ผลของ Omicron ต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

แม้ว่าการแพร่ระบาดของ coronavirus สายพันธุ์ omicron จะไม่ได้ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจชะลอลงมาก อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคนั้นมีไม่มากเท่าสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ก็มีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น 

Morningstar 17/01/2565
Facebook Twitter LinkedIn

แม้ว่าการแพร่ระบาดของ coronavirus สายพันธุ์ omicron จะไม่ได้ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจชะลอลงมาก อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคนั้นมีไม่มากเท่าสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ก็มีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะจากนโยบาย “zero-COVID” ของจีนที่เข้มงวดจนอาจทําให้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกรุนแรงขึ้น

  • สำหรับ GDP สหรัฐในปี 2022 เราได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตลงจาก 4% เหลือ 3.9% จากผลกระทบของ omicron ที่กดดันการใช้จ่ายในภาคบริการของสหรัฐในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
  • อัตราเงินเฟ้อในปี 2022 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ 2.8% เป็น 3.6% จากผลกระทบของ omicron ต่อระบบ supply chains ของโลก

Omicron มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่มากแต่อาจกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อได้สูง

จากรูปใน Exhibit 1a จะเห็นว่าเราได้มีการปรับลดคาดการณ์ GDP สหรัฐในปี 2022 ลงจาก 4% เหลือ 3.9% โดยผลกระทบของ omicron ต่อ GDP นั้นอยู่ที่ 0.2% แต่ด้วยความต้องการซื้อสินค้าที่มีมากขึ้นจึงช่วยลดผลกระทบต่อการใช้จ่ายในภาคบริการที่ปรับลดลงได้ ซึ่งคาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงไตรมาสแรกของปีเท่านั้นและภาคบริการจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้หลังจากนี้

1a

สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปี 2022 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 2.8% เป็น 3.6% ซึ่งเป็นผลจากระบบ supply chains ที่ต้องหยุดชะงักจากการที่จีนใช้นโยบายคุมเข้มอย่าง “zero-COVID” ซึ่งทำให้เกิดการ lockdowns เพิ่มขึ้น

1b

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าในท้ายที่สุดปัญหาข้อจำกัดของระบบ supply chains จะถูกแก้ไขได้ ดังนั้นจึงมีการปรับลดอัตราเงินเฟ้อในปี 2023-2024 ลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้า โดยเฉพาะราคาสินค้าคงทนและรถยนต์ที่คาดว่าจะปรับขึ้นลดน้อยลงในอนาคต

หากเปรียบเทียบกับมุมมองของตลาดโดยรวมในแง่คาดการณ์การปรับขึ้นของราคาสินค้านั้น เรายังประเมินต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาด โดย consumer price index เราคาดว่าจะเพิ่มชึ้นเฉลี่ย 2.4%ในปี 2022-25 ขณะที่ตลาดโดยรวมคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.9% ขณะที่ GDP เรายังมองการเติบโตสูงกว่าตลาดโดยรวมอันเนื่องจากเรามองว่าปัญหาแรงงานจะกลับมาดีกว่าในช่วงก่อนเกิดโควิด

Omicron มีผลกระทบเพียงเล็กน้อยในช่วงสั้นๆเท่านั้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

แม้ว่าผลกระทบของ omicron จะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดดังรูปที่ Exhibit 2a แต่ด้วยความรุนแรงของโรคที่ต่ำจึงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะสั้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและไม่น่าจะกระทบต่อการกลับเข้าสู่ภาวะปกติของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกในระยะยาว

2a

รูปใน Exhibit 2b แสดงให้เห็นถึงจำนวนผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตใน South Africa ซึ่งเป็นจุดที่พบเชื้อดังกล่าวเป็นที่แรกในช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่ายอดผู้ติดเชื้อทำสถิติขึ้นระดับใหม่สูงสุดจากรอบก่อนหน้าขณะที่อัตราการเสียชีวิตกลับมีเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงระดับความรุนแรงของ  omicron ที่ลดลง (อัตราการเข้าโรงพยาบาลของคนในอังกฤษก็ต่ำเช่นกันเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ delta)

2b

แต่ความท้าทายก็ยังมีอยู่เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนเข็ม booster ของสหรัฐนั้นยังต่ำเพียง 23% เมื่อเทียบกับประเทศอังกฤษที่ฉีดเข็ม booster แล้วถึง 43% ซึ่งการศึกษาในอังกฤษพบว่าคนที่ยังไม่ได้ฉีดเข็ม booster นั้นผลของวัคซีนจะป้องกันการป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลได้ลดลง (แต่ยังคงป้องกันการเสียชีวิตได้) อย่างไรก็ดี ประชากรที่มีความเสียงสูงในสหรัฐที่ได้เข็ม booster แล้วโดยรวมถือว่ายังอยู่ในระดับสูงถึง 60% ของประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar