เศรษฐกิจหลังโควิดจะเปลี่ยนไปอย่างไร

เหตุการณ์สำคัญในอดีตสามารถสอนให้เราคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจหลังโควิดได้อย่างไรบ้าง วันนี้มอร์นิ่งสตาร์ได้ยกตัวอย่างบางเหตุการณ์มาให้ลองพิจารณากันค่ะ

Morningstar 08/12/2563
Facebook Twitter LinkedIn

หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของ COVID19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆที่กลายเป็น New normal เช่น การใส่หน้ากากอนามัย การทำงานจากที่บ้าน และการซื้อสินค้า Online มากขึ้น ทั้งนี้คาดว่ามีปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจาก

Habit (พฤติกรรม) - ที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป เป็นสาเหตุให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปในท้ายที่สุด ยกตัวอย่างเช่นในอดีตที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มมีการรณรงค์ให้เกิดการนำสินค้าที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (recycling) ส่งผลให้อัตราการนำขยะมา recycle ได้เพิ่มสูงขึ้นจาก 6.6%ในปี 1970 เป็น 34.7% ปี 2015

Fear (ความกลัว) - การกลับมาแพร่ระบาดของ COVID19 ทำให้พฤติกรรมต่างๆเปลี่ยนแปลงไป เหมือนดังเช่นในอดีตที่รณรงค์ให้เห็นถึงอันตรายจากการสูบบุหรี่ ส่งผลให้ยอดขายบุหรี่ในสหรัฐอเมริกาปรับลดลง โดยสัดส่วนจำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงจาก 42% ในปี 1964 เหลือเพียง 19%ในปี 2011

Sunk costs (ต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้ว) – ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น เครื่องบิน Concorde ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาและถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ แม้ว่าจะไม่เคยสร้างกำไรให้แก่สายการบิน แต่เครื่องบินนั้นก็ยังคงถูกใช้ให้บริการมาเป็นเวลายาวนานเนื่องจากได้ลงทุนสร้างขึ้นมาแล้ว

อะไรคือบทบาทที่สำคัญที่สุดที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป
หลังจากเกิดการระบาดของ COVID19 ทำให้คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลักๆดังต่อไปนี้

1) การทำงานจากที่บ้านมากขึ้น (Working from home) เนื่องจากในช่วงที่เกิด COVID19 ทำให้คนส่วนมากมีการลงทุนในระบบหรืออุปกรณ์สำนักงานเพื่อรองรับการทำงานจากที่บ้านไปมากแล้ว (Sunk costs) ดังนั้น แม้ว่าโรคระบาดจะหมดไป พนักงานก็มีแนวโน้มที่จะทำงานจากที่บ้านต่อเนื่อง

2020 12 08 19 12 37 change

2) จำนวนผู้ใช้บริการในธุรกิจร้านอาหาร สายการบิน โรงพยาบาล โรงแรม ที่ลดลง เนื่องจากความต้องการเว้นระยะห่างทางสังคมมากขึ้นเพื่อป้องกัน COVID19 (Fear) และกลายเป็นความคุ้นชินมากขึ้นจากการเดินทางที่ลดลงและทานข้าวนอกบ้านลดลง (Habit) การเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมานั้นจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างถาวรหรือไม่นั้น เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาแล้วก็ตาม ซึ่งในท้ายที่สุดผู้คนก็ยังมีความระวังตัวอยู่เสมอเพื่อป้องกันการระบาดของโรคต่างๆ ทำให้ทานข้าวนอกบ้านลดลง และระวังในการใช้บริการรถสาธารณะ เป็นต้น

3) การใช้บริการ E-commerce และการใช้บริการ Online ที่มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความคุ้นชินของผู้บริโภค (Habit) และการที่บริษัทต่างๆได้ลงทุนในการพัฒนาระบบ E-commerce ไปอย่างมากทำให้ผลักดันผู้บริโภคมาช่องทางขาย E-commerce มากขึ้น และนอกจากเพื่อเป็นการเว้นระยะห่างสังคมแล้ว ผู้บริโภคเองก็มีเวลาที่จำกัดจึงทำให้หันมาซื้อสินค้า Online กันมากขึ้นเช่นกัน

แนวโน้มในอนาคตหลังจากที่เกิดการระบาดของ COVID19 จะกระทบต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไร

หากย้อนไปดูเหตุการณ์ในอดีตเพื่อเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น

Oil price shock ในปี 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นกว่า 250% ไปอยู่ที่ 63 เหรียญต่อบาร์เรล ส่งผลต่อความต้องการผู้บริโภคปรับลดลงอย่างมาก แต่เมื่อราคาน้ำมันปรับลดลงมาเฉลี่ยเหลือ 32 เหรียญต่อบาร์เรล ในปี 1986-2000 ความต้องการผู้บริโภคกลับไม่ได้ฟื้นตัวดีเหมือนในอดีตและราคาน้ำมันก็ไม่กลับไปสูงอย่างในอดีตอีกเช่นกัน นั่นเป็นเพราะในช่วงที่ราคาน้ำมันแพงทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น (Monetary sunk costs) จึงส่งผลต่อการใช้เชื้อเพลิงลดลงและทำให้ผู้บริโภคไม่หันกลับไปใช้เครื่องยนต์เก่าที่ไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป นอกจากนี้ การที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงเกิดความพยายามในการร่างข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ (Political sunk costs) ส่งผลให้มาตราฐานของเครื่องยนต์ต้องอยู่ในระดับที่มีประสิทธิภาพในการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่ดีอยู่เสมอ ดังนั้น เหตุกาณ์ Oil shock ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อความต้องการใช้เชื้อเพลิงอย่างถาวร

2020 12 08 18 37 47 oil chart

เหตุการณ์ 9/11 ส่งผลต่อการเดินทางทางอากาศลดลงอย่างเห็นได้ชัด เหมือนอย่างเช่นในช่วง COVID19 ที่ความต้องการเดินทางทางเครื่องบินลดลง ซึ่งหลังเหตุการณ์ 9/11 ผลสำรวจพบว่าชาวอเมริกันจำนวน 43%หวาดกลัวการก่อการร้ายจึงหลีกเลี่ยงการเดินทางทางเครื่องบินไปช่วงหนึ่ง โดยเฉพาะ Business travel ที่ส่วนใหญ่ยกเลิกการเดินทางและหันมาติดต่อผ่านเครื่องมือสื่อสารแทน ส่งผลให้ธุรกิจสายการบินต้องหันมาเน้นตลาดนักท่องเที่ยงผ่านการขยาย Low cost airline มากขึ้นแทน

2020 12 08 18 51 46 fear 911

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโรคระบาด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ไข้หวัดใหญ่ Spanish flu ในปี 1918-1920 ซึ่งส่งผลให้มีผู้คนล้มตายไปกว่า 50 ล้านคน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไปในช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งการเว้นระยะห่างทางสังคม การรณรงค์ให้ใส่หน้ากากอนามัย การปิดโรงเรียนและโรงหนังในช่วงดังกล่าว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับส่งครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ยากที่จะวัดผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้โดยตรง ขณะที่ในศตวรรษที่ 21 ที่มีโรค SARS, H7N9, H1N1 ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คล้ายกับ COVID19 ในตอนนี้ เช่น การที่เกิดโรค SARS ในอดีตทำให้การใช้หน้ากากอนามัยเป็นที่แพร่หลายในจีนและฮ่องกงมากขึ้น รวมทั้งทำให้ธุรกิจ E-commerce ในจีนเติบโตตามมา

โดยสรุปแล้ว COVID19 อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกิจกกรมทางเศรษฐกิจ เช่น การซื้อขาย Online มากขึ้น หรือการเกิดค่านิยมใหม่ๆขึ้นมา เช่น การลดการกินอาหารนอกบ้านหรืองดการเดินทางด้วยเครื่องบิน ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคในระยาวมากที่สุดก็คือ Sunk costs เนื่องจากเรื่องของพฤติกรรม (Habit) ที่เปลี่ยนแปลงไปสุดท้ายก็อาจกลับมาเหมือนเดิม ขณะที่ความกลัวความกังวล (Fear) พอผ่านไประยะหนึ่งก็อาจลดลงเช่นกัน

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar