ตลาดหมีนำไปสู่ภาวะถดถอยหรือไม่

ตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มเข้าสู่ภาวะ Bear market แล้ว หลังจากปรับลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 22.5% ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 7 ของประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นสหรัฐ

Morningstar 20/06/2565
Facebook Twitter LinkedIn

ตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มเข้าสู่ภาวะ Bear market แล้ว (ตลาดปรับลงเกิน 20%) หลังจากปรับลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 22.5% ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 7 ของประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นสหรัฐที่เข้าสู่ภาวะดังกล่าว โดย 6 ครั้งก่อนหน้าที่เรียกได้ว่าเป็น Bear market ได้แก่ 1) Oil Shock, 1973-74     2) Volcker Squeeze, 1980-82     3) Black Monday, 1987     4) Technology-Stock Crash, 2000-02     5) Financial Crisis, 2007-09     6) Coronavirus Lockdown, 2020      ซึ่งประมาณ 5 ครั้งที่เกิด Bear market นั้นจะตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมา (ยกเว้นปี 1987)

อย่างไรก็ตามภาพในอดีตแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็อาจไม่ได้แย่มาก อย่างเช่นในช่วง Technology-Stock Crash นั้นเกิดขึ้นยาวนานเพียงแค่ 8 เดือนและเศรษฐกิจชะลอตัวเล็กน้อยโดย GDP ลดลงเพียง 0.3%  นอกจากนี้ ยังมีภาวะตลาดหุ้นในช่วงปี 1990, 1998, 2011 และปี 2018 ซึ่งไม่เข้านิยามของ Bear market (ตลาดปรับลดลงมากกว่า 18% แต่ไม่ถึง 20%) โดยช่วงดังกล่าวเกิดเศรษฐกิจถดถอยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

Bear market ปัจจัยชี้วัดย้อนหลัง

ปกติตลาดหุ้นจะเป็นปัจจัยชี้วัดล่วงหน้าถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต อย่างเช่นช่วงเมษายนปี 20 ที่มีความกังวลเพิ่มขึ้นต่อสถานการณ์ COVID แต่ตลาดหุ้นกลับปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากสะท้อนถึงกำไรของภาคธุรกิจที่จะกลับมาดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาพด้านล่างเป็นการแสดงให้เห็นว่าในอดีตนั้นการเริ่มต้นของ Bear market ได้เกิดขึ้นหลังจากที่ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปแล้ว Bear market จึงเป็นเหมือนปัจจัยชี้วัดย้อนหลัง เพราะโดยส่วนใหญ่ปัญหาเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อ Bear market เกิดขึ้น อย่างเช่นในปี 1974, 1982 และ 2008 ที่ภาวะเศรษฐกิจได้เกิดภาวะถดถอยก่อนที่ตลาดจะเกิด Bear market

1

สถานการณ์ปัจจุบัน

หลังจากที่ GDP สหรัฐในไตรมาสแรกของปีนี้ออกมาปรับลดลง 1.5% จากไตรมาสก่อนหน้าและหากยังมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องก็อาจสะท้อนได้ว่าเศรษฐกิจได้เกิดภาวะถดถอยไปแล้วก่อนที่จะเกิด Bear market  อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน หลายๆสำนักวิจัยได้คาดการณ์ว่า GDP สหรัฐในไตรมาส 2 นี้จะออกมาปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โดยปกติ Bear market จะเกิดขึ้นหลังจากที่อัตราการว่างงานได้เพิ่มขึ้นแล้วต่อเนื่องหลายเดือนติดต่อกันอย่างเช่นในช่วงเมษายน 1974 แต่เมื่อเทียบกับอัตราการว่างงานในปัจจุบันแล้วก็ดูเหมือนจะไม่เกิดอย่างเช่นในอดีต เพราะอัตราการว่างงานในปัจจุบันยังอยู่ใกล้เคียงระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี (หลังจากที่ก่อนหน้านี้ช่วงต้นปี 2020 ที่สถานการณ์ COVID ได้แย่ลงและทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงดังกล่าว)

2

ในขณะที่ปี 2022 นั้นเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นอาจเกิดขึ้นได้และมีโอกาสเป็นไปได้มากจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐในแต่ละครั้งจากนี้ ดังนั้นเมื่อเทียบจากเหตุการณ์ในอดีตแล้วภาวะที่เรียกว่า Bear market ในปัจจุบันอาจยังเป็นสัญญาณเตือนที่ยังไม่แน่ชัดเท่าใดนัก

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar