แนวทางการบริหารประเทศของ Joe Biden

นโยบายการบริหารประเทศสหรัฐภายใต้การนำของ Joe Biden ครั้งนี้ อาจยังไม่เห็นผลกระทบต่อภาคธุรกิจมากนัก เนื่องจากเชื่อว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลากว่า 12-18 เดือนไปกับการแก้ไขนโยบายการบริหารประเทศของ Trump ที่ผ่านมา

Morningstar 26/01/2564
Facebook Twitter LinkedIn

นโยบายการบริหารประเทศสหรัฐภายใต้การนำของ Joe Biden ครั้งนี้ อาจยังไม่เห็นผลกระทบต่อภาคธุรกิจมากนัก เนื่องจากเชื่อว่าเค้าอาจจะต้องใช้ระยะเวลากว่า 12-18 เดือนไปกับการแก้ไขนโยบายการบริหารประเทศของ Trump ที่ผ่านมา

สิ่งที่เราคาดว่าจะเห็นได้ชัดต่อผลกระทบของการลงทุน ภายใต้การนำของพรรค Democrat ครั้งนี้ คือการขึ้นภาษีภาคธุรกิจ การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และนโยบายทางด้านสุขภาพที่มากขึ้น (the Affordable Care Act framework) อย่างไรก็ตาม นโยบายการนำประเทศครั้งนี้อาจไม่ได้มีผลต่อบริษัทต่างๆมากนักและไม่ได้ทำให้มูลค่าของหุ้นในตลาดเปลี่ยนแปลงไปจากนโยบายเหล่านี้ ลองมาดูเหตุผลว่าทำไมเราถึงคิดว่าเป็นเช่นนั้น

เครื่องมือที่ประธานาธิบดีสามารถใช้เพื่อกำหนดนโยบาย

1) การสร้างกฏและระเบียบข้อบังคับ ประธานาธิบดีสามารถที่จะสร้างนโยบายต่างๆโดยกำหนดกฏเกณฑ์ผ่านหน่วยงานต่างๆขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวทางที่มีอำนาจมากที่สุด แต่ก็เห็นผลช้าที่สุดเช่นกัน เพราะอาจต้องใช้เวลากว่า 18 เดือน-2ปี จึงสำเร็จ ประกอบกับผลลัพธ์ที่ออกมาอาจมีความไม่แน่นอนจากการดำเนินคดีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

2) การบังคับใช้กฏหมาย ในอดีตพรรค Democrat เคยใช้การบังคับใช้กฏหมายในการบริหารงาน ซึ่งมักจะรวดเร็วกว่าการสร้างกฏระเบียบข้อบังคับขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการบังคับใช้กฏหมายและการบังคับใช้กฏหมายก็อาจนำไปสู่การที่ภาคธุรกิจมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการบังคับใช้

3) การต่อต้านการผูกขาด เพื่อเป็นการรักษาสภาพการแข่งขันในตลาด การต่อต้านการผูกขาดจึงมักเกิดขึ้นหากพบว่าบริษัทไหนเข้าข่ายดังกล่าว โดยเฉพาะการปกป้องผู้บริโภคและการต่อต้านทางการค้าของ Tech firms ต่างๆ

4) เครื่องมืออื่นๆ เช่น การออกใบอนุญาติ การอนุมัติเงินกู้ การค้ำประกันการกู้
ทั้งนี้ เราคาดว่ารัฐบาลจะใช้แนวทางต่างๆเหล่านี้ในการบริหารประเทศโดยเน้นไปที่ภาคพลังงาน ภาคการผลิต สุขภาพ และเทคโนโลยี แต่อย่างไรก็ตามแนวทางเหล่านี้อาจไม่ได้ส่งผลต่อภาคธุรกิจมากนัก ยกตัวอย่างเช่น

นโยบายด้าน Healthcare โดยการบริหารผ่านระบบ ACA (the Affordable Care Act framework) เน้นการขยายระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้ครอบคลุมจำนวนประชากรมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินงบประมาณ 85,000-100,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี นอกจากนี้อาจบังคับใช้ให้ลดระยะเวลาการคุ้มครองสำหรับแผน Short-term healthcare planตามแบบที่ Obama เคยทำไว้ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลากว่าจะสำเร็จ เนื่องจากอาจเกิดความไม่เห็นด้วยในแต่ละรัฐ นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดของเงินงบประมาณที่จะถูกนำมาใช้ เนื่องจากแต่ละรัฐต้องหาเงินงบประมาณขึ้นมาเพื่อรองรับแผนดังกล่าว ทำให้อาจต้องขึ้นภาษีในแต่ละพื้นที่

นโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ในช่วงการบริหารนโยบายของ Trump ได้มีการออกกฏเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องสิ่งแวดล้อมมากมายและได้ส่งผลต่อบริษัทพลังงานต่างๆอย่างมากเป็นเวลายาวนานกว่า 4 ปี และการที่ประธานาธิบดี Biden จะออกกฏเกณฑ์เพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายของ Trump ที่ผ่านมาจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอีกเช่นกัน อย่างเช่น เรื่องของการลดภาวะโลกร้อนที่ Biden พยายามจะนำกลับมาใช้ตามที่สมัย Obama เคยทำไว้ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่ Trump พยายามแก้ไขร่าง CAFE standards ยังต้องใช้เวลากว่า 2 ปี ในการแก้มาตรฐานดังกล่าว ดังนั้นจึงไม่ต่างกันกับการที่ Biden พยายามกลับไปแก้ไขมารตฐานดังกล่าวก็คงต้องใช้เวลามากพอควร นอกจากนี้ผู้ประกอบการอย่างเช่นค่ายรถยนต์ต่างก็ได้วางแผนปรับปรุงมาตรฐานการผลิตรถยนต์เพื่อรองรับเรื่องสิ่งแวดล้อมไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีนัยยะสำคัญต่อมูลค่าของกิจการหากเกิดการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดสิ่งแวดล้อมอีกรอบ และในด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก็คาดว่ามาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมรถยนต์ก็ไม่อาจส่งผลต่อความต้องการใช้เซล์เชื้อเพลิงในอนาคตให้เปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดการณ์มากนัก หรือในเรื่องของแผนโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่ Trump ได้ผ่อนคลายมาตรฐานให้โรงไฟฟ้าถ่านหินมากขึ้นนั้น ในท้ายที่สุดก็ไม่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาใช้ถ่านหินมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนของการใช้ Gas และ Renewable energy ก็ยังต่ำกว่าถ่านหินอยู่ดี

ภาคการเงิน นโยบายการคุ้มครองบริโภคและการควบคุมความขัดแย้งผลประโยชน์ รวมถึงเรื่องของธรรมาภิบาลจะถูกนำขึ้นมาผลักดันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องกฏเกณฑ์แนวทางปฏิบัติที่เคยเอื้อประโยชน์ให้แก่สถาบันการเงินและบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ซึ่งคาดว่า Biden จะส่งคนซึ่งเป็นตัวแทนเข้ามานั่งในหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลเพื่อเป็นตัวแทนในการกำกับกฏเกณฑ์ที่จะบังคับใช้ อย่างไรก็ดีในปัจจุบันบริษัทต่างๆก็ได้มีแผนการปฏิบัติงานเพื่อรองรับกฏเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว ทำให้คาดว่านโยบายครั้งนี้ก็จะไม่มีผลกระทบกับภาคการเงินมากนัก ไม่เหมือนในอดีตที่ยังไม่เคยมีกฏเกณฑ์ข้อบังคับดังกล่าว

Technology firms อย่างเช่น Facebook และ Google ที่ผ่านมาก็เจอเรื่องการฟ้องร้องเพื่อต่อต้านการผูกขาดทางการค้าจากรัฐต่างๆมาโดยตลอด ซึ่งการขึ้นมาทำหน้าที่ของ Biden ครั้งนี้ ก็คงไม่ต่างจากในอดีต ซึ่งเราเชื่อว่าแม้จะมีกฏหมายเพื่อปกป้องการกีดกันทางการค้าดังกล่าวขึ้นจริงก็ไม่สามารถลดความสามารถการแข่งขันของบริษัทลงได้ ทั้งนี้ในปี 2019 สภา Congress เคยพยายามที่จะร่างกฏหมาย Internet privacy ขึ้นมาเพื่อปกป้องผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร่างกฏหมายดังกล่าวจะผ่าน และทำให้รายได้ของ Tech companies ลดลง แต่ก็เป็นการสร้างความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นให้กับบริษัทเหล่านี้เนื่องจากเป็นการกีดกันการเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ๆที่จะสร้างผลกำไรได้จากร่างกฏหมายฉบับนี้ เพราะว่ารัฐสภาเองก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจดังกล่าวมากพอ การออกกฏหมายต่างๆจึงต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกซึ่งก็คือ Tech companies ที่รัฐบาลพยายามจะควบคุมนั่นเอง การออกกฏเกณฑ์จึงเป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองเช่นกัน และแม้ว่ารัฐบาลพยายามต่อต้านการผูกขาดทางการค้าของบริษัทเหล่านี้ แต่ผู้เล่นในตลาดอย่าง Facebook และ Google ก็ไม่ได้มองว่าเป็นอุปสรรคมากนัก ถึงแม้จะมีการควบคุมการซื้อกิจการเพื่อป้องกันการผูกขาดทางการค้าแต่ในความเป็นจริงก็เป็นการยากที่จะเข้าควบคุมได้จริงในสภาวะที่ผูกขาดในปัจจุบัน อย่างเช่นกรณีของ Facebook ที่ถูกฟ้องร้องมากมายจากรัฐต่างๆรวมถึงเรื่องการจำกัดขอบเขตในการควบรวมกิจการอย่าง WhatsApp และ Instagram เข้าด้วยกัน ในท้ายที่สุดเชื่อว่าศาลก็ไม่อาจสั่งให้ Facebook ทำการแยกบริษัทเหล่านี้ออกจากการควบคุมทางธุรกิจได้ เพราะเป็นการยากที่จะพิสูจน์ได้ว่าการรวมกิจการดังกล่าวทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคจริง

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar