เปรียบเทียบกลุ่มกองทุน Morningstar และ AIMC (3)

มาถึงกลุ่มสุดท้ายอย่างกลุ่มกองทุนผสม (Allocation) แล้วค่ะ มาดูข้อแตกต่างของกองทุนประเภทนี้กันเลยค่ะ

Morningstar 22/02/2562
Facebook Twitter LinkedIn

กองทุนผสมหรือ Allocation คือกองทุนที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินประเภทหุ้นและตราสารหนี้ว่าจะลงในสัดส่วนเท่าใด สำหรับกลุ่มกองทุนประเภทนี้ของ Morningstar และ AIMC มี 3 กลุ่มเหมือนกันได้แก่ 1) Aggressive allocation, 2) Moderate Allocation และ 3) Conservative Allocation ที่เป็นกลุ่มที่ลงทุนในประเทศไทย และ 1 กลุ่มสำหรับกองทุนผสมที่ลงทุนในต่างประเทศ โดย Morningstar ใช้ชื่อว่า Global Allocation ในขณะที่ AIMC จะเรียกว่า Foreign Investment Allocation

เปรียบเทียบกลุ่มกองทุนผสมระหว่าง Morningstar และ AIMC

Allocation category compare

ปัจจุบันมีกองทุนผสมจำนวน 204 กอง มูลค่าทรัพย์สินรวม 3.6 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้มีกองทุนกลุ่ม Aggressive Allocation สูงสุดที่ 91 กอง รวมมูลค่าทรัพย์สิน 1.5 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่ม Global Allocation มีจำนวน 73 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินรวม 1.3 แสนล้านบาท ทางด้านผลตอบแทนในระยะ 1 ปี กองทุนกลุ่ม Conservative Allocation มีผลตอบแทนติดลบเฉลี่ยที่ -1.9% ตามความเสี่ยงที่น้อยกว่ากองทุนผสมกลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่ผลตอบแทนระยะ 10 ปี กลุ่ม Aggressive Allocation เป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดในประเภทกองทุนผสมที่ 13.6% ต่อปี (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนมกราคม 2019)

Allocation category TNA

ผลตอบแทนเฉลี่ยกลุ่มกองทุนแบ่งตาม Morningstar Category

Allocation category return

ที่มา: Morningstar Direct ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2019

หากดูจากผลตอบแทนแล้วถือว่ากองทุนผสมนั้นให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างน่าพอใจ ซึ่งกองทุนผสมอาจเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการให้ผู้จัดการกองทุนจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับสภาวะการลงทุนมากกว่าลงทุนด้วยตัวเองในหลายกองทุนแบ่งตามประเภททรัพย์สิน อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรคำนึงถึงปัจจัยเฉพาะบุคคลเช่น อายุผู้ลงทุน ว่าเหมาะสมกับที่จะลงทุนทรัพย์สินประเภทใดในสัดส่วนเท่าไหร่ด้วยนะคะ

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar