Morningstar มีหลักการวัดและประเมินหุ้นอย่างไร

Morningstar ใช้หลักการวิเคราะห์หุ้น และให้เรตติ้งหุ้นอย่างไรบ้าง ลองมาฟังบทสัมภาษณ์คุณ David Sekera นักกลยุทธ์จากมอร์นิ่งสตาร์กันค่ะ

Morningstar 23/05/2567
Facebook Twitter LinkedIn

1

Morningstar ใช้หลักการวิเคราะห์หุ้น และให้เรตติ้งหุ้นอย่างไรบ้าง ลองมาฟังบทสัมภาษณ์คุณ David Sekera นักกลยุทธ์จากมอร์นิ่งสตาร์กันค่ะ

Susan Dziubinski: ในขณะที่ Morningstar ได้ครบรอบการจัดตั้งมา 40 ปีแล้ว นับเป็นโอกาสที่ดีในการที่เราจะมาดูกันว่าทาง Morningstar มีแนวทางในการประเมินการลงทุนในหุ้นอย่างไรบ้าง และมีความแตกต่างจากการวิเคราะห์ของบริษัทอื่นๆอย่างไร?

David Sekera: สิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากคนอื่นคือการให้ความสำคัญต่อการลงทุนระยะยาว ซึ่งเราเชื่อว่าการให้เวลากับการลงทุนในระยะยาวจะสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าการพยายามจับจังหวะตลาดและซื้อขายทำกำไรในช่วงสั้น อย่างไรก็ดีไม่ได้บอกว่าการซื้อขายทำกำไรในช่วงสั้นนั้นไม่ดีแต่ส่วนตัวผมไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อปัจจัยชี้วัดทางเทคนิคพื้นฐานเหล่านี้อยู่แล้ว

สิ่งที่เราให้ความสำคัญคือการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นในระยะยาว และหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเข้าลงทุนโดยต้องมีส่วนต่างของราคาซื้อขายในตลาดกับมูลค่าพื้นฐานที่มากพอ จากนั้นก็ถือรอจนกว่านักลงทุนในตลาดจะเห็นมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทและขับเคลื่อนราคาในตลาดให้สูงขึ้นเอง อื่นๆนอกเหนือจากนี้เรายังมีหน้าที่ช่วยกรองข้อมูลข่าวสารหรือปัจจัยต่างๆที่คิดว่ามีผลต่อมูลค่าของบริษัทนั้นจริงๆให้กับนักลงทุนออกจากข่าวหรือประเด็นอื่นๆที่อาจจะน่าสนใจแต่จริงๆแล้วไม่ได้มีผลต่อมูลค่ากิจการมากนัก โดยสรุปแล้วงานวิเคราะห์ของเราจึงเน้นที่การประเมินมูลค่าพื้นฐานเพื่อหาบริษัทที่น่าลงทุน (Bottom up) ในยะยะยาว ผ่านการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันที่ควรจะเป็นจากกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

Dziubinski: ถ้าอย่างนั้นลองอธิบายเพิ่มเติมถึงตัวชี้วัดบริษัทต่างๆของ Morningstar อย่างเช่น Economic Moat Rating ว่าคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร?

Sekera: ความจริง Economic Moat Rating อาจจะคล้ายกับแนวคิดการวิเคราะห์ของ Warren Buffett, Graham และ Dodd คือดูว่าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันระยะยาวหรือไม่ และสามารถสร้างอัตรากำไรจากเงินลงทุนที่เหนือกว่าคู่แข่งได้นานเท่าไหร่

แน่นอนว่ายิ่งบริษัทสร้างผลตอบแทนได้เหนือกว่าคู่แข่งได้นานเท่าไหร่มูลค่าของบริษัทก็มากขึ้นเท่านั้น ส่วนในระยะยาวเชื่อว่าความสามารถในการแข่งขันของบริษัทก็เป็นสิ่งที่ช่วยปกป้องมูลค่าของกิจการจากความเสี่ยงขาลงให้กับบริษัทได้ เช่นหากเราอยู่ในสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยบริษัทที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขันก็อาจจะล้มหายหรือต้องปิดกิจการลงในช่วงดังกล่าว

Dziubinski: ในการคำนวณหามูลค่าที่เหมาะสมสำหรับบริษัทนั้นมีวิธีการคำนวณอย่างไร และบ่งบอกอะไรให้กับนักลงทุนได้บ้าง?

Sekera:  เราคำนวณจากการคิดลดมูลค่ากระแสเงินสดในอนาคต โดยที่ทีมนักวิเคราะห์จะต้องทำการคาดการณ์รายได้และอัตรากำไรที่บริษัทจะทำได้ในอนาคต เพื่อประเมินหากระแสเงินสดที่บริษัทจะสร้างขึ้นได้ในแต่ละปีจากนั้นจึงคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าที่แท้จริงของกิจการในปัจจุบันว่ามีมูลค่าเท่าไหร่

อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์บางแห่งอาจใช้วิธีอื่นในการประเมิน เช่น ดู P/E ratios ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่าการดู P/E ratios ไม่ได้เป็นการบ่งบอกที่ดีได้เท่าไหร่ P/E ratios อาจไม่ได้เป็นการสะท้อนภาพรวมทั้งหมดของกิจการหรือสะท้อนว่าเราอยู่ช่วงไหนของวัฐจักรอุตสาหกรรม และไม่ได้คำนึงถึงการเติบโตที่บริษัทจะสร้างได้ในอนาคตรวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการสร้างการเติบโต ดังนั้นแล้ว P/E ratios อาจใช้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบมูลค่าของกิจการด้วยกันมากกว่าการนำมาใช้เพื่อหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ

Dziubinski: แล้วกรณีของ Morningstar Uncertainty Rating มีความสำคัญอย่างไรต่อการประเมินมูลค่ากระแสเงินสดและมูลค่ากิจการ?

Sekera: Uncertainty Rating เป็นตัวชี้วัดความแน่นอนของกระแสเงินสดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตของบริษัท เช่น บริษัทในกลุ่ม Utility อาจมีช่วงเวลาที่ธุรกิจผันผวนได้ในช่วงสั้นๆ แต่ในระยะยาวยังนับว่าเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้และกำไรได้อย่างมั่นคง

ขณะที่บริษัทในกลุ่ม Mining วัฐจักรของธุรกิจอาจมีความผันผวนที่สูงเป็นระยะเวลายาวนานได้โดยขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าว หรือหุ้นกลุ่ม Technology ในช่วงที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆก็อาจสร้างรายได้ที่เติบโตได้สูงมากเป็นเวลาหลายปีจนกระทั่งเมื่อมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาหรือมีเทคโนโลยีใหม่มาทดแทนก็จะทำให้รายได้และขนาดกิจการหดตัวลงได้เช่นกัน การลงทุนในบริษัทประเภทนี้จึงต้องมีส่วนต่างของราคากับมูลค่าที่แท้จริงที่มากพอก่อนที่จะเข้าลงทุน

Dziubinski: Morningstar Rating สำหรับหุ้นนั้นบ่งบอกอะไรได้บ้าง?

Sekera: เรามีการจัดอันดับตั้งแต่ 1-5 ดาว เพื่อสะท้อนว่าราคาหุ้นในปัจจุบันนั้นอยู่สูงหรือต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Overvalue หรือ Undervalue) มากน้อยแค่ไหน? ถ้าได้ 1 ดาวแปลว่า Overvalue มาก และ 5 ดาวแปลว่า Undervalue มากเช่นกัน ซึ่งการประเมินตาม Star ratings นี้เราได้ประเมินร่วมกับ Uncertainty Rating ด้วย

ดังนั้นหากเราจะแนะนำให้ลงทุนในหุ้นที่มีความไม่แน่นอนของธุรกิจที่สูงก็ควรจะต้องเป็นหุ้นที่มีส่วนต่างของราคากับมูลค่าที่แท้จริงที่มากด้วย (Margin of safety) และในทางกลับกันหุ้นที่มีความไม่แน่นอนของธุรกิจสูงก็มีโอกาสที่ส่วนต่างราคาหุ้นจะมากกว่ามูลค่าที่แท้จริงได้มากด้วยเช่นกันซึ่งเราอาจรอให้ส่วนต่างเพิ่มขึ้นมากได้ในระดับหนึ่งก่อนที่เราจะแนะนำให้ขายหุ้นเพื่อทำกำไร

หุ้นที่ได้ 5 ดาว คือหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงได้มากกว่าค่าเฉลี่ย และหุ้นที่ได้ 1 ดาวก็มีโอกาสสูงที่จะให้ผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงได้น้อยกว่าค่าเฉลี่ย

Dziubinski: แปลว่าหุ้นที่ได้ 4-5 ดาวเท่านั้นที่ควรลงทุนใช่หรือไม่? และตอนนี้ลงทุนได้เรยใช่ไหม?

Sekera: บางทีก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายขนาดนั้น เมื่อคิดถึงเรื่องลงทุนเราต้องดูสภาวะตลาดในขณะนั้นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ดูข่าวสารข้อมูลประกอบการลงทุนด้วย และเมื่อเราลงทุนในบริษัทที่ได้ 4-5 ดาวแต่เมื่อเวลาผ่านไปหากราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้นจน Rating เหลือ 1-2 ดาวเราก็ควรใช้จังหวะนี้ในการขายทำกำไรเช่นกัน ในมุมมองทางด้านพื้นฐานของหุ้นนั้นนักลงทุนจำเป็นต้องรู้ว่ามูลค่าที่แท้จริงคืออะไร และเมื่อมีปัจจัยเปลี่ยนแปลงก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนมูลค่าที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องด้วย

และแน่นอนว่าหากมูลค่าหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงนักลงทุนก็ควรที่จะตัดสินใจขายหรือซื้อลงทุนเพิ่มเติม เช่น หากปัจจัยที่ขับเคลื่อนหุ้นได้ส่งผลทำให้ราคาหุ้นขึ้นมาแล้วก็เป็นไปได้ที่ทำให้หุ้นนั้นๆถูกขายออกมาหลังจากที่ราคาได้สะท้อนจากประเด็นดังกล่าวแล้ว แต่หากประเด็นการลงทุนในระยะยาวของหุ้นนั้นๆยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นก็ถือเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะเข้าลงทุนในหุ้นดังกล่าวเพิ่มเติมในราคาที่ถูกลง หรือหากปัจจัยได้สะท้อนให้ราคาหุ้นปรับขึ้นมาจนส่วนต่างของมูลค่าที่แท้จริงกับราคาตลาดนั้นลดลงและราคาหุ้นก็ยังอยู่ในระดับสูง นักลงทุนก็ควรตัดสินใจขายทำกำไรจากหุ้นดังกล่าวเช่นกัน

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar  Morningstar