Awards Winner - LTF

Morningstar Awards 2017 ประเภทกองทุนหุ้นระยะยาว (Long-Term Equity Fund) ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวง หุ้นระยะยาว

Facebook Twitter LinkedIn

Awards

           

          กลับได้รับรางวัลอีกครั้งหนึ่งสำหรับกองทุนเปิดบัวหลวง หุ้นระยะยาว โดยในครั้งนี้ยังสามารถรักษาความโดดเด่นในเรื่องของการทำผลตอบแทนให้อยู่ในระดับสูงอยู่สม่ำเสมอโดยมีผลตอบแทน 5ปีย้อนหลังอยู่ที่ 14.46% ต่อปี และที่สำคัญคือการรักษามาตราฐานในเรื่องของความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ต่ำ โดยทีมผู้จัดการกองทุนมีจุดเด่นในเรื่องของการคัดเลือกหุ้น การมีวินัยในการลงทุน ถือหุ้นอย่างอดทนและเน้นการลงทุนระยะยาว

เราลองมาฟังมมุมองและเทคนิดในการลงทุนของผู้จัดการกองทุน กันดูครับ

คำถาม: ตลอดปี 2559 ที่ผ่านมานี้กองทุน Bualuang Long Term Equity ได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการลงทุนหรือไม่ อย่างไร? กรุณาช่วยยกตัวอย่างการลงทุน (หุ้นและหมวดอุตสาหกรรม) ที่โดดเด่นจนทำให้กองทุนประสบความสำเร็จในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา และในปัจจุบันนี้ ท่านมีมุมมองต่อการลงทุนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร?

คำตอบ: การลงทุนของเรายังคงยึดตาม Investment Theme หลักๆที่ผ่านมา เพราะเป็นการลงทุนระยะยาว จึงไม่ได้เปลี่ยนหุ้นที่เป็น Core Portfolio กันบ่อย ซึ่งที่ผ่านมา ให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มค้าปลีก เนื่องจาก เชื่อว่าเป็น Sector ที่เติบโตไปพร้อมๆกับภาพ Macro ของ ASEAN (การขยายตัวของชนชั้นกลาง กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของ Urbanization) ซึ่งในปี 2559 ที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มนี้ Outperform SET อย่างมาก (ปี 2559  SET +19.8%, Commerce +41%)

นอกจากนี้ กองทุนยังให้น้ำหนักลงทุนใน Energy sector (ปี 2559 Energy +38.4% )  เนื่องจากได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา

สำหรับมุมมองกลุ่มค้าปลีก บลจ.บัวหลวง เชื่อว่า ยังเติบโตไปได้ดี ด้วยปัจจัยตามที่กล่าวไปข้างต้นยังคงมีผลต่อเนื่อง ทั้งยังมีเรื่องของ E-commerce หรือ Online business ที่จะเข้ามาช่วยต่อยอดให้ภาคค้าปลีกใน ASEAN ให้ขยายตัวได้  สำหรับกลุ่ม Utilities และ Energy ปีนี้เราเน้นไปที่เรื่องของ Renewable Energy เนื่องจากเป็น Global Trend ในอนาคต แม้ในระยะสั้นจะมีประเด็นที่ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าบางประเภทไปบ้าง แต่จากความพยายามของทุกฝ่ายในการร่วมมือหาทางออก และความที่รัฐบาลยังสนับสนุนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพราะ เป็น 1 ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงคาดว่า ทุกอย่างน่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีในที่สุด 

คำถาม: ในปี 2560 นี้ท่านมีมุมมองต่อการลงทุนในกลุ่มหุ้นไทยโดยภาพรวมอย่างไร และท่านมองว่าโอกาสในการลงทุนและความเสี่ยงที่น่าจับตามองเป็นพิเศษอยู่ในกลุ่ม อุตสาหกรรมใดเป็นพิเศษ

คำตอบ: ตลาดหุ้นไทยโดยรวมปีนี้อาจไม่หวือหวามาก โดยปัจจัยที่ต้องติดตามมาจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ได้แก่ การขึ้นดอกเบี้ยของ FED และนโยบายทางการค้าใหม่ของ US ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางการค้าของภูมิภาคเอเชีย

โดยกลุ่มที่ยังมีความน่าสนใจตอนนี้ ได้สะท้อนผ่าน Theme การลงทุนของ บลจ.บัวหลวง นั่นคือ “ชีวิตสบายด้วยเทคโนโลยี ชีวิตดีด้วยพลังงานสะอาด” ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีโดยตรง  ธุรกิจที่มีการปรับใช้เทคโนโลยี หรือได้ประโยชน์ของการพัฒนาทางเทคโนโลยี ซึ่งช่วยเพิ่มขอบเขตในการทำธุรกิจและการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ รวมทั้งกลุ่มที่เทคโนโลยีใหม่ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจที่แตกต่างออกไปจากในอดีต เช่น Renewable  Energy เป็นต้น

คำถาม: การที่กองทุน Bualuang Long Term Equity เป็นกองทุน LTF ที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมและมีเงินไหลเข้ากองทุนอย่างต่อเนื่องมากตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้ ต่อเรื่องดังกล่าวนี้ถือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารกองทุนหรือไม่อย่างไร 

คำตอบ: นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ขนาด AUM ของเราโตมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี แสดงว่า  ลูกค้าให้ความไว้วางใจเราในการบริหารเงินทุนให้ลูกค้า ทั้งนี้ แนวทางการบริหารกองทุนของทีมจัดการลงทุน ยังคงเป็นรูปแบบเดิม โดยเรามีการเสริมทีมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อเพิ่ม Coverage ในการหาหุ้น เพราะด้วยขนาดกองทุนที่ใหญ่ขึ้น และนั่นเป็นเหตุผลของการที่ต้องมี  Process and Teamwork ที่ดี ในการเฟ้นหาหุ้นลงทุนเพื่อรองรับกับเงินที่เข้ามามากขึ้น

คำถาม: การที่กองทุน LTF มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการลงทุนจาก 5 ปีเป็น7 ปี นั้นส่งผลต่อแผนการลงทุนและการวางแผนรับมือกับการไหลเข้าออกของเงินลงทุนหรือไม่อย่างไร

คำตอบ: วัตถุประสงค์ของลูกค้าต่อกอง LTF ก็คือเป็นการลงทุนเพื่อประหยัดภาษี ซึ่งเป็นทางเลือกในการลงทุน  เมื่อเทียบกับ Product อื่นๆ เช่น ประกันชีวิต เป็นต้น เพราะนอกจากจะได้ประหยัดภาษีตามฐานภาษีของลูกค้าแล้ว ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนในการลงทุนอีกด้วย นอกจากนี้ ที่ผ่านมากองทุน LTF โดยทั่วไปให้ผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องในระยะยาว ถึงแม้จะมีความผันผวนบ้างในระหว่างทาง ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนเกิดการเรียนรู้ถึงประโยชน์ของการลงทุนระยะยาว ทั้งนี้ อาจมีนักลงทุนบางส่วนที่รู้สึกอึดอัดกับการลงทุนที่ไม่สามารถถอนเงินออกได้เป็นระยะเวลานานขึ้น และทยอยไถ่ถอนเงินออกเมื่อครบกำหนด แต่ด้วยขนาดกองทุนที่ใหญ่ ประกอบกับเรามีการเตรียมสภาพคล่องไว้อย่างเพียงพอ ณ ปัจจุบัน เรายังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าอย่างมีนัยยะ   

คำถาม: อะไรคือเทคนิคและจุดเด่นในการบริหารกองทุนที่สำคัญที่ทำให้กองทุน Bualuang Long Term Equity ยังคงสามารถรักษามาตราฐานของผลการดำเนินที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง

คำตอบ: ทุกกองทุนภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.บัวหลวง เรายึดหลักการเดียวกัน นั่นคือ ทีมจัดการลงทุนสามารถ มองหาแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อธุรกิจ สังคมหรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มากำหนดเป็น Investment Theme ได้ชัดเจน และสามารถหาหุ้นลงทุนที่ได้รับประโยชน์จาก Theme นั้นๆ ได้ ตัวอย่าง Theme ที่ผ่านมา เช่น Urbanization  Aging-Society เป็นต้น

สำหรับการเลือกหุ้นรายตัว ได้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์เชิงกว้างและเชิงลึก เพื่อให้มั่นใจว่า หุ้นที่ลงทุนนั้นมีศักยภาพการเติบโตสอดคล้องไปกับแนวโน้มที่กล่าวไปข้างต้น ความสามารถในการทำกำไรที่สม่ำเสมอ มีความได้เปรียบในการแข่งขัน มีทีมผู้บริหารที่เก่งและมีบรรษัทภิบาลที่ดี ประกอบกับมีส่วนต่างของราคาหุ้นปัจจุบันกับมูลค่าที่แท้จริง (Margin of safety)ที่สูง (ทำให้เราสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคา อันเนื่องมาจากความผันผวนของตลาด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาด)

เมื่อเราพบหุ้นที่มั่นใจที่จะลงทุนแล้ว เราจะให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด หรือ Overweight ในการลงทุน ส่งผลให้ได้ผลตอบแทนแบบเป็นน้ำเป็นเนื้อ นอกจากนี้ การที่เราถืออย่างอดทน ผ่านความผันผวนของตลาด ถือเป็นความได้เปรียบของการลงทุนระยะยาว

นอกจากนี้ การมีวินัยในการลงทุน เป็นสิ่งที่เรายึดถือมาตลอด หากหุ้นที่ลงทุนไม่เป็นไปตามทิศทางที่คาดไว้ ในแง่ของผลการดำเนินการทางธุรกิจ เราก็จะมีการปรับเปลี่ยนการลงทุนทันที

Good stock + Good Trade = Good performance

นอกจากนี้ การที่มี Teamwork ที่ดี ช่วยให้ทีมจัดการลงทุนสามารถหา Ideas ใหม่ๆ และ Share ideas ร่วมกัน ระหว่างผู้จัดการกองทุนและทีมนักวิเคราะห์

ทีมจัดการลงทุน เชื่อว่านี้คือ มาตรฐานการบริหารกองทุนที่ดี ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานของกองทุนโดยรวมดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละกองทุนอาจมีการลงทุนที่แตกต่างกันบ้างตามแต่ละนโยบายของกองที่แตกต่างกัน

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst