น้องใหม่กองทุนLTF

ใครกำลังมองหากองทุน LTF ที่มีสไตล์การลงทุนที่แตกต่างไปจากกองทุนเดิมๆที่มีอยู่ เชิญตามมาทางนี้ครับ

Facebook Twitter LinkedIn

          เข้าไตรมาส 4 ของปีนี้อย่างเป็นทางการแล้วนะครับท่านนักลงทุนทุกท่าน และก็เช่นเคยเป็นธรรมเนียมของทุกปีที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนผู้เสียภาษีทั้งหลายจะเริ่มมาให้ความสนใจในการลงทุนกองทุนคู่แฝดทั้ง “LTF และ RMF” ซึ่ง ความพิเศษในปีนี้นั้นคงหนีไม่พ้นการที่ บลจ. ต่างๆทยอยกันออกกองทุน LTF กองใหม่เพื่อมาเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนทุกท่าน

ซึ่งอย่างที่ผมเคยได้เขียนเล่าให้ฟังกันไปเมื่อเดือนที่แล้วในคอลัมน์ กำลังจะมีกองทุน LTF เปิดใหม่ เนื่องจากได้มีการปรับกฎเกณฑ์ดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น วันนี้ผมเลยขอถือโอกาสนำรายละเอียดของกองทุน LTF ใหม่ทั้งที่ได้จดทะเบียนเปิดกองเป็นที่เรียบร้อยแล้วและกองที่กำลังทำ IPO อยู่มาเล่าให้ฟังกันเพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ

แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เรามาหาคำตอบกันก่อนดีกว่าว่า ทำไม บลจ. ต่างๆเหล่านี้ถึงอยากจะออกกองทุน LTF ใหม่กันทั้งๆที่แทบทุก บลจ. นั้นก็มีกองทุน LTF บริหารกันอยู่ก่อนแล้ว แถมบาง บลจ. ก็มีของเดิมอยู่แล้ว 4-5 ถึงกองทุน ซึ่งคำตอบก็คือ กองทุน  LTF เดิมที่มีอยู่แล้วนั้นส่วนใหญ่เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีสไตล์คล้ายกันทุกกองทุน (เน้นลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ Equity Large Cap แทบทั้งสิ้นเกือบ 50 กองทุน)

ประกอบกับในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมานี้ บลจ. เองได้ออกกองรวมหุ้นแบบปกติ ที่มีสไตล์การลงทุนที่แตกต่างออกไปจากเดิมค่อนข้างมาก เช่น เน้นลงทุนหุ้นขนาดเล็กและกลาง ลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ ลงทุนในหุ้นที่มีธรรมภิบาลสูง ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งกองทุนหุ้นต่างๆเหล่านี้บางกองทุนก็สามารถทำผลตอบแทนได้ดีและได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลให้ บลจ. ต่างๆถือโอกาสนำกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนใน theme ดังกล่าวมาต่อยอดให้ผู้ลงทุนได้มีโอกาสเลือกลงทุนกันในรูปแบบของกองทุน LTF นั้นเอง ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวนี้หลาย บลจ. ก็ได้นำมาใช่กับการออกกองทุน RMF แล้วด้วยเช่นกัน

เรียกได้ว่า นี่คือช่วงเวลาที่ บลจ. ขนเอากองทุนเด่นๆของตัวเองมาขายเป็นกองทุน LTF ก็ว่าได้

ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ในระบบของ Morningstar ประกอบกับฐานข้อมูลกองทุนระบบของ ก.ล.ต. พบว่าตอนนี้มีกองทุน LTF เปิดใหม่ดังต่อไปนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2559)

LTFList

มาถึงตรงนี้แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรหละว่ากองทุนเหล่านี้เค้าลงทุนอะไรกัน ซึ่งตรงนี้บอกได้เลยว่า ง่ายมากครับเนื่องจากอย่างที่ผมได้เล่าให้ฟังในเบื้องต้นไปแล้วว่า บลจ. ส่วนใหญ่เค้าเอากองทุนหุ้นแบบปกติที่เด่นของเค้ามาทำเป็น LTF ฉะนั้นถึงแม้จะยังไม่มีพอร์ตโฟลิโอการลงทุนให้ดูเนื่องจากเป็นกองทุนออกใหม่ เราก็สามารถนำเอาพอร์ตการลงทุนของกองทุนหุ้นแบบปกติในนโยบายเดียวกันมาศึกษาดูก่อนเพื่อจะได้เห็นภาพการลงทุนให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ ตัวอย่างเช่น

กองทุนเปิดธนชาต Low Beta หุ้นระยะยาวปันผล (T-LowBetaLTFD) ซึ่งก็ถือเป็นการยกโมเดลการลงทุนมาจาก กองทุนเปิดธนชาต Low Beta ซึ่งนักลงทุนคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว (T-LOWBETA)

LowNeta

***ที่มา: Morningstar Direct ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559; ข้อมูลการลงทุนเพิ่มเติม https://goo.gl/oJRNPY

 

หรือจะเป็นกองทุนเปิด ทิสโก้ Mid/Small Cap หุ้นระยะยาว (TMSLTF) ที่ยกโมเดลการลงทุนมาจากกองทุนเปิด ทิสโก้ Mid/Small Cap อิควิตี้  (TISCOMS)

TISCOMid

***ที่มา: Morningstar Direct ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559; ข้อมูลการลงทุนเพิ่มเติม https://goo.gl/ocxaS6

 

และกองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF) ที่มีโมเดลเดียวกับ กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC)

BBASIC

***ที่มา: Morningstar Direct ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559; ข้อมูลการลงทุนเพิ่มเติม https://goo.gl/4g0pcz

แต่ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่าในเรื่องของสัดส่วนการลงทุนและรวมไปถึงตัวหุ้นนั้นอาจจะไม่ได้เหมือนกัน 100% แต่ทั้งนี้ก็ไม่น่าจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยะสำคัญ เพราะมันคงจะดูแปลกๆไปหน่อยถ้ากองทุนมีชื่อและนโยบายลงทุนเหมือนกันแต่กลับลงทุนต่างกัน จริงไหมครับ และใครที่ยังไม่ได้ลงทุนในปีนี้อย่าลืมมาลงทุนกันนะครับ

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst