Best Fund House – Fixed Income

Morningstar Awards 2018 บริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยม ประเภทการลงทุนตราสารหนี้ภายในประเทศ (Domestic Fixed-Income Fund House) ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด มาฟังบทสัมภาษณ์จากทีมผู้จัดการกองทุนกันเลยครับ

Morningstar 20/03/2561
Facebook Twitter LinkedIn

Logo 2018

ครั้งแรกกับรางวัลบริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยมประเภทการลงทุนตราสารหนี้ในภายประเภท(Domestic Fixed- Income) โดย บลจ. ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด ถือเป็นอีกหนึ่ง บลจ. ที่มีความโดดเด่นในการบริหารกองทุนตราสารหนี้ทั้งกลุ่มระยะสั้นและระยะยาวโดยสามารถทำผลตอบแทนรวมได้ดี ปัจจัยสำคัญคือมุ่งเน้นวิเคราะห์เครดิตตราสารทุกตัวด้วนตนเอง  โดยมีการจัดทำ Internal Credit Scoring เพื่อติดตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงบลจ.ใส่ใจในเรื่องของ Team work ของเหล่าทีมผู้จัดการกองทุน การมีวินัยในการลงทุน กล้าตัดสินใจ รวมทั้งการประเมินสภาวะการลงทุนอย่างแม่นยำ รวมถึงปรัชญาที่เน้นนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการอย่างหลากหลาย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ บลจ. ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด ประสบความสำเร็จในครั้งนี้

ในวันนี้เราจะมารู้จักบลจ. ซีไอเอ็มบีให้ดียิ่งขึ้นผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษจากทีมผู้จัดการกองทุนกันครับ

คำถาม: มุมมองตลาดในปี 2018 ท่านมีความคิดเห็นว่าอย่างไร ตลาดไหนที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ท่านคิดว่าปัจจัยใดที่จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาด รวมถึงท่านมีวิธีการลดความเสี่ยงอย่างไร

คำตอบ: บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล เชื่อว่าสภาพคล่องที่ยังมีมากและความต้องการขอสินเชื่อกยังไม่เติบโตเท่าที่ควร จะทำให้อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับต่ำตลอดปี 2018 ในขณะที่ความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อและการปรับดอกเบี้ยของ FED ทำให้ดอกเบี้ยสหรัฐฯ อยู่ในภาวะขาขึ้น การที่ทิศทางดอกเบี้ยไม่ได้ไปด้วยกันนี้จะเพิ่มแรงกดดันต่อการเลือกใช้นโยบายการคงอัตราดอกเบี้ยของ กนง.  เพราะจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยมีความผันผวนได้มาก ทีมจัดการลงทุนจึงเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีช่วงอายุระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านราคาในจังหวะที่ดอกเบี้ยผันผวน รวมทั้งกระจายลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพดีเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนที่เหมาะสมให้กับกองทุน

คำถาม: โปรดระบุความเสี่ยงสำคัญที่จะมากระทบต่อตลาดการเงิน เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น   ท่านคิดว่าปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างไร

คำตอบ: นอกจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย การลด Balance Sheet ของ FED และการเร่งตัวของเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ อยู่ในภาวะขาขึ้น และมีความเสี่ยงที่พฤติกรรม Search for Yield ซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกได้ทำให้ credit spread ของหุ้นกู้เอกชนทั้งที่เป็น Investment Grade และ High Yield อยู่ในระดับต่ำมาก สะท้อนระดับ Valuation ที่แพงเกินไป ทีมจัดการลงทุนจึงเพิ่มความระมัดระวังการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนมากเป็นพิเศษ เพื่อลดทอนผลกระทบหาก credit spread ปรับเพิ่มขึ้น

คำถาม: ปัจจัยใดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บลจ.ของท่านสามารถสร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น และยั่งยืนในระยะยาว

คำตอบ: ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทีมบริหารการลงทุน-ตราสารหนี้ของ บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล สามารถสร้างผลงานโดดเด่นในระยะยาว ได้แก่

  • การมุ่งเน้นวิเคราะห์เครดิตตราสารทุกตัวด้วยตนเอง (Primary Research) เป็นหลัก ให้รายงานจากบริษัทจัดอันดับเครดิตเป็นเรื่องรอง
  • จัดทำ Internal Credit Scoring เพื่อติดตามฐานะการเงินของผู้ออกตราสารอย่างใกล้ชิด โดยทำงานร่วมกับทีมบริหารความเสี่ยง
  • มีความอดทน ความสม่ำเสมอ และการยึดมั่นในวินัยการลงทุนอย่างเคร่งครัด (Persistence, Consistency and Discipline)  เช่น หากทีมจัดการลงทุนมีความเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น ก็จะปรับอายุตราสารลงทุน  (Duration) ให้มีระยะสั้นลงเพื่อลดความเสี่ยงด้านราคา ซึ่งการปรับเพิ่มหรือลด Duration จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้บ่อย ดังนั้น จึงมีหลายครั้งที่ผลตอบแทนของกองทุนในระยะสั้นจะน้อยกว่ากองทุนอื่นๆที่มีนโยบายการลงทุนคล้ายกันหรือดัชนีอ้างอิง ทีมจัดการลงทุนจะเน้นในหลักการบริหาร เพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว

คำถาม: ทีมการลงทุนมีแผนที่จะพัฒนาจุดแข็งอย่างไร ในด้านไหนเป็นพิเศษ

คำตอบ: คาดว่าทิศทางในอนาคตคือ Wealth Advice for All ซึ่งเป็นการแนะนำพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าแบบองค์รวม โดยผู้จัดการกองทุนจะเป็นผู้จัดทำ Asset Allocation สำหรับ บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ได้มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรด้านการลงทุนให้มีทักษะและความชำนาญด้านการจัดสัดส่วนลงทุน หรือ Strategic Asset Allocation ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีทั้ง Knowledge Sharing ระหว่างเพื่อนร่วมทีม ไปจนถึงการส่งไปอบรมที่บริษัทแม่ คือ Principal Global Investors โดยทักษะที่อยู่ในแผนพัฒนาบุคลากรปี 2018 ได้แก่ การคำนวณ Performance Attribution, การจัดพอร์ตแบบ Core-Satellite, การบริหารพอร์ตแบบ Multi-asset, การจัดพอร์ตลงทุนแบบสมดุลตามอายุ (Target Date) เป็นต้น ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการสร้างเสริมบุคลากรของทีมจัดการลงทุนให้มีคุณภาพและสามารถที่จะเพิ่มการให้การบริการที่ครอบคลุมทั้งการบริหารกองทุนตรงและการจัดพอร์ตการลงทุนมั่งคั่งให้กับลูกค้าของเราได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar