กองทุนเพื่อการออมมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากไตรมาสก่อนหน้า มีเงินไหลเข้าสุทธิ 1.7 พันล้านบาท รวมสะสม 9 เดือนที่ 3.9 พันล้านบาท หากมีเงินไหลเข้าในไตรมาสสุดท้ายใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่ระดับ 9 พันล้านบาท จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าสุทธิรวมทั้งปีที่ราว 1.3 หมื่นล้านบาท หรือสูงกว่ายอดรวมปีที่แล้วราว 2-3 พันล้านบาท (นับเฉพาะส่วนของกองทุน SSF หรือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020)
กองทุนหุ้นไทย Equity Large-Cap มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4.7% จากไตรมาสก่อนหน้าไปอยู่ที่ 1.0 หมื่นล้านบาท และยังคงเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงสุดในหมวดกองทุนเพื่อการออม ในรอบไตรมาสล่าสุดมีเม็ดเงินไหลเข้าสุทธิระดับ 300 ล้านบาทค่อนข้างใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน รวม 9 เดือนเป็นเงินไหลเข้าสุทธิ 700 กว่าล้านบาท หรือสูงเป็นอันดับ 3 ในรอบ 9 เดือน ทั้งนี้กองทุนกลุ่มนี้ผลตอบแทนเฉลี่ย 3 เดือนสูงสุดที่ 1.9%
แม้กองทุนต่างประเทศส่วนใหญ่จะมีผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ แต่ยังมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าการลงทุนในประเทศ เช่นกลุ่ม Global Equity มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 11% ไปอยู่ที่เกือบ 6 พันล้านบาท จากเงินไหลเข้าสุทธิ 549 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ากลุ่มอื่นในไตรมาสที่ผ่านมา รวม 9 เดือนไหลเข้าสุทธิ 1.4 พันล้านบาท
กองทุนหุ้นจีนมีเงินไหลเข้า 402 ล้านบาท เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสที่ 2 รวม 9 เดือนมีเงินไหลเข้าสุทธิสูงเป็นอันดับที่ 2 ด้วยมูลค่า 765 ล้านบาท ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบถึง 13.8% อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนมองเป็นโอกาสการลงทุนระยะ 10 ปีได้
5 อันดับกองทุน SSF ผลตอบแทนสูงสุด 3 เดือน
5 อันดับกองทุน SSF ผลตอบแทนสูงสุด 1 ปี
ที่มา: Morningstar Direct, ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2021
นักลงทุนสามารถดูข้อมูลกองทุน SSF เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3le1pDX