ความต้องการน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง

ประชาคมโลกตั้งเป้าเข้าสู่ภาวะ Net-zero carbon emissions ภายในปี 2050 ทำให้การคาดการณ์ความต้องการใช้พลังงานนั้นถูกกระทบไปด้วย แต่ก็เชื่อว่าความต้องการใช้น้ำมันยังมีอยู่เนื่องจากการใช้พลังงานอื่นมาทดแทนอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น 

Morningstar 13/12/2564
Facebook Twitter LinkedIn

หลังจากที่ประชาคมโลกตั้งเป้าเข้าสู่ภาวะ Net-zero carbon emissions ภายในปี 2050 ทำให้การคาดการณ์ความต้องการใช้พลังงานนั้นถูกกระทบไปด้วย โดย Morningstar คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันยังคงเพิ่มขึ้นและจะถึงจุดสูงสุดในปี 2030 และค่อย ๆ ปรับลดลงปีละเฉลี่ย 11% จนถึงปี 2050  แต่โดยรวมยังคง Bullish ต่อ Demand ของ Oil ในอนาคต จากความต้องการใช้ในธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อผลิตเม็ดพลาสติก และเพื่อการขนส่งแม้ว่าจะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นก็ตาม แต่ก็เชื่อว่าความต้องการใช้น้ำมันยังมีอยู่จากเครื่องยนต์สันดาป รวมทั้งความต้องการใช้น้ำมันของเครื่องบินเนื่องจากการใช้พลังงานอื่นมาทดแทนอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่การใช้พลังงานอื่นทดแทนน้ำมันในธุรกิจเรือน่าจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ

exh1

แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมัน

หากดูตามความต้องการใช้น้ำมันโดยแบ่งตามชนิดของน้ำมัน จะพบว่าโดยรวมความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดในปี 2030 ก่อนที่จะค่อย ๆ ลดลงตามการเพิ่มขึ้นของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งในรูปแบบของรถยนต์ทั่วไปและรถบรรทุก ซึ่งส่งผลต่อความต้องการใช้ที่ลดลงใน Gasoline และ Diesel แต่ยังชดเชยด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นใน Jet fuel จากธุรกิจสายการบิน และความต้องการใช้ในธุรกิจ Petrochemical products ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันโดยรวมลดลงในอัตราที่ไม่เร็วมาก

exh2

หากดูตามภูมิภาคจะพบว่าความต้องการใช้น้ำมันจากกลุ่ม Emerging markets ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 53% ของ Oil demand ในปี 2019 เป็น 66% ในปี 2050 โดยความต้องการใช้จากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (ไม่รวมจีน) จะเติบโตในอัตรา 19% ภายในปี 2050 ตามการเติบโตที่สูงของเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้ เมื่อเทียบกับการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วที่ลดลง ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันจากจีน สหรัฐ ยุโรป ปรับลดลงในระยะยาว นอกจากนี้ แม้ในอดีตจีนจะเป็นประเทศที่มีการใช้น้ำมันในอัตราที่สูงมากก็ตาม แต่การเร่งใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็ทำให้ลดความต้องการใช้น้ำมันในประเทศลง ขณะที่การแพร่หลายของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมากแบบที่เกิดขึ้นในจีนน่าจะยังไม่เกิดขึ้นในตลาดเกิดใหม่

exh3

นโยบายการลด Carbon

โดยรวมเราคาดว่าการเปลี่ยนนโยบายไปสู่การลดคาร์บอนจะไม่ส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันมากนัก เนื่องจาก 1) คาดว่า Carbon taxes จะเพิ่มขึ้นไม่มากจนส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้ของผู้บริโภค และนโยบายการลดคาร์บอนอาจทำให้เกิดข้อเสียทางการเมืองมากขึ้นแทน 2) การเปลี่ยนผ่านจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไปสู่เทคโนโลยีพลังงานสะอาดจะได้ผลหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใหม่และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งหากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นมากเกินไปก็อาจทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีอยู่

ในการประชุม COP26 ประเทศสมาชิกตกลงที่จะร่วมกันลดการสร้างก๊าซคาร์บอนซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยการปลูกป่าและลดการปล่อยก๊าซมีเทน  ซึ่งประเทศสมาชิกตกลงที่จะประชุมกันอีกครั้งในปีหน้าเพื่อไปสู่เป้าหมาย Net-zero emissions ในปี 2050 อย่างไรก็ตามแม้จะมีความพยายามในการลดภาวะโลกร้อน แต่อุณหภูมิโลกยังคงสูงขึ้นเฉลี่ย 2.7 องศาเซลเซียส ซึ่งยังสูงเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar