12 บทเรียนจาก Warren Buffett และ Charlie Munger

Charlie Munger ในวัย 99 ปีได้เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2023 ที่ผ่านมา เขาเป็นบุคคลที่ทำงานเคียงข้างอยู่กับ Warren Buffett ที่ Berkshire Hathaway 

Morningstar 08/12/2566
Facebook Twitter LinkedIn

Charlie Munger ในวัย 99 ปีได้เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2023 ที่ผ่านมา เขาเป็นบุคคลที่ทำงานเคียงข้างอยู่กับ Warren Buffett ที่ Berkshire Hathaway มาโดยตลอด และยังให้ความรู้แก่นักลงทุนอีกจำนวนมากเกี่ยวกับการลงทุนโดยอิงมูลค่าพื้นฐาน ทั้งนี้ทาง Morningstar ได้นำ 12 ข้อคิดที่ได้จากทั้ง Warren Buffett และ Charlie Munger มาให้แก่นักลงทุน ดังนี้

1. จงสงสัยหรือระแวงต่อเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ

ทั้ง Buffett และ Charlie Munger บริหาร Berkshire Hathaway โดยอาศัยเงินสดที่มีเป็นส่วนใหญ่และมีการกู้ยืมมาลงทุนเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก และเขาทั้ง 2 มักมีความเห็นที่ขัดแย้งต่อเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆที่เกิดขึ้น การลงทุนด้วยวิธีแบบธรรมดานั้นดีที่สุดและยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่าด้วย

2. เงินเฟ้อเป็นอีกปัจจัยสำหรับเลือกลงทุนในบริษัทที่ดี

ที่ผ่านมากว่า 40 ปีนั้นเราอาจไม่ได้ให้ความสนใจต่ออัตราเงินเฟ้อเรยจนกระทั้งถึงปีที่แล้วที่เราให้น้ำหนักกับมันมากขึ้น อย่างไรก็ดีเงินเฟ้อกลับเป็นสิ่งที่ Warren Buffett มักพูดถึงอยู่เสมอโดยเฉพาะในช่วงปี  1970s และ 1980s โดยเน้นย้ำถึงการที่บริษัทต้องเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อต่อต้นทุนกิจการและการพยายามสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีบริษัทจำนวนไม่มากที่จะสามารถขึ้นราคาท่ามกลางอำนาจการซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง จึงเป็นช่วงที่ดีที่เราจะกลับมาอ่านแนวคิดนี้ของ Warren Buffett อีกครั้งเนื่องจากเราอยู่ในช่วงที่เงินเฟ้อกลับมาสูงอีกครั้ง

3. ความผันผวนไม่ใช่ความเสี่ยง

ในโลกทางการเงินมักใช้ค่าความผันผวนเป็นตัวแทนของความเสี่ยงเนื่องจากเป็นสิ่งที่วัดได้ง่าย ผลที่ได้คือสินทรัพย์นั้นๆจะยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากราคาปรับลงมามากๆ แต่ในทางตรงกันข้ามนักลงทุนที่มีเหตุผลมากพอกลับมองว่าราคาที่ปรับลงมามากเป็นจุดที่น่าเข้าซื้อ ทั้งนี้ Warren Buffett และ Charlie Munger มักจะให้ความสำคัญต่อความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ความเสี่ยงของการลงทุนคือโอกาสที่จะสูญเสียเงินจากการลงทุน หรือความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ที่อาจทำให้ระบบการเงินเกิดความเสียหาย รวมไปถึงความเสี่ยงจากสงคราม เป็นต้น ดังนั้นนักลงทุนจึงควรคาดการณ์ถึงความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นและหาทางรองรับความเสียหายให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

4. ความซื่อสัตย์เป็นเรื่องง่ายที่จะทำ

Warren Buffett เคยพูดกับพนักงานที่ Salomon Brothers หลังจากที่เขาได้เข้าไปบริหารงานในปี 1991 ว่าหากต้องเสียเงินให้กับบริษัทยังเป็นสิ่งที่เขารับได้ แต่หากต้องเสียชื่อเสียงเป็นเรื่องที่เขารับไม่ได้

5.คณะกรรมการไม่ได้มีบทบาทมากพอ

แม้กรรมการกองทุนจะมีบทบาทที่สำคัญในการปกป้องผลประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหน่วยในกองทุน แต่โดยปกติก็มักจะไม่แสดงความต่อต้านหรือขัดแย้งต่อผู้จัดการกองทุน เช่นเดียวกันกับบทบาทของกรรมการบริษัทซึ่ง Warren Buffett เชื่อว่าพวกเขามีหน้าที่เพียงอนุมัติตามสิ่งที่เหล่าผู้บริหารเสนอมาเท่านั้น ดังนั้นจึงอย่าได้คาดหวังต่อพวกเขามาก แต่สิ่งสําคัญที่สุดคือทีมผู้บริหารและพนักงานคนอื่นๆที่มีความซื่อสัตย์สุจริตต่างหากที่สำคัญ

6.บางครั้งการไม่ทำอะไรเรยเป็นสิ่งที่ดีในการลงทุน

Warren Buffett เคยเปรียบเทียบการลงทุนกับการเล่น Baseball ว่าการลงทุนเปรียบเสมือนการเล่น Baseball ที่ต้องรอคอยจังหวะที่ดีก่อนที่จะตีลูก Baseball ออกไปซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของเกมส์ ซึ่งในความเป็นจริงของการลงทุนนั้นเราสามารถซื้อขายได้บ่อยตามที่ต้องการเมื่อไหร่ก็ได้ แต่จริงๆแล้วควรจะอดทนรอคอยให้ตลาดปรับลงมาก่อนและค่อยเข้าซื้อในช่วงที่ราคาหุ้นนั้นต่ำจนน่าดึงดูดให้ลงทุน

7. จงเรียนรู้อยู่เสมอ

ทั้ง Warren Buffett และ Charlie Munger ชอบการเรียนรู้และอ่านหนังสือตลอดเวลา โดยเฉพาะ Munger ที่ชอบเรื่องของวิทยาศาสตร์และวิวัฒนาการ ตัวอย่างหนังสือที่เขาชื่นชอบเช่น The Psychology of Persuasion โดย Robert Cialdini, The Selfish Gene โดย Richard Dawkins และ Guns, Germs, and Steel โดย Jared Diamond

8. ตลาดหุ้นไม่สมบูรณ์แบบ

หากนักลงทุนได้เรียนรู้และอ่านหนังสือที่ทั้ง 2 ท่านแนะนำ จะเข้าใจว่าทำไมตลาดถึงไม่สมบูรณ์แบบและทำไมนักลงทุนจึงลงทุนในช่วงที่ตลาดปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างเช่นเหตุการณ์ฟองสบู่ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นในอดีตที่ราคาหุ้นปรับขึ้นต่อเนื่องและนักลงทุนก็ยังซื้อหุ้นในตลาดแม้ว่าระดับ  PE ในช่วงนั้นจะขึ้นไปอยู่ที่ 80-90 เท่าก็ตาม แต่ก็จะยังเห็นคำแนะนำให้นักลงทุนในตลาดแบ่งเงินลงทุนในสัดส่วน 30%-40% ของ portfolio ไปลงทุน

9. กองทุนที่ล้อตามดัชนีเป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักลงทุน

จากหัวข้อก่อนหน้าที่กล่าวว่าตลาดไม่สมบูรณ์แบบนั้น แท้ที่จริงอาจไม่ใช่ และนักลงทุนก็อาจไม่สามารถลงทุนให้ชนะตลาดได้ และแม้ Warren Buffett จะเป็นนักลงทุนที่ค่อนข้างกระตือรือร้นในการลงทุน ก็ยังยกย่องกองทุนดัชนีว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดสําหรับนักลงทุนในการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่ง Warren Buffett แสดงให้เห็นว่าการลงทุนสามารถที่จะเป็นได้ทั้งแบบ Active และ Passive ไม่ใช่แค่ทางใดทางหนึ่ง

10. ไม่มีวิธีลงทุนที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็น “Value” หรือ “Growth”

สิ่งที่ Charlie Munger ช่วยแนะนำการลงทุนให้แก่ Warren Buffett นั้นมากไปกว่าหลักการลงทุนของ Ben Graham (ที่เน้นการลงทุนแบบเน้นมูลค่าพื้นฐานเพียงอย่างเดียว แม้ว่าราคาหุ้นของบริษัทนั้นๆจะเพิ่มสูงขึ้นมามากแต่ถ้าเป็นบริษัทที่ดีก็ยังลงทุนก็ตาม) โดยสิ่งที่มากกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการก็คือแนวโน้มการเติบโตในอนาคตที่เกิดขึ้นได้จริง ดังนั้นการวิเคราะห์หุ้นจึงไม่ควรแยกระหว่างการดูมูลค่าที่แท้จริงกับการเติบโตในอนาคตออกจากกัน

11. ความหมายของการโชคดีที่ได้เกิดมา

Warren Buffett เคยพูดว่าโชคดีที่ได้เกิดในสหรัฐและอยู่ในช่วงยุคปัจจุบันที่เขาเป็นอยู่ หากเขาไปเกิดในสถานที่อื่นและในยุคอื่นๆ พรสววรค์และความสามารถในการลงทุนที่เขามีก็อาจไม่มีประโยชน์ก็ได้ นับเป็นแง่คิดให้กับพวกเราได้ว่าโชคชะตาเป็นบทบาทที่สำคัญของชีวิตเรา

12. หัวใจของความสุข

ความสุขของการแต่งงานไม่ได้มาจากการมีคู่แต่งงานที่งดงามหรือมีลูกที่ฉลาดเฉลียว แท้จริงแล้วความสุขของชีวิตคู่คือการที่เรามีใครซักคนที่ไม่คาดหวังสูงจนเกินไป ความคาดหวังต่ำจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดจะได้ไม่เสียใจเมื่อเกิดความผิดพลาดหรือล้มเหลว

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar  Morningstar