US Market: ค่าธรรมเนียมกับเม็ดเงินกองทุน

เม็ดเงินกองทุนในช่วงครึ่งปีแรก แสดงให้เห็นว่าค่าธรรมเนียมถือเป็นปัจจัยที่นักลงทุนให้ความสำคัญอย่างมาก โดยกองทุนค่าธรรมเนียมถูกมีเม็ดเงินไหลเข้ามากกว่ากองทุนที่แพงกว่าอย่างชัดเจน

Morningstar 30/09/2564
Facebook Twitter LinkedIn

ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีเงินไหลเข้ากองทุนรวมและอีทีเอฟในสหรัฐรวมกว่า 7 แสนล้านดอลลาร์ หากแบ่งกองทุนออกเป็น 10 กลุ่ม โดยค่าธรรมเนียมถูกที่สุดคือกลุ่มที่ 1 และค่าธรรมเนียมแพงสุดคือกลุ่มที่ 10 จะพบว่ามีเงินไหลเข้ากลุ่มที่ 1 ถึง 5.4 แสนล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกันมีเงินไหลออกจากกองทุนที่ 10 รวม 9 พันล้านดอลลาร์

ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าธรรมเนียมและเม็ดเงินกองทุนนั้นถือว่าค่อนข้างชัดเจน หากเปรียบเทียบตามประเภทการลงทุน International Equity, Sector Equity, Municipal Bond และ Taxable Bond จะพบว่าเม็ดเงินส่วนใหญ่จะไปที่กองทุนค่าธรรมเนียมถูกที่สุด 2 กลุ่มแรก

1

กองทุนหุ้นสหรัฐ

ค่าธรรมเนียมกองทุนหุ้นสหรัฐถือเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อ-ขายกองทุนในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ในปี 2020 ที่กองทุนหุ้นสหรัฐมีทิศทางเป็นเงินไหลออก แต่จะเป็นการไหลออกจากกองทุนค่าธรรมเนียมแพง ในขณะที่กองทุนค่าธรรมเนียมต่ำสุดมีเงินไหลเข้า สำหรับ 6 เดือนแรกของปี 2021 ที่มีเงินไหลเข้าสุทธิกองทุนหุ้นสหรัฐ แต่มีเพียงกองทุนที่ค่าธรรมเนียมถูกสุด 2 กลุ่มแรกที่มีเงินไหลเข้าสุทธิ

2

หากไปดูในมิติของกลยุทธ์การลงทุนจะพบว่ามีเงินไหลเข้ากองทุนหุ้นสหรัฐประเภท passive fund เป็นส่วนใหญ่เช่น Vanguard S&P 500 VOO ที่เก็บค่าธรรมเนียม 0.03% และ iShares Core S&P 500 ETF IVV ที่ 0.03%

3

จากพฤติกรรมผู้ลงทุนที่เลือกลงทุนในกองทุนถูกนั้นแสดงภาพแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว จากภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่ากองทุนที่ค่าธรรมเนียมถูก จะมี Organic Growth ที่สูงกว่าอย่างชัดเจน โดยราวครึ่งหนึ่งของกองทุนค่าธรรมเนียมถูกที่สุด มีการเติบโตมากกว่า 50%  ในทางกลับกันกองทุนกลุ่มแพงที่สุดมีการเติบโตระดับมากกว่า 50% แค่เพียงร้อยละ 3 และกว่า 65% ของกลุ่มดังกล่าวมีมูลค่าลดลงมากกว่าครึ่ง

4

กองทุน U.S. Taxable Bond

ด้านกองทุนตราสารหนี้ (U.S. Taxable Bond) ก็แสดงภาพในทิศทางเดียวกัน โดยในรอบครึ่งปีมีเงินไหลเข้ารวม 3.4 แสนล้านดอลลาร์ กว่าครึ่งไปที่กองทุนค่าธรรมเนียมต่ำสุดกลุ่มแรก

5

ในแง่กลยุทธ์การลงทุนนั้นมีเงินไหลเข้าในกอง passive ค่าธรรมเนียมต่ำสุด (ไม่เกิน 0.05% ต่อปี) เพียงกลุ่มเดียว เป็นมูลค่าสูงถึงเกือบ 1.6 แสนล้านดอลลาร์ และอีก 9 กลุ่มเป็นเงินไหลออกทั้งหมด ในขณะที่นักลงทุนที่เลือกกองทุนที่บริหารแบบเชิงรุกอาจจะยอมจ่ายค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น แต่โดยรวมก็ยังจะค่อนไปทางกองทุนค่าธรรมเนียมต่ำมากกว่า

6

บลจ.เก็บค่าธรรมเนียมต่ำมีการเติบโตที่สูงกว่า

ภาพด้านล่างแสดงถึงผลจากการเก็บค่าธรรมเนียมที่ต่ำของบลจ. โดยบลจ.ที่เก็บค่าธรรมเนียมต่ำมีการเติบโตที่สูงกว่า โดย iShares ที่มีค่าธรรมเนียมเฉลี่ยถูกเป็นอันดับ 10 มีการเติบโต 32% ในช่วง 3 ปี ขณะเดียวกัน Franklin Templeton ที่อยู่อันดับ 52 มีมูลค่าทรัพย์สินหดตัวลงราว 15% ในช่วงเวลาเดียวกัน

7

จากข้อมูลที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มนักลงทุนในสหรัฐให้ความสำคัญกับค่าธรรมเนียมกองทุน ในขณะที่นักลงทุนไทยยังถือว่าไม่ตื่นตัวในประเด็นนี้มากนัก ซึ่งค่าธรรมเนียมถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับกองทุนรวมเนื่องจากเป็นการลงทุนในระยะยาว หากนักลงทุนลองพิจารณาค่าธรรมเนียมร่วมกับข้อมูลอื่นในการเลือกกองทุนแล้วในระยะยาวจะพบว่าสามารถสร้างความแตกต่างของผลตอบแทนได้

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar