ผลตอบแทน Sustainable investing ไตรมาส 3-22

ราคาหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวกับ ESG หรือ Sustainable-investing ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับหุ้นอื่นๆทั่วไป แต่ในระยะยาวเชื่อว่าหุ้นในกลุ่มนี้จะยังคงแข่งขันได้กับภาพตลาดหุ้นโดยรวม

Morningstar 25/10/2565
Facebook Twitter LinkedIn

ในปี 2022 รวมถึงในไตรมาส 3 ราคาหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวกับ ESG หรือ Sustainable-investing ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับหุ้นอื่นๆทั่วไป แต่ในระยะยาวเชื่อว่าหุ้นในกลุ่มนี้จะยังคงแข่งขันได้กับภาพตลาดหุ้นโดยรวม ทั้งนี้ Morningstar US Sustainability Index ปรับลดลง 5.6% ในไตรมาสที่ผ่านมา นำโดยหุ้น Microsoft MSFT, Nvidia NVDA และ Verizon Communications VZ ซึ่งมากกว่า Morningstar US Market Index ที่ปรับลดลง 4.6% ขณะที่ทั้งปี US Sustainability Index ปรับลดลง 26.1% ขณะที่ Morningstar US Market Index ปรับลดลง 24.9%

1

2

Long-term performance ของ Sustainable-Investing

ที่ผ่านมาราคาหุ้นในกลุ่ม Sustainable-investing โดยเฉพาะกลุ่ม Technology ที่มีน้ำหนักของข้างมากในหมวดนี้มีการปรับขึ้นได้ดีกว่าตลาดหุ้นโดยรวมมาตลอด จนกระทั่งในปีนี้ที่ผลการดำเนินงานของ Sustainable-investing แย่กว่าตลาดหุ้นโดยรวมซึ่งเป็นผลมาจากหุ้นกลุ่ม Growth-stock ที่ปรับลงค่อนข้างมากในปีนี้

ทั้งนี้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา Performance ของ Sustainability Index ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยปีละ 8.7% โดย Morningstar US Sustainability Leaders Index (หุ้น large-cap 50 บริษัทของ US) ยังคงมี Performance ที่ดีและเอาชนะตลาดโดยรวม

3

Performance ไตรมาส 3 ของ Sustainable-Investing

ราคาหุ้นกลุ่ม Technology ปรับลดลงอย่างมากถึง 8.0% ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักค่อนข้างมากใน Sustainability Index (เนื่องจากมีคะแนน ESG ค่อนข้างมาก) จึงทำให้ Performance ของดัชนีติดลบ 2.1% จากหุ้นกลุ่ม Technology ขณะที่กลุ่ม Communication services มีน้ำหนักในดัชนี 6.9% และราคาติดลบ 13.1% ในไตรมาสดังกล่าว ส่งผลให้ดัชนีติดลบ 0.9% จากผลของกลุ่ม Communication services

4

นอกจากนี้การปรับขึ้นของราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน (ซึ่งมักจะไม่มีใน Sustainability Index หรือถ้ามีก็น้ำหนักน้อยมาก) ยังป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Performance ไตรมาส 3 ของ Sustainable-Investingแย่ไปด้วยเช่นกัน

5

หากดูเป็นรายหุ้นที่มีผลทำให้ Sustainability Index ปรับลดลงมาก จะพบว่าได้แก่หุ้น Microsoft ซึ่งมีน้ำหนักในดัชนีมาก และหุ้น Verizon ซึ่งราคาปรับลดลงมากแม้จะมีน้ำหนักในดัชนีน้อยก็ตาม

6

การลงทุนอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

กองทุนยั่งยืนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 5.9 หมื่นล้านบาท ลดลง 24.0% จากสิ้นปี 2021 และลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า มีเงินไหลเข้าสุทธิระดับ 80 ล้านบาท รวม 9 เดือนเป็นเงินไหลออกสุทธิ 637 ล้านบาท

7

กองทุน Bualuang Sustainable Investing Portfolio เป็นกองทุนที่มีเงินไหลเข้าสุทธิสะสม 9 เดือนมากที่สุดเกือบ 600 ล้านบาท ขณะที่กองทุน Thanachart Eastspring Global Green Energy A มีเงินไหลออกสะสมสูงสุด 1.6 พันล้านบาท ประกอบเป็นปีที่การลงทุนต่างประเทศให้ผลตอบแทนติดลบค่อนข้างมาก ทำให้กองทุนมีมูลค่าหดตัวลงราว 36% จากสิ้นปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามทั้ง 2 กองทุนได้ Morningstar Sustainability Rating ที่ 5 globeซึ่งหมายถึงความเสี่ยงด้านความยั่งยืนระดับต่ำสุด (ดีสุด) เมื่อเทียบกับการลงทุนลักษณะเดียวกัน

8

กองทุน Principal Global Clean Energy A หรือ PRINCIPAL GCLEAN-A มีผลตอบแทนสูงสุดในรอบ 3 เดือนที่ 11.0% และมี Morningstar Sustainability Rating ระดับ 4 globe หรือ Above Average กองทุนนี้ลงทุนใน iShares Global Clean Energy ETF USD Dist (INRG) โดยในช่วงไตรมาสที่ผ่านมามีปัจจัยสำคัญคือการผ่านกฎหมาย Inflation Reduction Act ที่สนับสนุนการใช้จ่ายและการลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับแผงโซลาร์ผ่านการให้เครดิตภาษีในครัวเรือน ทำให้ราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องมีการปรับตัวขึ้น ทั้งนี้กองทุน INRG มีสัดส่วนการลงทุนสูงสุด 10% ในบริษัท Enphase Energy (ENPH) ผู้ผลิต micro-inverters สำหรับแผงโซลาร์เซลล์

9

 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar