลาดที่เราทำการศึกษามีเพียงสิงคโปร์และฮ่องกงที่ไม่เก็บภาษีใด ๆ จากผู้ลงทุนกองทุนรวม ในหลายตลาดมีการยกเว้นการเก็บภาษีจากกำไรส่วนต่างหากผู้ลงทุนยังถือครองหน่วยอยู่ แต่ก็อาจมีการเก็บจากส่วนอื่น ในขณะที่สหรัฐฯ และออสเตรเลียจะต่างจากตลาดอื่นคือมีการเก็บภาษีจากกำไรส่วนต่างจากกองทุนซึ่งจะส่งผลกระทบไปที่ผู้ลงทุนที่ยังถือครองกองทุนนั้น ๆ อยู่

รายงานในส่วน “กฎเกณฑ์และการจัดเก็บภาษี” (ภาษาอังกฤษ) สามารถดูได้ที่นี่

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar