สรุปภาพรวมกองทุนรวมไตรมาส 2-2022 (2)

ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาดัชนี SET Index มีแนวโน้มของการปรับตัวลง คิดเป็นผลตอบแทนรวม -6.8% ซึ่งการปรับตัวลงอาจมีส่วนให้นักลงทุนกลับมาสนใจกองทุนหุ้นไทยได้บ้าง เห็นได้จากเม็ดเงินที่มีทิศทางกลับเป็นไหลเข้าสุทธิหลังจากมีเงินไหลออกต่อเนื่องมากว่า 2 ปี

Morningstar 14/07/2565
Facebook Twitter LinkedIn

กองทุนหุ้นไทย (ไม่รวม LTF RMF SSF) - เริ่มมีเงินกลับเข้าลงทุนครั้งแรกในรอบ 2 ปี

ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาดัชนี SET Index มีแนวโน้มของการปรับตัวลงไปปิดที่ 1,568.33 จุด คิดเป็นผลตอบแทนรวม -6.8% หรือสะสมตั้งแต่ต้นปีที่ -3.8% ซึ่งการปรับตัวลงอาจมีส่วนให้นักลงทุนกลับมาสนใจกองทุนหุ้นไทยได้บ้าง เห็นได้จากเม็ดเงินที่มีทิศทางกลับเป็นไหลเข้าสุทธิหลังจากมีเงินไหลออกต่อเนื่องมากว่า 2 ปี  โดยในไตรมาสล่าสุดมีเงินไหลเข้าระดับ 800 ล้านบาท แต่รวมสะสมครึ่งปีแรกยังเป็นเงินไหลออกสุทธิ 3.1 พันล้านบาท มูลค่าทรัพย์สินลดลง 5.8% จากปลายปี 2021 ไปอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท

กองทุน SCB SET Index(Acc) มีเงินไหลเข้าสูงสุดในไตรมาสนี้ระดับ 7 ร้อยกว่าล้านบาท บลจ.ไทยพาณิชย์มีเงินไหลเข้าสุทธิรวมสูงสุดในรอบ 3 เดือนกว่า 8 ร้อยล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาดกองทุนหุ้นไทยอันดับที่ 1 ที่ 16.2% ในขณะที่บลจ.เอไอเอมีเงินไหลเข้าสุทธิสะสมครึ่งปีสูงสุด 1.4 พันล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดอันดับที่ 5 ที่ 10.6%

5

กองทุน SSF และกองทุน SSFX - มูลค่าทรัพย์สินสุทธิยังหดตัว แต่เงินไหลเข้าสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว

กองทุนเพื่อการออมมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง 7% จากสิ้นปี 2021 และหดตัว 6.1% จากไตรมาสแรกของปี ไปอยู่ที่ 3.7 หมื่นล้านบาท มีเงินไหลเข้าสุทธิ 1.5 พันล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ 1.3 พันล้านบาท ทำให้โดยรวมรอบครึ่งปีแรกยังมีเงินไหลเข้าสุทธิที่สูงกว่าปี 2021 แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนยังกดดันให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหดตัวลง

6

กลุ่ม Equity Large-Cap เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าการลงทุนแบบกองทุนเพื่อการออมมากที่สุดรวม 1.2 หมื่นล้านบาท ในช่วงครึ่งปีแรกกองทุนกลุ่มนี้ยังมีเงินไหลเข้าสุทธิ แต่อยู่ในช่วงผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบทั้ง 3 เดือนและครึ่งปี ทำให้มูลค่าทรัพย์สินหดตัวลง 0.7% จากสิ้นปีที่แล้ว

ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมากลุ่ม Global Equity มีผลตอบแทนติดลบต่อเนื่องและรุนแรงกว่าไตรมาสแรก โดยเฉลี่ย 6 สะสมเดือนอยู่ที่ -28.7% แม้ว่าจะมีเงินไหลเข้าสุทธิสะสม 6 เดือนระดับ 7 ร้อยล้านบาทก็ตาม แต่มูลค่าทรัพย์สินยังหดตัวลงไปอยู่ที่ 7.7 พันล้านบาท

ทางด้านกองทุนหุ้นจีนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงขึ้น 3.0% จากสิ้นปีที่แล้ว หรือ 12.7% จากไตรมาสแรก สะท้อนผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นจีนที่ดีกว่ากลุ่มอื่น ขณะที่มีเงินไหลเข้าสุทธิสะสมรอบครึ่งปีเป็นอันดับ 3 ด้วยมูลค่ารวมเกือบ 4 ร้อยล้านบาท

7

กองทุน LTF - เงินไหลออกสุทธิครึ่งปีแรก 2.2 หมื่นล้านบาท

 

กองทุน LTF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 3.3 แสนล้านบาท ลดลง 10.1% จากสิ้นปี 2021 หรือลดลง 6.8% จากไตรมาสแรก โดยในไตรมาสนี้มีเงินไหลออกสุทธิที่ค่อนข้างชะลอตัวลงรวม 5.1 พันล้านบาท รวมเงินไหลออกสุทธิรอบครึ่งปีแรก 2.2 หมื่นล้านบาท หรือมากกว่าเงินไหลออกสุทธิของทั้งปีที่แล้วที่ระดับ 1.9 หมื่นล้านบาท

 

สำหรับในช่วงครึ่งปีหลังนี้หากตลาดหุ้นไทยยังมีทิศทางปรับตัวลงก็อาจไม่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการขายกองทุน LTF ออกมามากนัก เนื่องจากในช่วงปลายปี 2016 ที่ SET Index อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1,500 จุดเล็กน้อย ซึ่งค่อนข้างใกล้เคียงกับระดับปัจจุบัน

8

 

9

กองทุน RMF - มูลค่าทรัพย์สินลดลง 6.4%

 

กองทุน RMF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 3.7 แสนล้านบาท ลดลง 6.4% จากสิ้นปี 2021 มีเงินไหลเข้าสุทธิ 1.8 พันล้านบาทในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา นำโดยกองทุนตราสารทุน 1.9 พันล้านบาท ในขณะที่กองทุนผสมและกองทุนตราสารหนี้มีเงินไหลออกสุทธิ ทำให้โดยรวมกองทุน RMF มีเงินไหลเข้าสุทธิในครึ่งปีแรกระดับ 2 ร้อยล้านบาท

เงินเข้ากองทุน RMF หุ้นจีนมากขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์

กลุ่มกองทุน RMF ที่มีเงินไหลเข้ามากที่สุดในไตรมาสที่ผ่านมานี้คือกองทุนหุ้นจีน ด้วยมูลค่ากว่า 900 ล้านบาท โดยในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นมาเริ่มมีเม็ดเงินเข้าลงทุนหุ้นจีนแบบเร่งตัวขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการเริ่มคลายล็อคดาวในประเทศจีน ทำให้เป็นกลุ่มที่มีเงินไหลเข้าสะสมสูงสุดในครึ่งปีแรกที่ 1.8 พันล้านบาท


Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar