Yield curve คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

Yield curve หรือเส้นแสดงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในแต่ละช่วงอายุ เป็นเหมือนเครื่องส่งสัญญาณชี้วัดวงจรเศรษฐกิจและบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย

Morningstar 19/04/2565
Facebook Twitter LinkedIn

Yield curve คืออะไร

Yield curve มักใช้ดูความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนขอพันธบัตรรัฐบาลในช่วงอายุตั้งแต่ 3 เดือนถึง 30 ปี โดยเฉพาะรุ่นอายุ 2-10 ปีที่นักลงทุนให้ความสำคัญมากที่สุด

ในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตดีและอัตราดอกเบี้ยคงที่ เส้น Yield curve จะลาดชันขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว (longer-term ) ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรระยะสั้น (shorter-duration) ซึ่งปกตินักลงทุนมักจะนิยมลงทุนในพันธบัตรระยะยาวที่ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงเพื่อชดเชยอัตราเงินเฟ้อ

1

Inverted yield curve คืออะไร

ปกติเส้น Yield curve จะมี 3 ลักษณะ คือ Steepening, Flattening และ Inverted  

Steepening คือภาวะที่ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาวเพิ่มมากขึ้น ส่วน Flattening คือส่วนต่างของผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาวนั้นแคบลง และภาวะ Inversion คือการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุสั้นสูงกว่าพันธบัตรระยะยาว

ในปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ส่วนต่างของผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาวนั้นแคบลง (Flattening) หรือผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นนั้นเพิ่มขึ้นเร็วกว่าผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว และทำให้นักลงทุนเริ่มกังวลว่า Yield curve จะเริ่มมีแนวโน้มไปสู่ภาวะ Inverted  ต่อไปซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

Inverted yield curve เป็นการบ่งชี้ว่าจะเกิด Recession หรือไม่

ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุ 2 ปีและ 10 ปี (Twos-tens spread) คือส่วนที่นักลงทุนให้ความสำคัญมากที่สุด ซึ่งในอดีตหากเกิดภาวะ Inverted ของพันธบัตรรุ่นอายุ 2 ปีและ 10 ปีเป็นการบ่งชี้ว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมา

Ryan Grabinski นักกลยุทธ์การลงทุนของ Manhattan-based Strategas Research Partners ระบุว่านับตั้งแต่ปี 1978 เป็นต้นมาเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั้งหมด 6 ครั้ง โดยที่มักจะเกิดภาวะ Inverted yield curve ล่วงหน้าเฉลี่ย 12 เดือนก่อนที่จะเกิด Recession ตามมา (ในปี 1998 ได้เกิด Inverted yield curve เช่นกัน แต่ธนาคารกลางสหรัฐได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย)

2

Dominic Pappalardo, senior client portfolio manager ที่ Morningstar Investment Management กล่าวว่าการเกิด Inverted yield curve ทุกครั้งก็ไม่ได้แปลว่าจะเกิด Recession เสมอไป แต่ในภาวะที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยนั้นมักจะเกิด Inverted yield curve ก่อนเสมอเนื่องจากนักลงทุนเกิดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคตและสะท้อนออกมาจากการลงทุนที่ทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรนั้นลาดชันลดลง (Flattening)

3

การที่เส้น Yield curve นั้น เกิดภาวะ Bear flattener หรือผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าพันธบัตรระยะยาว โดยเฉพาะพันธบัตรอายุ 2 ปีที่ค่อนข้างอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของ Fed funds rate อย่างเช่นในปีนี้ที่ธนาคารกลางสหรัฐเริ่มใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายลดลงและรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเร่งสูงขึ้นนั่นเอง ซึ่งในภาวะดังกล่าวมักจะเป็นปัจจัยลบต่อภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้น

ขณะที่การเกิด Bull flattener หรือผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงเร็วกว่าพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคตที่ลดลง ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง และมักจะเป็นผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้น

ภาวะ Yield curve ในปัจจุบัน

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วทั้งตลาดในปีนี้เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันและราคาสินค้า  Commodity ที่เพิ่มขึ้นจากสงครามในยูเครน โดยผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเร็วกว่าพันธบัตรระยะยาว หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2018 ขณะที่นักลงทุนก็คาดว่า Fed ยังจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกอย่างมากหลังจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของเส้น Yield curve จึงเป็นเหมือนการสะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ Twos-tens spread ที่แคบลง แต่ยังสะท้อนไปยังพันธบัตรรุ่นอื่นๆอีกอย่างเช่นในวันที่ 28 มี.ค. ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี และ 30 ปี ก็เกิดภาวะ Inverted เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2006

Yield curve ที่อยู่ในภาวะ Flattening จึงเป็นสัญญาณว่านักลงทุนกำลังคาดว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวในอนาคต ก่อนหน้านี้อาจมีคำถามว่าเมื่อไหร่ที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ปัจจุบันคงตั้งคำถามว่าเมื่อไหร่ที่ Fed จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย และอนาคตจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อไหร่กัน

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar