บทเรียนจากวิกฤตตลาดหุ้นสหรัฐในอดีต

ในรอบเกือบครึ่งปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐฯได้มีการปรับตัวลงมาแล้วราว 20% แต่หากมองย้อนไปในอดีตจะพบว่าตลาดได้สอนบทเรียนให้กับนักลงทุนได้เช่นกัน

Paul D. Kaplan 29/06/2565
Facebook Twitter LinkedIn

ตลาดหุ้นตกลงแรงบ่อยแค่ไหน

กราฟด้านล่างแสดงถึงผลตอบแทนจากการลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐรายเดือนย้อนหลังไปตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 1886และรายปีสำหรับช่วงปี 1871-1885 โดยเส้นแนวนอนแสดงถึงช่วงที่ตลาดเป็นขาลง ซึ่งเริ่มจากมูลค่าสะสมสูงสุดไปจนถึงการฟื้นตัวกลับมาที่เดิม

จากภาพแสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นในรอบ 152 ปีผ่านช่วง bear market มาหลายครั้ง และในแต่ละครั้งได้มีการฟื้นตัวกลับมาและขึ้นไปทำสถิติสูงสุดใหม่ เช่นเดียวกันกับในปี 2020 ที่หลังจากตลาดได้ปรับลง 20% จากธันวาคม 2019 ถึงมีนาคม 2020 ตลาดหุ้นสหรัฐได้ฟื้นตัวภายใน 4 เดือน ตรงกับบทเรียนข้อ 2 ที่ว่าเราคงคาดการณ์ได้ยากว่าตลาดหุ้นจะฟื้นตัวได้รวดเร็วเพียงใด

Exhibit 1

การทำสถิติใหม่หลังรอบการปรับตัวลง

นักลงทุนที่ยังคงอยู่ในตลาดจนผ่านช่วงของการปรับลงรุนแรงยังคงได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ จากภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่าแม้จะมีช่วงขาลงหลายครั้งซึ่งรวมถึงช่วงที่ปรับลงแรงและกินระยะเวลานาน การลงทุนที่ 1 ดอลลาร์ในปี 1870 มาจนถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจะมีมูลค่าเพิ่มมาที่ 20,514 ดอลลาร์หรือคิดเป็น 6.8% ต่อปี

หากมองย้อนกลับไปช่วงกุมภาพันธ์ปี 2009 ที่ตลาดฟื้นขึ้นจากช่วงวิกฤตซับไพรม์มาจนถึงเดือนพฤษภาคมปีนี้ จะพบว่าปรับขึ้นมา 424% หรือ 409% เมื่อรวมช่วง bear market ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนปีนี้

ตลาดหุ้นปรับตัวลงและฟื้นตัวที่ต่างกัน

ตารางด้านล่างนี้แสดงถึงรอบการปรับตัวลงที่หนักที่สุด 22 ครั้งในเกือบ 152 ปีของประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยแสดงให้เห็นว่าเดือนใดที่เป็นจุดสูงสุดก่อนตลาดหุ้นตก เดือนที่ตลาดอยู่ในจุดต่ำสุดของช่วงนั้น และเดือนที่ตลาดกลับมาอยู่ที่จุดสูงสุดเดิม

โดยตลาดมีการปรับลงแรงที่สุดในรอบปี 1929 หรือติดลบไปถึง 79% และใช้เวลาถึง 4 ปีครึ่งจึงฟื้นตัวกลับมาที่เดิมได้ (ในการฟื้นตัวรอบนี้มีระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นและตามมาด้วยการปรับตัวลงอีก 50% จาก Great Depression และสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 5 ของตาราง)

ถัดมาที่ลำดับที่ 2 ที่ติดลบ 57.6% นั้นเกิดขึ้นในช่วงปี 2000 ที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงและเกือบจะฟื้นตัวได้ แต่ก็เผชิญกับการวิกฤตรอบใหม่ ซึ่งหมายถึงช่วงตั้งแต่ dot-com bubble ยาวมาจนถึง subprime หรือที่เรียกกันว่า Lost Decade

ในช่วงการระบาดของ Covid-19 ซึ่งนับตั้งแต่จุดสูงสุดของเดือนมกราคม 2020 ซึ่งปรับลงไป 18.3% (อยู่ที่อันดับ 18 ของตาราง) ใช้เวลาเพียง 4 เดือนในการฟื้นตัวแม้ช่วงเวลาของการระบาดจะยาวนานกว่ามาก แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ในตลาดหุ้นกับสถานการณ์ทั่วโลกมีความแตกต่างกันได้

สุดท้ายมาที่สถานการณ์ล่าสุดซึ่งเกิดจากปัจจัยสงคราม เงินเฟ้อ และห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ตลาดปรับลงไปแล้ว 17.5% (ลำดับที่ 21) และยังไม่อาจบอกได้ว่าจะรุนแรงและยาวนานเพียงใด

Exhibit 2

บทเรียนสำคัญจากเหตุการณ์ในอดีตนั้นแสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถคาดการณ์ตลาดหุ้นได้ และวิกฤตแต่ละครั้งมีความต่างกันทั้งในแง่ความรุนแรง ระยะเวลา จุดต่ำสุดหรือจุดฟื้นตัว ฉะนั้นสิ่งที่นักลงทุนทำได้ดีที่สุดคือการเตรียมรับมือกับวิกฤตรอบใหม่อยู่เสมอผ่านการวางแผนพอร์ตการลงทุนควบคู่ไปกับการพิจารณาความเสี่ยงที่เหมาะสม

สรุปบทเรียนจากตลาดหุ้นตกในอดีต

1. ในบางครั้งตลาดหุ้นปรับตัวลงมากและคงอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน

2. หลังจากตลาดหุ้นตกแรง ๆ จะคาดเดาได้ยากว่าตลาดจะใช้เวลานานแค่ไหนจึงจะฟื้นตัว

3. ตลาดหุ้นถือว่าใจดีมาก ๆ กับนักลงทุนที่สามารถลงทุนในระยะยาวจนผ่านช่วงตลาดปรับตัวลง

4. นักลงทุนควรเลี่ยงการขายแบบ panic sell ในช่วงที่ตลาดปรับลงลึกอย่างรวดเร็ว

5. กราฟแบบ bell curve นั้นถือว่าไม่เพียงพอต่อการคาดการณ์ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นที่อาจมีช่วงที่มีความเสี่ยงสูงหรือปรับตัวขึ้นลงรุนแรง

6. ในบางครั้งเศรษฐกิจกับตลาดหุ้นมีทิศทางที่สวนทางกัน

(หมายเหตุ ข้อมูลตลาดมีการใช้ ข้อมูล SBBI series ในช่วงมกราคม 1926-ธันวาคม 1991 และ Morningstar US Large-Cap Index ในช่วงมกราคม 1992-พฤษภาคม 2022)

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Paul D. Kaplan  Paul D. Kaplan, Ph.D., CFA, is director of research with Morningstar Canada.