แรงกดดันของเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

ก่อนที่จะมีความขัดแย้งของยูเครน-รัสเซีย สหรัฐก็เผชิญต่อแรงกดดันของเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงอยู่ และหลังจากที่มีสงครามเกิดขึ้นระหว่างยูเครน-รัสเซีย ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้น 

Morningstar 14/03/2565
Facebook Twitter LinkedIn

ก่อนที่จะมีความขัดแย้งของยูเครน-รัสเซีย สหรัฐก็เผชิญต่อแรงกดดันของเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงอยู่แล้วทั้งจากราคาอาหาร ราคาพลังงานและสินค้า Commodity ที่ปรับสูงขึ้นก่อนหน้านี้ และหลังจากที่มีสงครามเกิดขึ้นระหว่างยูเครน-รัสเซีย ประกอบกับเกิดปัญหา Supply chains ตามมา ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อจะลดลงในที่สุดจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาเรื่อง Supply chains และกำลังการผลิตพลังงานที่เพิ่มขึ้นตามมา

1

ทั้งนี้ Consumer Price Index ได้ปรับเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้น 7.9% ในช่วง 12 เดือนล่าสุด แต่หากไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน CPI เดือน ม.ค-ก.พ จะปรับเพิ่มขึ้น 0.6% และ 0.5% ตามลำดับ

2

ราคาอาหารและพลังงานเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมากในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่ราคายานพาหนะที่เคยปรับเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมาได้ปรับลดลงในรอบนี้ โดยราคายานพาหนะใหม่เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% และราคารถมือสองปรับลดลง 0.2% ในเดือนที่แล้ว

3

4

5

สำหรับแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาน้ำมันในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25% จากเดือนก่อนหน้า ส่งผลต่อสัดส่วนของพลังงานในการคำนวณ CPI ให้เพิ่มขึ้นประมาณ 10% จากเดือนก่อนและทำให้ Headline CPI ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% อย่างไรก็ดี คาดว่าราคาน้ำมันในช่วงที่เหลือของปีนี้จะค่อยๆปรับลดลงในภายหลัง

6

สำหรับปัญหาของ Supply chains ซึ่งส่งผลทำให้ราคาสินค้าหลายชนิดโดยเฉพาะยานพาหนะปรับเพิ่มขึ้นนั้นคาดว่าในท้ายที่สุดจะได้รับการแก้ไขและส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลง แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตอนนี้จะยังทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบ Supply chains อยู่และยังไม่รู้ว่าจะจบลงได้เมื่อไหร่ เนื่องจากทั้งรัสเซียและยูเครนนั้นเป็นผู้ส่งออก Neon และ Palladium รายใหญ่ของโลกซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตในภาค Semiconductor

ทั้งนี้รายงาน CPI จะออกมาช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่ความคาดหวังต่อทิศทางของเฟดต่ออัตราดอกเบี้ยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังเกิดการโจมตีของรัสเซียในยูเครน เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อผลที่เกิดขึ้นต่อราคาสินค้าจากระบบ Supply chains ที่ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้า โดยนักลงทุนในตลาดตราสารหนี้ได้คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% จากเดิมก่อนหน้าที่คาดไว้ 0.5%

7

Morningstar เชื่อว่าการตัดสินใจของเฟดน่าจะมองข้ามอัตราเงินเฟ้อที่เป็นผลจากภาวะสงครามในยูเครนออกไปก่อน ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจบ่งชี้ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า และคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 6-7 ครั้งในปีนี้ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของนักลงทุนในตลาดตราสารหนี้

8

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar