สรุปภาพรวมกองทุนรวมไตรมาสที่ 3 ปี 2019 (2)

กองทุนต่างประเทศมีมูลค่าทรัพย์สินลดลงจากปีที่แล้ว -4.3% โดยมีเงินไหลออกสุทธิสะสม 9 เดือน -2.2 หมื่นล้านบาท กองทุนกลุ่ม Property Indirect มีผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปีสูงสุด 24.9%

Morningstar 11/10/2562
Facebook Twitter LinkedIn

กองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund)

กองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 6.1 แสนล้านบาท ลดลง -4.3% จากเดือนกันยายน 2018 โดยกลุ่ม Property - Indirect Global ได้กลายเป็นกลุ่มกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.1 แสนล้านบาท มีผลตอบแทนเฉลี่ย 9 เดือน 19.4% แซงหน้ากลุ่ม Global Allocation และ Global Bond ที่ 9.9 หมื่นล้านบาท และ 7.5 หมื่นล้านบาท ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ย 8.45% และ 5.48% ตามลำดับ และหากรวมทั้ง 3 กลุ่มนี้แล้วนั้น คิดเป็นเกือบ 50% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund)

5 อันดับกองทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงสุด

6 THA Q3 19 FIF TNA

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

กองทุนต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund) มียอดเงินไหลออกสุทธิสะสม -2.2 หมื่นล้านบาทสำหรับ 9 เดือนที่ผ่านมา โดยเป็นเงินไหลออกจากกลุ่มหลักเช่น Global Allocation -3.9 หมื่นล้านบาท และกลุ่มกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ (Global Bond) -1.6 หมื่นล้านบาท

อีกกลุ่มหนึ่งที่ในปีนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนคือกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนโดยในปัจจุบันถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Foreign Investment Miscellaneous โดยกองทุนกลุ่มนี้ จะมีลักษณะที่คล้ายกันคือ เป็นกองทุนที่กำหนดอายุโครงการ มีการถือครองตราสารหนี้ต่างประเทศในสัดส่วนมากกว่า 90% เช่น ตราสารหนี้ประเทศจีน UAE กาตาร์ เป็นต้น สำหรับส่วนที่เหลือจะเป็นการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทสัญญาวอร์แรนท์ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับดัชนีใด ๆ เช่น SET 50 Index หรือดัชนีอื่น ๆ แล้วแต่กองทุน โดยสาเหตุที่กองทุนกลุ่มนี้ได้รับความสนใจอาจมาจากการลงทุนส่วนของตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นหลัก แต่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มหากดัชนีอ้างอิงมีการเคลื่อนไหวเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดทำให้ บลจ. นำโอกาสรับผลตอบแทนส่วนเพิ่มนี้มาเป็นจุดขาย โดยในปัจจุบันกองทุน SCB Complex Return 1YB เป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับกองทุนประเภทนี้ซึ่งมีการเปิดขายให้นักลงทุนทั่วไปในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นเดือนกันยายนอยู่ที่ 6.7 พันล้านบาท

กองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund) ที่มีเงินไหลเข้า-ออกมากที่สุดเดือน ม.ค. ถึง ก.ย. 2019

7 THA Q3 19 FIF net flow

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิกองทุน Feeder Fund ณ สิ้นเดือนกันยายนอยู่ที่เกือบ 4 แสนล้านบาท ลดลง -14.3% จากเดือนกันยายนปีที่แล้วที่ 4.6 แสนล้านบาท ส่วนแบ่งตลาดของ บลจ. ต่างประเทศที่กองทุนรวมไทยเข้าลงทุนยังคงมี บลจ. PIMCO มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 16% จากกองทุนกลุ่มตราสารหนี้ต่างประเทศ (Global Bond) โดยมีกองทุน PIMCO GIS Income เป็นกองทุนมูลค่าสูงสุดจาก PIMCO ซึ่งมีเงินลงทุนจาก 3 บลจ. ไทยได้แก่บลจ.กรุงศรี, ทหารไทยและยูโอบี รวมมูลค่า 5.6 หมื่นล้านบาท สำหรับบลจ. BlackRock มีส่วนแบ่งตลาด 10% กองทุนที่มีบลจ. เข้าลงทุนสูงสุดยังคงเป็นกองทุน BGF Global Allocation รวมมูลค่าเงินลงทุนราว 8 พันล้านบาท สำหรับ SPDR State Street มีมูลค่าทรัพย์สินกองทุนจากกองทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 5% เนื่องจากกองทุนทองคำที่เป็นสัดส่วนหลักมีผลตอบแทนเฉลี่ยเติบโตในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เป็นบลจ. ต่างประเทศรายเดียวใน 5 อันดับแรกที่มูลค่ากองทุนเพิ่มขึ้น yoy

แม้ว่ากองทุนที่ลงทุนกับ JP Morgan จะมีเงินไหลออกสุทธิใน 9 เดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงติด 1 ใน 5 อันดับแรกโดยส่วนแบ่งตลาดราว 8% ลดลงจากปีที่แล้ว 9% กองทุนที่มีบลจ. เข้าลงทุนมากที่สุดคือ JPM Global Healthcare โดยมีบลจ. กสิกรไทยลงทุนในกองทุนนี้

8 THA Q3 19 master fund firm

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

ส่วนแบ่งตลาดกองทุนจากบลจ.ต่างประเทศมีความเปลี่ยนแปลงไปในปี 2018 จากเงินไหลออกจากกองทุน Global Bond โดยบลจ. PIMCO เป็นหลัก ทำให้ส่วนแบ่งตลาดจากบลจ. อื่น ๆ เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่าครึ่งของตลาดกองทุน feeder fund บลจ.ที่มีเงินลงทุนเติบโตสูงตั้งแต่เกือบเท่าตัวไปจนถึงมากกว่า 2 เท่าได้แก่ Goldman Sachs, Lombard Odier, B&I Capital, Credit Suisse และ Legg Mason อย่างไรก็ตามบลจ.เหล่านี้ยังมีส่วนแบ่งตลาด 0.2%-1.2%

ส่วนแบ่งตลาดกองทุน feeder fund และบลจ.ต่างประเทศที่มีการเติบโตสูงสุด

9 THA Q3 19 master fund firm mkt share

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

ผลตอบแทนเฉลี่ยกองทุนรวมประเภทต่าง ๆ

แม้ว่าการลงทุนในไตรมาส 3 อาจมีผลตอบแทนในบางกลุ่มกองทุนลดลงไปบ้างแต่ผลตอบแทนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ต้นปี (YTD) ในเกือบทุกกลุ่มกองทุนยังเป็นบวก นำโดยกลุ่ม Property Indirect ผลตอบแทนเฉลี่ย YTD อยู่ที่ 28.0% ตามมาด้วยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ 19.4% นอกจากนี้ยังมีกลุ่มกองทุนตราสารทุนอื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยโดดเด่นเช่น Global Infrastructure 17.8%, Europe Equity 16.7%, Global Technology 15.9%
กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่ากองทุนตราสารหนี้ไทยนำโดยกลุ่ม Emerging Market Bond ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดในรอบ 1 ปี 7.5% ตามมาด้วยกองทุน Global High Yield Bond Fix Term และ Global Bond ที่ 5.2% และ 4.7% ตามลำดับ กลุ่ม High Yield Bond Fix Term ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดสำหรับกองทุนตราสารหนี้ไทย 3.9% โดยเป็นไปตามความเสี่ยงที่มากกว่า รองลงมาเป็นกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว (Mid/Long Term Bond) 3.4%

กลุ่มกองทุนหุ้นไทยกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่และขนาดกลาง-เล็ก มีผลตอบแทนเฉลี่ย YTD ที่ 5.6% และ 7.4% ตามลำดับ (SET TR 7.6%) แต่หากพิจารณาผลตอบแทนรอบ 1 ปีที่ผ่านมาพบว่าทั้งสองกลุ่มยังมีผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบมากกว่า SET TR ซึ่งมีผลตอบแทนอยู่ที่ -3.9%

ผลตอบแทนเฉลี่ยกองทุนรวม (%) - ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

10 THA Q3 19 categories average return

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar