7 ภาพกับอัตราเงินเฟ้อที่ 7.5%

ความกดดันจากอัตราเงินเฟ้อขยายเป็นวงกว้างในช่วงเดือนมกราคมทำให้ตลาดมีความคาดหวังต่อนโยบายของ Fed มากขึ้น

Morningstar 11/02/2565
Facebook Twitter LinkedIn

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงทำให้แนวโน้มราคาสินค้ายังไม่มีทีท่าจะลดลงได้ นำไปสู่ความคาดหวังให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคมนี้

The Bureau of Labor Statistics ได้รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ 0.6% จากเดือนธันวาคม หรือเพิ่มขึ้น 7.5% จากปีที่แล้ว การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน รถยนต์มือสอง และอาหารเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ CPI เพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 40 ปี

 1

คุณ Preston Caldwell หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากมอร์นิ่งสตาร์ได้กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นมาตั้งแต่มีโรคระบาดนั้นมีเหตุมาจากสินค้าบางประเภท เช่น พลังงาน ยานพาหนะ และสินค้าคงทนอื่น และยังคงคาดว่าหากปัญหาห่วงโซ่อุปทานในสินค้าเหล่านั้นคลี่คลายลงจะช่วยให้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูงคลี่คลายลงได้ในอนาคต

2 

ตลาดคาดหวังสูงขึ้นว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย

จากรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทำให้ตลาดเริ่มมองว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น ตามท่าทีของธนาคารกลางที่จะต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ จากเดิมที่เน้นการพยุงเศรษฐกิจในช่วงการเกิดโรคระบาด

ตลาดตราสารหนี้ส่งสัญญาณว่ามีโอกาส 50% ที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในรอบการประชุม FOMC เดือนมีนาคมนี้ ซึ่งปรับขึ้นจากโอกาสที่ 25% ในช่วงก่อนการรายงานตัวเลข CPI และต่ำกว่า 10% ในช่วงต้นเดือนมกราคม จากภาพด้านล่างจะเห็นว่าเมื่อย้อนกลับไปช่วง 1 เดือนก่อนตลาดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้น 0.25% เป็นส่วนใหญ่ และหากมองย้อนไปถึงช่วงเดือนพฤศจิกายน นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยเลยจนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน

3 

แม้นักลงทุนจะคาดว่าเงินเฟ้ออาจเริ่มชะลอตัวลงได้ในปีนี้ ราคาตราสารหนี้มีการปรับตัวลงหลังจากการรายงานตัวเลข CPI ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปรับขึ้นไปที่ 2% หรือสูงสุดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2019 รวมถึงยีลด์ระยะสั้นก็ปรับขึ้นด้วย

 4

แรงกดดันเงินเฟ้อขยายวงกว้าง

จากรายงานเงินเฟ้อ คุณ Preston ได้พูดถึงแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ขยายเป็นวงกว้าง โดยข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ราคาของการให้บริการทางการแพทย์ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากเดือนก่อนหน้า 0.6%, บริการ cable/TV เพิ่มขึ้น 1.3%, บริการ personal care สูงขึ้น 1.2% หลายธุรกิจที่มักจะไม่ปรับราคาบ่อยได้มีการปรับขึ้นเมื่อต้นปี นับเป็นอีกส่วนที่ทำให้เงินเฟ้อปรับขึ้น ในแง่หนึ่งเป็นการบอกว่าในช่วงถัดจากนี้ราคาสินค้าและบริการจากธุรกิจเหล่านี้จะขึ้นได้น้อยลง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลว่าเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ เพราะแม้แต่สินค้าหรือบริการที่ไม่ค่อยขึ้นราคาได้มีการปรับตัวขึ้นมาด้วยแล้ว

5 

 แม้ว่าราคาที่ปรับขึ้นมาในสินค้าบางประเภทดูจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่หากเทียบกับเมื่อ 1 ปีก่อนจะพบว่าเป็นการปรับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะสินค้า/บริการที่กระทบกับเงินในกระเป๋าผู้บริโภคมากที่สุด

6 

คุณ Preston ได้นำ “excess inflation” มาใช้ในการเปรียบเทียบอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่เริ่มการระบาดของโควิดกับแนวโน้มก่อนเกิดการระบาด เพื่อช่วยให้เห็นว่ากลุ่มสินค้าใดเป็นส่วนให้เงินเฟ้อสูงในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ราคายานพาหนะที่ค่อนข้างทรงตัวมาหลายปีก่อนเกิดโรคระบาดแต่มีการปรับขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันราคาที่อยู่อาศัยมีการปรับขึ้นราว 3% ต่อปีในช่วงเริ่มต้นของโควิด ซึ่งต่ำกว่าแนวโน้มในช่วงก่อนเกิดโควิดเล็กน้อย โดย excess inflation ในเดือนมกราคมที่ 0.5% นั้นกว่าครึ่งมาจากสินค้ากลุ่มพลังงาน ยานพาหนะและของใช้ในครัวเรือน

7

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar