Rating มีผลต่อกระแสเงินลงทุนไหม

การจัดอันดับของ Morningstar ในการ Upgrade หรือ  Downgrade Rating ของกองทุนที่ผ่านมานั้น มีผลต่อกระแสเงินลงทุนในการลงทุนของนักลงทุนอย่างไร

Morningstar 04/10/2566
Facebook Twitter LinkedIn

การจัดอันดับของ Morningstar ในการ Upgrade หรือ  Downgrade Rating ของกองทุนที่ผ่านมานั้น มีผลต่อกระแสเงินลงทุนในการลงทุนของนักลงทุนเช่นกัน (จากผลการศึกษาข้อมูลที่ Morningstar เริ่มมีการจัดอันดับกองทุนตั้งแต่ปี 2011เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเงินลงทุนที่เข้าออกกองทุนกับผลการจัดอันดับ Rating กองทุน) อย่างไรก็ดียังไม่อาจสรุปได้ว่าการจัดอันดับกองทุนมีผลต่อเงินที่ลงทุนในกองทุนซะทีเดียว เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลเช่นกัน ได้แก่ ผลการดำเนินงานกองทุน และปัจจัยพื้นฐานต่างๆ

ความสัมพันธ์ของการจัดอันดับกองทุนและเงินลงทุน

ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังพบว่าหลังจากมีการ Upgrade กองทุน ก็ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ากองดังกล่าวมากขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกองอื่นๆ ขณะเดียวกันก็เกิดการไหลออกอย่างมากเช่นกันหากมีการ Downgrade กองทุนนั้นๆ

กองทุน Active และ Passive

ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงการจัดอันดับ Rating กองทุนนั้นมีผลต่อเงินลงทุนที่ไหลเข้าออกกองทุนแบบ Active ค่อนข้างมากกว่ากองทุนแบบ Passive

ทั้งนี้กองทุนแบบ Active ที่ถูกปรับเพิ่มอันดับนั้นมีเงินไหลเข้าเฉลี่ย 2 ล้านดอลลาร์ในเดือนแรก และไหลเข้าเฉลี่ยสะสม 13 ล้านดอลลาร์หลังจาก 6 เดือนแรก และ 46 ล้านดอลลาร์หลังจาก 12 เดือน และ 157 ล้านดอลลาร์ใน 36 เดือน ขณะที่การถูกปรับลดอันดับของกองทุนนั้นทำให้มีเงินไหลออกในเดือนแรก 20 ล้านดอลลาร์ 88 ล้านดอลลาร์ใน 6 เดือน  146 ล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือน และ 429 ล้านดอลลาร์ตลอด 36 เดือน ทำให้โดยรวมแล้วกองทุนแบบ Active มีการไหลออกของเงินในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่วนกอง Passive โดยรวมมีเงินไหลเข้าสุทธิต่อเนื่องมากกว่าทั้งในช่วงที่มีการ Upgrade หรือ  Downgrade

1

ทั้งนี้กอง Active มักมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยพื้นฐานที่บ่อยกว่ากองแบบ Passive โดยการเปลี่ยนแปลง Rating ของกองแบบ Passive ส่วนมากมาจากรายละเอียดปลีกย่อย เช่น การเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียม นอกจากนี้อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงตัว Benchmarks เพื่อหาตระกร้าหุ้นที่ลงทุนเพื่อดึดดูดเงินจากนักลงทุน นอกนั้นแล้วก็ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ขณะที่กองแบบ Active funds มักมีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนขึ้นมาในช่วงสั้นๆทำให้รูปแบบความเสี่ยงและผลตอบแทนของกองทุนนั้นเปลี่ยนแปลง

1

ประเภทกองทุน

การปรับเปลี่ยน Rating ของกองทุนต่อกองทุนประเภทต่างๆในกลุ่ม Active fund เช่น กองทุนตราสารทุน กองทุนตราสารหนี้ และ Allocation funds ก็พบว่ามีผลต่อเงินทุนที่ไหลเข้าออกอย่างมากเช่นกัน โดยกองทุนตราสารทุนจะมีผลของการไหลเข้าออกของเงินทุนมากในช่วง 1-36 เดือน กองทุนตราสารหนี้ก็เช่นกันแต่รูปแบบของเงินทุนที่ไหลจากการถูกลดอันดับเครดิตนั้นอาจไม่มากเท่ากองตราสารทุน และส่วนผลต่อ Allocation funds นั้นมีน้อยที่สุด นอกจากนี้ หากกองทุนถูกจัดอันดับและมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเข้าออกของ Gold, Silver, และ Bronze ratings จะพบว่าการ Upgrade ขึ้นจะมีผลต่อเงินทุนไหลเข้ากองหุ้นมากที่สุด รองลงมาเป็นกองตราสารหนี้ และน้อยที่สุดสำหรับ Allocation funds ส่วนการ Downgrade กองทุนลงมาจากอันดับก่อนหน้าเป็น Neutral หรือ Negative จะมีผลมากพอๆกันกับกองทุนทุกประเภท เนื่องจากมักเป็นการปรับลดจากการมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนผู้จัดการกองทุน เปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุน

เปรียบเทียบตัวชี้วัด

ผลกระทบของการจัดอันดับด้วย Morningstar Rating หรือ Star rating นั้นค่อนข้างมีมากต่อทิศทางกระแสเงินลงทุนมากกว่า Analyst Rating โดยการชี้วัดของ Morningstar Rating หรือ Star rating เป็นการวัดผลตอบแทนที่ปรับตามความเสี่ยงซึ่งสะท้อนถึงผลการดําเนินงานของกองทุนเมื่อเทียบกับคู่แข่งในช่วง 3 ปี 5 ปี และ 10 ปีย้อนหลัง ซึ่งจะมี Update ข้อมูลเป็นรายเดือน ทำให้การวัดผลงานมีประสิทธิภาพมากกว่า Analyst Rating เนื่องจากเชื่อว่าผลการดำเนินงานของกองทุนค่อนข้างมีผลต่อทิศทางเงินลงทุนค่อนข้างมาก นอกจากนี้ Star rating ยังมีความแพร่หลายที่มากกว่าด้วย ขณะที่ Analyst Rating เป็นการชี้วัดหาโอกาสของการลงทุนที่ดีกว่า

แนวทางสำหรับผู้ลงทุน

ข้อมูลในอดีตแสดงให้เห็นว่าไม่บ่อยครั้งที่การเคลื่อนไหวของเงินทุนจะมีจำนวนมากนักต่อการเปลี่ยนแปลงของ Rating ในแต่ละครั้ง ดังนั้นหากซื้อหลังจากที่ถูก Upgrade หรือขายหลังจากที่ถูก Downgrade ก็ไม่ได้แปลว่าจะได้ผลตอบแทนที่แย่ลงจากการที่คนส่วนใหญ่ก็จะทำในทิศทางเดียวกัน แต่อาจเจอปัญหาสภาพคล่องที่น้อยลงได้สำหรับหุ้นขนาดเล็กหรือตราสารหนี้ High-yield เพราะเกิดเงินทุนไหลออกจำนวนมากหลังเกิดการ Downgrade  

 

 

 

 

 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar  Morningstar