8 Charts สำหรับนักลงทุน

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ราคาหุ้นขนาดใหญ่หรือกลุ่ม Large-cap ในสหรัฐนั้นปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% ตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็น Growth stocks ที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นมาเกือบ 36%

Morningstar 18/12/2566
Facebook Twitter LinkedIn

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ราคาหุ้นขนาดใหญ่หรือกลุ่ม Large-cap ในสหรัฐนั้นปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% ตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็น Growth stocks ที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นมาเกือบ 36%

1

และหากมองย้อนไปเฉลี่ยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Large-cap โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็น Growth stocks ก็ยังคงให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นที่สุด

1

แต่หากมองย้อนหลังไปถึง 20 ปีก่อนหน้า จะพบว่าผลตอบแทนในตลาดนั้นไม่เหมือนกับที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ผลตอบแทนในแต่ละประเภทของตราสารทุนเริ่มมีความใกล้เคียงและเปรียบเทียบกันได้มากขึ้น

1

ดังนั้นหากดูแค่เฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งอาจพบว่าผลตอบแทนที่ดีเกิดจากแค่บางประเภทสินทรัพย์ แต่ถ้าเรามองให้ยาวนานมากขึ้นจะพบว่าในแต่ละช่วงเวลาแต่ละสินทรัพย์ก็ให้ผลตอบแทนที่มากน้อยแตกต่างกันไป การกระจายการลงทุนจึงยังเป็นสิ่งที่ดีและเหมาะสม

หุ้นขนาดเล็กหรือกลุ่ม Small caps

หากพูดถึงปัจจัยขับเคลื่อนราคาหุ้น อาจเคยได้ยินว่าในระยะสั้นนั้นเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ขณะที่ระยะกลางถูกขับเคลื่อนจากมูลค่าที่แท้จริง และระยะยาวราคาหุ้นถูกขับเคลื่อนจากกำไรของบริษัท ซึ่งในความเป็นจริงนั้นมูลค่าพื้นฐานของบริษัทเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่นักลงทุนสามารถคำนวณหามูลค่าเพื่อใช้กำหนดราคาซื้อขายหุ้นได้ และมูลค่าของหุ้นขนาดเล็กมักสะท้อนจากผลประกอบการที่คาดว่าบริษัทจะประสบความสำเร็จในอนาคต ส่งผลให้ราคาของหุ้นกลุ่มนี้ค่อนข้างแพงโดยเปรียบเทียบ

1

อย่างไรก็ดี บริษัทขนาดใหญ่ยังมีอิทธิพลหรือมีมูลค่าตลาดในสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับมูลค่าของตลาดหุ้นโดยรวม อย่างเช่น Apple และ Microsoft ขณะที่ตั้งแต่ปี 1930 หุ้นขนาดเล็กก็ยังมีน้ำหนักที่น้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าของทั้งตลาดโดยรวม

1

ด้านผลประกอบการพบว่ากว่า 40% ของหุ้นในบริษัทขนาดเล็กยังมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุน และผลการดำเนินงานยังผันผวนไปตามภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างมาก และยังมีสัดส่วนหนี้ที่สูงกว่าบริษัทขนาดใหญ่อีกด้วยซึ่งทำให้มูลค่าของกิจการถูกลดทอนโดยเฉพาะในช่วงที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น นอกจากนี้ส่วนใหญ่เกือบ 49% ของหนี้ในบริษัทขนาดเล็กยังอิงอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวอีกด้วย ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่มีสัดส่วนเพียง 10% เท่านั้นที่หนี้อ้างอิงดอกเบี้ยลอยตัว

1ทั้งนี้หากบริษัทขนาดเล็กเหล่านี้มีภาระดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นตามภาวะดอกเบี้ยในตลาด ความสามารถในการแข่งขันก็จะลดต่ำลง ทำให้ที่ผ่านมานักลงทุนให้ความสนใจบริษัทขนาดเล็กไม่มาก อย่างไรก็ดีแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยได้เพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วและคาดว่าจะปรับลดลงในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าอีกด้วย ทำให้คาดว่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นขนาดเล็กให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้

1

ภาวะเงินฝืด

อัตราเงินเฟ้อเป็นประเด็นที่ทั่วโลกได้ต่อสู้และพูดถึงมาโดยตลอด ซึ่งหลังจากอัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ประมาณ 9% ในช่วงกลางปี 2022 แนวโน้มของเงินเฟ้อก็ทยอยปรับลดลงเรื่อยมาจนปัจจุบันอยู่แถวระดับ 3% และยังมีบางความเห็นจากผู้ประกอบการบางรายอย่างเช่น Wal-Mart, Home Depot และ Deere ที่บ่งชี้ว่าเราอาจเข้าสู่ยุคที่เป็นเงินฝืดแล้วก็เป็นได้

ผู้บริโภคในสหรัฐ

จากผลการสำรวจของ Deloitte สำหรับการใช้จ่ายในช่วงวันหยุดยาวที่จะมาถึงนี้ของชาวอเมริกาพบว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14% จากปีที่แล้ว หรืออยู่ที่ประมาณ 1,600 เหรียญสหรัฐ และแม้ว่าจะเป็นเพียงการสำรวจความคิดเห็นแต่ก็ดูได้จากตัวเลขการใช้จ่ายล่าสุดในช่วง Black Friday และ Cyber Monday ที่ผ่านมาซึ่งทำให้เห็นว่าการบริโภคและแรงจับจ่ายนั้นยังแข็งแกร่ง ซึ่งไม่ได้เป็นผลจากราคาสินค้าที่ปรับขึ้นเท่านั้นแต่ความต้องการก็เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ตัวเลขการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล Thanksgiving ก็ยังคงสูงขึ้นอย่างมากอีกเช่นกัน

1

เหตุผลหนึ่งที่ชาวอเมริกายังมีการใช้จ่ายที่แข็งแกร่งนั้นอาจเป็นเพราะว่าเกือบ 90% ของหนี้ครัวเรือนในสหรัฐอิงอัตราดอกเบี้ยจ่ายแบบคงที่ ขณะที่ก่อนหน้านี้เราเคยได้ยินกันว่าผูบริโภคในสหรัฐกำลังถูกกระทบจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน ดอกเบี้ยซื้อรถยนต์ และดอกเบี้ยบัตรครดิตที่เพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งโดยรวมแล้วผู้บริโภคที่ถูกกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ขณะที่ชาวอเมริกาส่วนใหญ่ยังอ้างอิงดอกเบี้ยจ่ายแบบคงที่นั่นเอง สอดคล้องกับภาพในระยะยาวที่เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงเติบโตได้อย่างมั่นคง และการจ้างงานที่ยังแข็งแกร่ง

 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar  Morningstar