สรุปภาพรวมกองทุนรวมไตรมาสที่ 3 ปี 2019 (3)

กองทุนหุ้นไทย (ไม่รวม LTF และ RMF) มีมูลค่าทรัพย์สินลดลง -1.2% จากสิ้นปี 2018 กองทุน LTF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเติบโต 1.6% มีเงินไหลออกสุทธิ 9 เดือน -1.1 หมื่นล้านบาท

11/10/2562
Facebook Twitter LinkedIn

กองทุนหุ้นไทย (ไม่รวม LTF และRMF)

กองทุนหุ้นไทย (ไม่รวม LTF, RMF) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 2.9 แสนล้านบาท ลดลง -1.2% จากสิ้นปี 2018 โดยในไตรมาส 3 มีเงินไหลเข้าสุทธิรวม 501 ล้านบาท แต่ในรอบ 9 เดือนยังเป็นเงินไหลออกสุทธิรวม -1.8 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ยสะสม 9 เดือนอยู่ที่ 6.1% ในขณะที่ผลตอบแทนของ SET TR อยู่ที่7.6%

หากมองในรายกลุ่มกองทุน กลุ่มกองทุนหุ้นขนาดกลาง-เล็ก หรือ Equity Small/Mid-Cap ให้ผลตอบแทนสูงสุดที่ 7.8% ในขณะที่กองทุนหุ้นขนาดใหญ่หรือ Equity Large-Cap และกลุ่มกองทุนอุตสาหกรรม หรือ TH Sector Focus Equity ให้ผลตอบแทน 5.8% และ 4.7% ตามลำดับ

ในรอบเกือบ 6 ปีที่ผ่านมาส่วนแบ่งตลาดกองทุนหุ้นไทยที่ไม่รวม LTF และ RMF มีความเปลี่ยนแปลงไปในส่วนของ 1) มูลค่าทรัพย์สินที่ในปัจจุบันเติบโตมากกว่า 2 เท่าจากปี 2013 2) ผู้นำตลาดมีการเปลี่ยนแปลงโดย บลจ. ไทยพาณิชย์ที่เคยมีส่วนแบ่งตลาด 8% แต่เพิ่มขึ้นเป็น 16% ในปัจจุบัน รวมทั้ง บลจ. ธนชาตที่มีส่วนแบ่งตลาด 14% เพิ่มขึ้นจากเพียง 4% ในปี 2013 ทั้งนี้หากดูในช่วงปี 2017 และ 2018 ที่มีเงินไหลเข้าค่อนข้างสูง (4.5 หมื่นล้านบาทและ 8.8 หมื่นล้านบาทตามลำดับ) พบว่าทั้ง 2 บลจ. มีเงินไหลเข้าสูงทั้ง 2 ปี ทั้งนี้สำหรับ บลจ. ไทยพาณิชย์เป็นเงินไหลเข้ากองทุนที่มีอยู่เดิมเช่นกองทุน SCB SET Index (Acc), SCB Dividend Stock (Div), และ SCB SET50 Index (Acc) ในขณะที่ บลจ. ธนชาตเป็นเงินไหลเข้ากองทุนเปิดใหม่ เช่น กองทุน Thanachart Dividend Stock และ Thanachart Smart Beta

อย่างไรก็ตามในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมากองทุนหุ้นไทยมีเงินไหลออกสุทธิ -1.8 หมื่นล้านบาท โดยมีเงินไหลออกสุทธิสูงสุดจาก บลจ. ธนชาตราว -6.3 พันล้านบาท ตามมาด้วยบลจ. บัวหลวง -2.2 พันล้านบาท นอกจากนี้ยังมีบลจ. รายใหญ่เช่น บลจ.ทหารไทย บลจ. พรินซิเพิลและ บลจ.ยูโอบีที่มีเงินไหลออกสุทธิเช่นกัน

มูลค่าทรัพย์สินกองทุนหุ้นไทย (ไม่รวม LTF และ RMF) และเงินไหลเข้า-ออกสุทธิ (ล้านบาท)

11 THA Q3 19 Equity x LR

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

ส่วนแบ่งตลาดกองทุนหุ้นไทย (ไม่รวม LTF และ RMF)

12 THA Q3 19 Mkt shre Equity x LR

5 อันดับบลจ. เงินไหลเข้า-ออกสุทธิ 9 เดือน

13 THA Q3 19 net flow by firm Equity x LR

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

กองทุนกลุ่ม LTF และ RMF

กองทุน LTF จำนวน 93 กองทุน ณ สิ้นเดือนกันยายนมีมูลค่าทรัพย์รวม 3.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6% จากสิ้นปี 2018 กองทุนกลุ่ม RMF จำนวน 217 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.7% จากปี 2018 โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากกลุ่ม RMF - Equity มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.9%, RMF - Fixed Income 8.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.2%, RMF - Allocation 5.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.9%

มูลค่าทรัพย์สินกองทุน LTF และ RMF

14 THA Q3 19 TNA LTF RMF

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

ในไตรมาสที่ผ่านมามีเงินไหลเข้ากองทุน LTF ทั้งสิ้น 2.6 พันล้านบาท รวม 9 เดือนเป็นเงินไหลออกสุทธิทั้งสิ้น -1.1 หมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นทิศทางเงินไหลเข้าช้ากว่าปีก่อนหน้าที่มีเงินไหลเข้าสุทธิตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ทำให้ 9 เดือนปี 2018 มีเงินไหลออกสุทธิเพียง -1.7 พันล้านบาท ทั้งนี้เกิดจากกระแสเงินไหลออกสุทธิในช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมของปีนี้รวมมากกว่า -9 พันล้านบาท ซึ่งค่อนข้างสูงหากเทียบกับในอดีต
ทางด้านกองทุน RMF นั้นมีเงินไหลเข้าสุทธิในไตรมาสที่ 3 ราว 4.1 พันล้านบาท รวม 9 เดือนมีเงินไหลเข้ากองทุน RMF สุทธิ 1.2 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินไหลเข้าสุทธิจากกองทุน RMF – Fixed Income 9.2 พันล้านบาท

มูลค่าเงินไหลเข้า-ออกกองทุน LTF และ RMF

15 THA Q3 19 net flow LTF RMF

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

หากดูผลตอบแทนเฉลี่ยกองทุนในรอบ 3 เดือนถึง 1 ปีจะพบว่ากองทุน LTF และ RMF - Equity ซึ่งเป็นกองทุนตราสารทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะได้รับผลกระทบจากภาวะตลาดที่แกว่งตัว ในขณะกองทุน RMF - Other ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดของกองทุนประหยัดภาษี โดยเป็นผลตอบแทนจากกองทุนรวมทองคำที่ในปีนี้ปรับขึ้นตามทิศทางราคาทองคำ แต่หากมองในระยะยาวตั้งแต่ 3-10 ปีนั้นจะเป็นภาพกลับกันโดยกองทุนทองคำให้ผลตอบแทนต่ำ ในขณะที่กองทุนหุ้นให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น

อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยกองทุน LTF และ RMF (%)

16 THA Q3 19 avg ret LTF RMF

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

ในด้านผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อกองทุน LTF หมดไป คาดว่าเม็ดเงินลงทุนใหม่จะหายไปจากตลาดหุ้นอย่างน้อยปีละ 1.5 หมื่นล้าน (โดยสมมติฐานที่ว่า กองทุนรูปแบบใหม่ SEF มีสิทธิ๋ลดหย่อนได้ 250,000 บาท ลดลง 50% จาก LTF ปัจจุบัน อีกทั้งค่าเฉลี่ยของเม็ดเงินไหลเข้าจาก LTF เฉลี่ยอยู่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท)

ในส่วนของ บลจ. ที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็น่าจะเป็น บลจ. ที่มีทรัพย์สินสุทธิมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ บลจ.บัวหลวง บลจ. กสิกร บลจ. กรุงศรี บลจ. ไทยพาณิชย์ และ บลจ. ยูโอบี รวมทั้ง 5 บลจ. มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในกองทุน LTF กว่า 3.2 แสนล้านบาท

Morningstar Sustainability Rating

Morningstar Sustainability Rating เป็นการให้เรตติ้งกองทุนจากการพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social), และ ธรรมาภิบาล (Governance) ของหลักทรัพย์ที่กองทุนถือครองอยู่ โดย Sustainalytics จะเป็นผู้วิเคราะห์และให้คะแนนแก่บริษัทในแต่ละด้านดังกล่าว ในปัจจุบัน Sustainalytics มีการวิเคราะห์ ESG มากกว่า 10,000 บริษัททั่วโลกและมากกว่า 140 บริษัทในประเทศไทย

การคำนวณ Morningstar Sustainability Rating ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ 1) คำนวณ Morningstar Portfolio Sustainability Score รายเดือนในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง 2) นำคะแนนที่ได้มาหา Morningstar Historical Portfolio Sustainability Score และสุดท้าย 3) จัด Morningstar Sustainability Rating ให้แต่ละกองทุนโดยเทียบกับกองทุนใน Morningstar Global Category

ในปีนี้มอร์นิ่งสตาร์ยังคงปรับปรุงและพัฒนา Morningstar Sustainability Rating โดย 1) ได้นำ ESG Risk Rating มาใช้แทน ESG Rating, 2) ใช้เกณฑ์ buffer เพื่อให้เรตติ้งกองทุนมีความเสถียรมากขึ้น และ 3) มีเกณฑ์การจัดการกองทุนที่มีความเสี่ยงด้าน ESG สูง ซึ่งการปรับวิธีการให้เรตติ้งในครั้งนี้จะมีผลบังคับใช้วันที่ 31 ตุลาคม 2019 เป็นต้นไป

ปัจจุบันกองทุนรวมหุ้นไทยจำนวน 23 กองทุนได้รับ Morningstar Sustainability Rating ระดับสูงสุด (5 ลูกโลก) รวมมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3.8 หมื่นล้านบาท ผลตอบแทนเฉลี่ยสะสม 5.0%

กองทุนหุ้นไทยที่มี Morningstar Sustainability Rating 5 Globe

17 THA Q3 19 TH 5globe

ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

Facebook Twitter LinkedIn

About Author