กองทุนหุ้นจีนฟื้นตัวสูงรอบ 1 เดือน

ในรอบปีนี้กองทุนหุ้นจีนถือหนึ่งในกลุ่มที่มีความผันผวนและผลตอบแทนติดลบมากที่สุด แต่หลังจากเริ่มแนวทางผ่อนคลายมาตรการโควิดทำให้หุ้นจีนมีการฟื้นตัวได้ค่อนข้างสูงในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา

Morningstar 08/12/2565
Facebook Twitter LinkedIn

ในรอบปีนี้กองทุนหุ้นจีนถือหนึ่งในกลุ่มที่มีความผันผวนและผลตอบแทนติดลบมากที่สุด โดยในช่วงต้นปีผลตอบแทนติดลบ 15% โดยเฉลี่ย จากการ lockdown ในเซี่ยงไฮ้ และฟื้นตัวได้ช่วงไตรมาสที่ 2 จากการคลายล็อค ทำให้ผลตอบแทนเป็นบวกโดยเฉลี่ย 3% และกลับมาเป็นกลุ่มที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบมากที่สุดในไตรมาสที่ 3 ราว 20% จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมานโยบายโควิดเป็นศูนย์ถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลไปยังภาคการบริโภคและภาคอสังหาซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจจีนโดยรวม

1

แม้ว่าจีนจะยังเผชิญการระบาดของโควิด-19 แต่เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการที่เกี่ยวข้อง และได้มีการออกมาตรการเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องในกลุ่มอสังหามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ตลาดหุ้นจีนมีการฟื้นตัวขึ้นมา โดยดัชนี Morningstar China เป็นบวกที่ 8.4% นับตั้งแต่เข้าไตรมาสสุดท้ายของปี (ข้อมูล ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2022)

กองทุนหุ้นจีนมีเงินไหลเข้าสะสม 1.6 หมื่นล้านบาท

ในส่วนของกองทุนรวมหุ้นจีนนั้นแม้ว่าจะมีเงินไหลเข้าน้อยลงจากปี 2020-2021 อย่างมาก แต่ยังถือว่าเป็นกลุ่มกองทุนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทย เห็นได้จากเม็ดเงินไหลเข้าสุทธิสะสม 11 เดือนที่ผ่านมาราว 1.6 หมื่นล้านบาท หรือเป็นกลุ่มที่มีเงินไหลเข้าสุทธิมากเป็นอันดับที่ 4 ของอุตสาหกรรม คิดเป็น organic growth 9.4% มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมอยู่ที่ 1.3 แสนล้านบาท

2

ในส่วนของผลตอบแทนกองทุนหุ้นจีน 10 กองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ณ 30 พฤศจิกายน พบว่าในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาหลายกองทุนฟื้นตัวมาได้ค่อนข้างดี จากตารางกองทุน United All China Equity (UCHINA) มีผลตอบแทนในรอบ 1 เดือนที่ 28.39% อย่างไรก็ดีในภาพของผลตอบแทน 1 ปีกองทุนส่วนใหญ่ยังมีผลตอบแทนติดลบค่อนข้างมาก

3

จาก 10 กองทุนดังกล่าว กองทุน SCB China A-Shares มีผลตอบแทนติดลบน้อยที่สุดรอบ 1 ปีที่ 21.61% รวมทั้งมีผลความเสี่ยงที่ต่ำกว่ากองทุนอื่น โดยเป็นการลงทุนแบบกองทุนฟีดเดอร์ไปยังกองทุนหลักคือ ChinaAMC CSI300 ETF จึงมีลักษณะเป็นกองทุนดัชนีให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี CSI 300

4

ขณะที่กองทุน K China Equity-A(D) จากบลจ.กสิกรไทย ซึ่งเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มด้วยมูลค่ากว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ที่มีผลตอบแทนฟื้นตัวมาได้ค่อนข้างดีในรอบ 1 เดือน แต่ในรอบ 1 ปีหรือ 3 ปีมีผลตอบแทนติดลบและความเสี่ยงที่มากกว่ากลุ่ม ในขณะที่กองทุน K China Controlled Volatility มีผลการดำเนินงานโดยรวมที่ดีกว่าทั้งในแง่ผลตอบแทนและความเสี่ยง

5

กองทุน Bualuang China Equity (B-CHINE-EQ) เป็นเพียงกองทุนเดียวในตารางที่ยังให้ผลตอบแทนเป็นบวกระยะ 3 ปีที่ 3.3% รวมทั้งมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่ากลุ่ม โดยกองทุนยังคงลักษณะการลงทุนใน 2 กองทุนจากบลจ. Allianz ทั้งในกองทุน A-share และ all China ทำให้มีสัดส่วนหุ้น A-share ที่ระดับ 50%-60% มาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีการเลือกลงทุนในหุ้นรายตัวโดย บลจ. บัวหลวง ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักหุ้นบางตัวจากกองทุน Allianz

การลงทุนในหุ้นจีนช่วงที่ผ่านมามีปัจจัยลบสำคัญจากนโยบายโควิด การผ่อนคลายมาตรการถือว่าจะช่วยให้ภาคธุรกิจจีนสามารถฟื้นตัวได้จากปัจจัยดังกล่าวที่กดดันหุ้นจีนมาตลอดช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้การเติบโตของเศรษฐกิจจีนมีปัจจัยอื่นประกอบด้วยเช่น ผลจากมาตรการเสริมสภาพคล่องในตลาดอสังหาของจีน รวมทั้งในปีหน้าที่มีความเป็นไปได้ในการเกิดเศรษฐกิจถดถอย ยังต้องติดตามต่อไปว่าจะกระทบการผลิตและส่งออกของจีนมากน้อยเพียงใด

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar