ภาพการลงทุนในสหรัฐช่วงไตรมาส 1-22

ในไตรมาสแรกนักลงทุนเริ่มย้ายเงินลงทุนออกจากกองตราสารหนี้หลังขาดทุนจากการที่แนวโน้มดอกเบี้ยขยับเพิ่มขึ้นและลงทุนในกองทุนประเภท Commodities และ Alternative funds มากขึ้น เพื่อกระจายการลงทุน

Morningstar 26/04/2565
Facebook Twitter LinkedIn

สภาพตลาดเงินในไตรมาสแรกที่มีสงครามความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน และการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ทำให้นักลงทุนเริ่มย้ายเงินลงทุนออกจากกองตราสารหนี้หลังขาดทุนจากการที่แนวโน้มดอกเบี้ยขยับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ด้วยราคาพลังงานและสินค้า Commodities ที่สูงขึ้นจากสงคราม ก็ทำให้นักลงทุนหันไปลงทุนในกองทุนประเภท Commodities และ Alternative funds มากขึ้น เพื่อกระจายการลงทุน

เงินลงทุนไหลเข้ากองหุ้นมากขึ้น

หลังจากที่เงินลงทุนไหลเข้ากองตราสารหนี้ในตลอดช่วง 7 ไตรมาสที่ผ่านมานั้น นักลงทุนได้เริ่มย้ายเงินออกจาก Bond funds ไปลงทุนในกองตราสารทุนมากขึ้นทั้ง U.S. equity funds และ International-equity fund แม้ว่าความผันผวนจะสูงขึ้นก็ตาม

1

กองประเภท Value เป็นที่นิยมมากกว่า Growth funds

หลังจากที่ผลการดำเนินงานของ Growth funds ออกมาไม่ค่อยดีนักทำให้นักลงทุนเริ่มย้ายเงินลงทุนไปอยู่กองที่เน้น Value stock มากขึ้น โดยในไตรมาสแรกเงินทุนไหลออกจากกองประเภท Large-growth (แบ่งตาม Morningstar category) ประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ขนาดมูลค่ารวมของกองประเภทดังกล่าวลดลงรวมกันประมาณ 1.19% และเงินยังไหลออกจากกลุ่ม Mid-cap growth category 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มูลค่ารวมลดลงรวมกัน 2.71% ทั้งนี้ กองทุนที่ได้รับเงินทุนไหลเข้ามาก ได้แก่ Vanguard Value Index VVIAX, Schwab U.S. Dividend Equity ETF SCHD, Vanguard High Dividend Yield Index VHYAX, Vanguard 500 Index VFIAX และ Fidelity 500 Index FXAIX

2

กองทุนประเภท Bank-Loan Funds เป็นที่สนใจของนักลงทุนมากขึ้น

แม้เงินลงทุนจะไหลออกจากกองตราสารหนี้โดยรวม แต่นักลงทุนยังคงมองหาการลงทุนในกองทุนที่เหมาะสำหรับช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้กอง Bank-loan funds (ผลตอบแทนอ้างอิง floating rates) รวมถึงกลุ่ม Long government-bond funds เป็นที่สนใจของนักลงทุนเพื่อทดแทนการลงทุนในกลุ่ม Inflation-protected bond fund ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ผันผวนในช่วงที่ผ่านมาตามการขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดและการคาดการณ์เงินเฟ้อของนักลงทุนที่เปลี่ยนแปลง สำหรับกองประเภท Bank-loan funds ที่เงินไหลเข้าจำนวนมาก ได้แก่ PGIM Floating Rate Income FRFAX, Fidelity Advisor Floating Rate High Income FFRAX และ SPDR Blackstone Senior Loan ETF SRLN

เงินลงทุนได้ไหลออกจากกองประเภท High yield อย่าง iShares iBoxx High Yield Corporate Bond ETF HYG, BlackRock High Yield Bond BHYIX นอกจากนี้เงินทุนยังไหลออกจากกองประเภท Short-term, Intermediate-core plus bond funds และ Municipal-bond funds อีกด้วย

3

การลงทุนใน International Funds

แม้ความขัดแย้งในรัสเซียยูเครนจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดโลกโดยรวม แต่นักลงทุนยังคงให้ความสนใจการลงทุนในกองต่างประเทศ อย่าง Emerging-markets funds เช่นกอง Vanguard Emerging Markets Stock Index VEMAX หรือการลงทุนในจีนอย่างกอง iShares MSCI China ETF MCHI และ Krane Shares CSI China Internet ETF KWEB ที่มีเงินไหลเข้าจำนวนมาก

4

การลงทุน Commodities และ Alternative Funds

หลังจากที่ราคาทองคำเพิ่มขึ้น 6.7% ในช่วงไตรมาสแรก ทำให้การลงทุนในกองทองคำอย่าง SPDR Gold Shares GLD เป็นที่สนใจของนักลงทุนมากขึ้น รวมถึงการลงทุนใน Commodities funds อื่นๆอย่างเช่น Invesco Optimum Yield Diversified Commodity Strategy No K-1 ETF PDBC และ First Trust Global Tactical Commodity Strategy FTGC นอกจากนี้การลงทุนในกองทุนประเภท Alternative funds ก็ยังเป็นที่น่าสนใจ อย่างเช่น Calamos Market Neutral Income CMNIX และ JPMorgan Hedged Equity 2 JHDAX

5

การลงทุนใน Sector-Equity Funds

หลังจากปีที่แล้วที่การลงทุนใน Sector funds โดยเฉพาะกลุ่ม Financial และ Real estate funds เป็นที่นิยมอย่างมากเมื่อเทียบกับปีนี้ก็ยังมีการลงทุนอยู่บ้างแต่ก็ได้รับความสนใจลดลง ขณะที่การลงทุนไหลออกจากกลุ่ม Technology sector (เช่นกอง First Trust Dow Jones Internet FDN และ Vanguard Information Technology Index VITAX) และไหลเข้าลงทุนใน Energy และ Natural-resources funds แทนมากขึ้น (กองที่ได้รับความสนใจมากได้แก่ First Trust Materials Alpha DEX FXZ, First Trust Energy AlphaDEX FXN, SPDR S&P Metals and Mining ETF XME และ SPDR S&P Oil & Gas Exploration & Production ETF XOP)

6

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar