โค้งสุดท้ายกับกองทุนประหยัดภาษี

เหลือเวลาอีกเพียง 3 วันสำหรับการลงทุนเพื่อประโยชน์ทางภาษีทั้ง กองทุน RMF และ กองทุน SSF ในช่วงที่ผ่านมาถึงแม้ว่ามูลค่าการลงทุนจะน้อยกว่าในปีที่แล้ว แต่โดยรวมในช่วงโค้งสุดท้ายนี้ยังถือว่าใกล้เคียงกับปีที่แล้ว

Morningstar 27/12/2565
Facebook Twitter LinkedIn

เงินลงทุนเดือนธันวาคมอยู่ระดับเดียวกับปีที่แล้ว

กองทุน RMF ในรอบ 11 เดือนที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าสุทธิเกือบ 9 พันล้านบาท ต่ำกว่าปี 2021 ที่ระดับ 1.2 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนธันวาคมนี้ผู้ลงทุนยังให้ความสนใจกองทุนประหยัดภาษีมากเช่นเดิม โดย ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2022 มีเงินไหลเข้าสุทธิสะสมเดือนธันวาคม 9.8 พันล้านบาท หรือระดับเดียวกันกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

1

ด้านกองทุน SSF แสดงภาพในลักษณะเดียวกันคือมีเงินไหลเข้าสะสมรอบ 11 เดือน ต่ำกว่ารอบปีที่แล้ว แต่ในเดือนธันวาคมมีเงินไหลเข้าสุทธิใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสะสม ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2022 อยู่ที่ 2.9 พันล้านบาท

2

ผลตอบแทนกองทุนตั้งแต่ต้นปี

ในแง่ผลตอบแทนกองทุนประหยัดภาษีประเภทตราสารทุนที่มีผลตอบแทนสะสมตั้งแต่ต้นปีสูงสุดดังนี้

10 อันดับผลตอบแทนกองทุน RMF – Equity

3

ดูข้อมูลกองทุน RMF - Equity เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3zYaus8

10 อันดับผลตอบแทนกองทุน SSF (เฉพาะประเภทตราสารทุน)

4

ดูข้อมูลกองทุน SSF เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3WsJ9XA

จากตารางจะเห็นได้ว่าเป็นการลงทุนในประเทศทั้งหมด อันเกิดจากผลตอบแทนหุ้นไทยในปีนี้ดีกว่าต่างประเทศค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามการลงทุนทั้ง SSF และ RMF เป็นการลงทุนระยะยาวและมีสินทรัพย์ให้เลือกหลากหลาย เช่น ตราสารทุน ตราสารหนี้ กองทุนผสม เป็นต้น ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงพอร์ตการลงทุนของตนเอง ประกอบกับพิจารณาความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในปีหน้าเพื่อให้เลือกลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

แจ้งสิทธิ์ลดหย่อนภาษี

ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 414 และ 415 ที่มีผลให้ผู้ซื้อกองทุน RMF หรือ SSF ตั้งแต่ 1 มกราคม 2022 ต้องแสดงความประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อหน่วยลงทุน โดยจะต้องแจ้งให้ครบทุกบลจ.ที่ลงทุน และเป็นการแจ้งครั้งเดียวสำหรับแต่ละบลจ. เช่น ผู้ลงทุน ก. ซื้อกองทุน RMF หรือ SSF จาก บลจ.กสิกรไทยรวม 2 กองทุน ให้แจ้งความประสงค์กับบลจ.กสิกรไทยเพียงครั้งเดียว และหากผู้ลงทุน ก. ซื้อกองทุนจากบลจ.บัวหลวงด้วย ก็ต้องแจ้งความประสงค์กับบลจ.บัวหลวงด้วยเช่นกัน และหากมีการลงทุนในปีหน้ากับบลจ.เดิมก็ไม่ต้องแจ้งความประสงค์อีก ยกเว้นเป็นการลงทุนในบลจ.ใหม่ที่ยังไม่เคยแจ้งความประสงค์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้บลจ.ส่งข้อมูลการลงทุนให้แก่สรรพากร โดยผู้ลงทุนสามารถคลิกลิ้งแต่ละบลจ.ได้ดังด้านล่างนี้

บลจ.

Link

อเบอร์ดีน 

Aberdeen Asset Management (Thailand) Limited

แอสเซทพลัส

Asset Plus Fund Management Co., Ltd.

บัวหลวง

BBL Asset Management Co., Ltd.

ดาโอ

DAOL Investment Management Co., Ltd

อีสท์สปริง (ประเทศไทย)

Eastspring Asset Management (Thailand) Company Limited

กสิกรไทย

Kasikorn Asset Management Co. Ltd

เกียรตินาคินภัทร

Kiatnakin Phatra Asset Management Co., Ltd.

กรุงศรี

Krungsri Asset Management Co., Ltd.

กรุงไทย

Krungthai Asset Management PLC

เคดับบลิวไอ

KWI Asset Management Company Limited

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

Land and Houses Fund Management Co.,LTD

เอ็มเอฟซี

MFC Asset Management PLC

วรรณ

One Asset Management Ltd

ฟิลลิป

Phillip Asset Management Co., Ltd.

พรินซิเพิล

Principal Asset Management Co., Ltd

ไทยพาณิชย์

SCB Asset Management Co., Ltd.

ทาลิส

TALIS ASSET MANAGEMENT

ทิสโก้

TISCO Asset Management Co., Ltd.

ยูโอบี (ประเทศไทย)

UOB Asset Management (Thailand) Co., Ltd

เอ็กซ์สปริง

XSpring Asset Management Co.,LTD

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar