ทำความรู้จักกองทุนรวม High Yield Bond

เชื่อว่านักลงทุนหลายคงยังสับสนเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุน High Yield Bond กันอยู่ แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ ตามมาดูกันครับ

Facebook Twitter LinkedIn

          “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” คำพูดประโยคนี้ผมเชื่อว่าผู้ลงทุนทุกท่านคงคุ้นเคยกันดี แต่คำถามคือว่า แล้วเราในฐานะนักลงทุนได้นำไปปฎิบัติกันอย่างเคร่งครัดมากน้อยแค่ไหนอย่างไร

กองทุนรวมประเภท High Yield Bond ชื่อนี้เชื่อว่านักลงทุนหลายท่านคงได้ยินกันมาบ้างไม่มากก็น้อยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลอดช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมานี้ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นประเด็นร้อนในแวดวงการลงทุนในกองทุนรวมอันเนื่องมาจากการผิดนัดชำระหนี้ในตั๋วบีอีของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย และนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งในที่มาของการที่เราเห็นเม็ดเงินไหลออกจากกลุ่มกองทุนประเภท High Yield ตลอดช่วงปลายปีที่แล้วต่อมาจนถึงต้นปีนี้อย่างต่อเนื่อง

จริงๆแล้วนั้นกองทุนประเภท High Yield คืออะไร ทำไมถึงเป็นที่สนใจและมีเงินไหลเข้า/ออก กองทุนในกลุ่มดังกล่าวมากเป็นพิเศษ ก่อนอื่นต้องมาเริ่มต้นกันที่นิยามของกลุ่มกองทุนประเภท High Yield กันก่อนซึ่งโดยคร่าวๆนั้นก็หมายถึงกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้/เงินฝาก ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ (non-investment grade) นั้นเองหรือในบางกรณีอาจจะลงทุนในตราสารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ (non-rated) ซึ่งถ้าตาม credit score ที่ออกจากบริษัทจัดอันดับตราสารหนี้ชื่อดังอย่าง S&P หรือ Moody นั้นก็คือตราสารจำพวกนี้จะได้รับ rating น้อยกว่า BBB- นั้นเอง

ซึ่งกองทุนรวมในประเทศไทยนี้เราสามารถจำแนกกองทุนในกลุ่ม High Yield ได้ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆตาม กลุ่ม Morningstar Category คือ 1. กลุ่ม Global High Yield Bond Fix Term คือ กลุ่มที่เน้นลงทุนในตราสารประเภท High Yield ต่างประเทศ แบบกำหนดอายุ 2. กลุ่ม High Yield Bond Fix Term คือ กลุ่มที่เน้นลงทุนในตราสารประเภท High Yield ภายในประเทศ แบบกำหนดอายุ และโดยปกติแล้วนั้น

แล้วกองทุนรวมในกลุ่มประเภท High Yield นี้นั้นเค้านิยมไปลงทุนในตราสารประเภทไหน โดยปกติแล้วนั้นกองทุนก็จะมีการกระจายการลงทุนผสมกันทั้งตราสารหนี้/เงินฝาก แบบ Investment grade และ non-investment grade แต่สัดส่วนจะมากน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนแต่ละที่ บางกองทุนอาจจะลงทุน non-investment grade เพียง 20%-30% ของพอร์ต ในขณะที่บางกองทุนอาจจะลงทุนถึง 50%-60% ของพอร์ตก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ซึ่งตรงจุดนี้เป็นเรื่องที่นักลงทุนจะต้องเข้ามาทำการศึกษาให้ดีก่อนการตัดสินใจลงทุนเพราะต้องบอกว่า กองทุนประเภทดังกล่าวนี้มีการให้ข้อมูลที่ละเอียดชัดเจนมากกว่ากองทุนประเภทอื่นๆด้วยซ้ำไปเพราะทางกองทุนจะเปิดชื่อและอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารที่กองทุนจะลงทุนให้เราทราบก่อน

ตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูลพอร์ตการลงทุนในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุป เปรียบเทียบ กลุ่ม Global High Yield Bond Fix Term (ต่างประเทศ)

GHY

ตัวอย่าง: กลุ่ม High Yield Bond Fix Term (ในประเทศ)

LHY

เมื่อดูถึง 5 บลจ. ที่มีเงินไหลออกมากที่สุดในไตรมาสที่ 1ปี 2560 นี้พบว่า การที่เงินไหลออกนั้นไม่ได้มาจากเรื่องดังกล่าวในทุกกรณี เพราะการที่เงินไหลออกนั้นอาจจะมาจากการที่กองทุนครบกำหนดอายุแล้วปิดกองไป หรือกองทุนนั้นๆทำผลตอบแทนได้ดีจนทำให้ผู้ลงทุนขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยง

FirmTopOut

เพราะเมื่อลงลึกไปในรายละเอียดแล้วนั้นจะเห็นได้ว่าเม็ดเงินที่ไหลออกสุทธินั้นมาจากหลายกลุ่มการลงทุน อาทิเช่น กลุ่ม High Yield Bond Fix Term กลุ่ม Global High Yield Bond Fix Term กลุ่มหุ้นไทย (Equity Large Cap) ตราสารหนี้ไทย (Short Term Bond) หุ้นต่างประเทศ (Japan Equity) และอื่นๆ

FirmCatOut

ท้ายนี้เหมือนที่ทุกๆหน่วยงานพยายามย้ำอยู่เสมอว่า การศึกษาหาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ลงทุนจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงและนโยบายการลงทุนของกองทุนที่เรากำลังสนใจจะลงทุนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุน

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst