วางแผนออมเงินเพื่อวัยเกษียณ

การวางแผนออมเงินเพื่อวัยเกษียณสำคัญอย่างไร วันนี้มอร์นิ่งสตาร์มาช่วยท่านนักลงทุนหาคำตอบค่ะ

Morningstar 30/08/2561
Facebook Twitter LinkedIn

การกำหนดเป้าหมายว่าเราจะเกษียณอายุเมื่อไหร่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในชีวิต เนื่องจากการตัดสินใจนี้จะส่งผลกระทบว่าเราจะใช้ชีวิตวัยเกษียณอย่างสุขสบายได้หรือไม่ และยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการออมก่อนวัยเกษียณอีกด้วย  

แต่น่าเสียดายที่การวางแผนเกษียณของคนส่วนใหญ่มักเกิดข้อผิดพลาด ยกตัวอย่างเช่น นาย ก คาดว่าจะเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี แต่สุดท้ายกลายเป็นตอนอายุ 50 ปี โดยอาจเกิดจากเหตุผลด้านสุขภาพหรืออาชีพการงานที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ผลกระทบที่เกิดอาจรุนแรงกว่าที่คิดคือมีเวลาออมเงินน้อยลง 

หรืออีกกรณีหนึ่งหากเราออมเงินได้ไม่เพียงพอเมื่อถึงเวลาเกษียณ การเลื่อนวัยเกษียณออกไปมักเป็นทางออกที่หลายคนเลือก ซึ่งในหลายครั้งการเกษียณช้าลงก็อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพราะเรามีเวลาออมเงินเพิ่มขึ้น ทรัพย์สินมีโอกาสงอกเงยมากขึ้น  

อย่างไรก็ตามทั้งสองกรณีมีปัญหาเหมือนกันคือเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าสุดท้ายแล้วเราจะเกษียณเมื่ออายุเท่าไหร่และเราจะมีเวลาออมเงินอีกกี่ปี 

มอร์นิ่งสตาร์ได้ทำการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับส่วนต่างระหว่างอายุที่คิดว่าจะเกษียณกับอายุเกษียณจริง ซึ่งผลการวิจัยพบว่าเราสามารถคำนวณส่วนต่างนี้ได้อย่างคร่าวๆ โดยการนำอายุที่คาดว่าจะเกษียณ ลบด้วย 61 แล้วนำมาหาร 2 จะได้อายุที่น่าจะเกษียณจริงๆ ตัวอย่างเช่น หากนาย ก คาดว่าจะเกษียณเมื่ออายุ 65 ก็เป็นไปได้สูงที่สุดท้ายแล้วจะเกษียณเร็วกว่านั้น 2 ปี (วิธีคิดคือ (65-61)/2)  หรืออายุ 63 นั่นเอง  

สำหรับผู้ที่คาดว่าจะเกษียณก่อนอายุ 61 ปี งานวิจัยพบว่าสุดท้ายแล้วคนกลุ่มนี้มักจะเกษียณช้ากว่าที่คาด ทั้งนี้ตัวเลขที่เหมาะสมสำหรับคนไทย น่าจะต่ำลงกว่านี้เนื่องจากประเทศไทยสามารถเกษียณได้ที่อายุ 60 ปี ในขณะที่อเมริกาเกษียณได้ที่อายุ 67 ปี 

นอกจากอายุเกษียณจะคาดเดาได้ยากแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณพบว่าหลายคนกลับมีเงินไม่พอใช้ เพราะมีเงินออมที่ไม่เพียงพอ อีกทั้งรายจ่ายกลับลดลงเพียงเล็กน้อยเทียบกันรายได้ (เงินเดือนที่หดหายไปทั้งก้อน  ทางออกสำหรับผู้ที่ต้องการเกษียณสุข (เกษียณอย่างมีความสุขคงเป็นการออมให้มากขึ้น และเกษียณให้ช้าลงหากเงินออมที่มียังไม่บรรลุถึงเป้าหมายที่สามารถเกษียณได้ โดยปัจจุบันมีที่ปรึกษาทางการเงินจากหลากหลายสถาบันการเงินเข้ามาช่วยนักลงทุนวางแผนการลงทุนเพื่อการเกษียณ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนเรื่องการออมและการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงาน ก... และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีสื่อความรู้และเครื่องมือต่างๆ มากมายให้นักลงทุนได้เลือกใช้ 

สำหรับประเทศไทยหากพูดถึงเงินออมวัยเกษียณแล้วนั้น เราคงนึกถึง กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบํานาญแห่งชาติ และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) โดยหากกล่าวถึงกองทุน RMF แล้วนั้น ขนาดของกองทุนมีเพียง 2.5 แสนล้านบาท น้อยกว่าขนาดของ LTF ที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงถึง 3.แสนล้านบาท โดยสาเหตุหลักที่ RMF ไม่ได้รับความนิยมมากพอเมื่อเทียบกับ LTF น่าจะเป็นเรื่องของการบังคับให้ถือครองยาวจนถึงอายุ 55 ปี เพื่อให้สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกลุ่มกองทุน RMF ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกการออมและการลงทุนทีสำคัญ เพื่อให้มีชีวิตวัยเกษียณที่ดีตามที่งานวิจัยข้างต้นได้เสนอแนะ โดยในป้จจุบันมีกองทุน RMF ให้เลือกถึง 198 กองทุน และมีให้เลือกครบทุกสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนผสม และกองทุนสินทรัพย์ทางเลือก อีกทั้งมีกองทุนที่ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เลือกมากมาย ซึ่งความหลากหลายของกองทุนที่มีให้เลือกนั้นเหมาะสำหรับการจัดสรรสินทรัพย์ในการลงทุนเพื่อการเกษียณเป็นอย่างยิ่ง (ต่างกับ LTF ที่มีสินทรัพย์เป็นหุ้นเพียงประเภทเดียวเท่านั้นและากพิจารณาผลตอบแทนกองทุน RMF Equity เทียบกับ LTF แล้วจะเห็นได้ว่าให้ผลตอบแทนที่ไม่ต่างกันเท่าใดนักแถมยังได้ประโยชน์ทางภาษีที่เหมือนกันและยังสร้างวินัยการออมในระยะยาวอีกด้วย 

10 อันดับกองทุน LTF ประจำเดือนกรกฎาคม 2561   

https://bit.ly/2ALRgcA 

10 อันดับกองทุน RMF Equity ประจำเดือนกรกฎาคม 2561  

https://bit.ly/2Mddv0l 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar