สำหรับเดือนกันยายนที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้าใน Long-term mutual funds และ ETFs รวม 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยปริมาณเงินที่ไหลเข้านั้นต่อเนื่องนานกว่า 18 เดือนนับตั้งแต่ช่วงเมษายน 2020 หรือมีมูลค่าเงินลงทุนสะสมกว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับเงินทุนที่ไหลเข้าส่วนใหญ่เป็นการลงทุนใน Passive funds ประมาณ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ETFs ที่เป็น Passive strategies รวม 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ความต้องการลงทุนในตลาด US เริ่มลดลงในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะเงินลงทุนใน US equity funds ในเดือนกันยายนที่กลายเป็นยอดเงินไหลออกสุทธิ 7.4 พันล้านดอลลาร์ หลังจากช่วง 6 เดือนก่อนหน้ามีเงินไหลเข้าสะสมถึง 1.96 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นการย้ายจากการลงทุนในกลุ่ม Active ไปยัง Passive funds และยังเน้นลงทุนในกองทุนหุ้นขนาดกลางถึงเล็กมากขึ้นอย่างเช่น Vanguard 500 Index VFINX และ iShares Core S&P Small-Cap ETF IJR
International equity funds ในเดือนกันยายนมีเงินไหลเข้าสุทธิเพียง 9.8 พันล้านดอลลาร์ ลดลงจากช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ที่มีเงินไหลเข้าเฉลี่ยเดือนละ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ก็ยังถือว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากกว่ากลุ่ม US equity และ Sector funds โดยเปรียบเทียบ และในกลุ่มกองทุนต่างประเทศที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนคือกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ และกลุ่มที่เน้นลงทุนใน Diversified emerging-markets
แม้เงินลงทุนในกลุ่ม Equity funds จะปรับลดลงในปีนี้ แต่กระแสเงินลงทุนในกองทุนที่เน้นเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) ยังคงมีมากอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยในเดือนกันยายนมีเงินไหลเข้าอีก 3.8 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้การลงทุนในกองทุนที่เน้นเรื่องความยั่งยืนมีทั้งในกลุ่ม Sustainable U.S. equity funds, international-equity และ Sector-equity สำหรับกองที่มีเงินไหลเข้ามาก ได้แก่ iShares ESG Aware MSCI EAFE ETF ESGD และ iShares Global Clean Energy ETF ICLN เป็นต้น
Sector-equity funds มีเงินไหลออกสุทธิต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน แม้ว่ากลุ่ม Technology funds จะเป็นที่นิยมอย่างมากในปีนี้ แต่ก็เริ่มเห็นเงินทุนไหลออกไปยังกลุ่มการเงินและพลังงานมากขึ้นเช่นกัน โดยในเดือนกันยายนนั้นเงินลงทุนยังไหลเข้าในหมวดอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ไหลออกจากกลุ่มการเงิน กลุ่มสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน และกลุ่มเทคโนโลยี นอกจากนี้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 กลุ่ม Commodities broad basket funds มีเงินไหลเข้าต่อเนื่องซึ่งเป็นผลจากแนวโน้มเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทำให้ความต้องการลงทุนในกลุ่มนี้สูงขึ้น แต่เริ่มลดลงในช่วง 2 เดือนล่าสุดเช่นกัน
Taxable-bond funds เป็นที่นิยมของนักลงทุนอย่างมากเช่นกันในช่วงที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินทุนไหลเข้าแล้ว 4.6 แสนล้านดอลลาร์ สะท้อนว่านักลงทุนให้ความสำคัญต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณว่าจะเริ่มผ่อนคลายการเข้าซื้อสินทรัพย์ในช่วงเดือนพฤษจิกายนนี้และขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ทำให้การลงทุนในกลุ่ม Short-term bond funds , Bank-loan funds และ Inflation-protected bond funds เพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากได้รับผลกระทบน้อยสุดหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
Municipal-bond fund แม้เงินลงทุนจะไหลเข้าไม่สูงมากแต่ก็มีมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยมีเงินไหลเข้าในช่วง 3 ไตรมาสแรกรวม 3.2, 3.0, และ 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินลงทุนเริ่มไหลไปยังกลุ่ม Short term มากขึ้น โดยในไตรมาสที่ 3 เงินไหลเข้าในกลุ่ม Muni national intermediate-term funds จำนวน 1.0 หมื่นล้าน $10.0 billion และ Muni national short-term category จำนวน 9.1 พันล้านดอลลาร์