เงินเฟ้อสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.4%

การรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนเมษายนยังคงสร้างแรงกดดันต่อเนื่อง โดยเกิดจากกลุ่มที่อยู่อาศัย รวมถึงยานพาหนะมือสอง และพลังงาน

Morningstar 11/05/2566
Facebook Twitter LinkedIn

การรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนเมษายนยังคงสร้างแรงกดดันต่อเนื่อง โดยเกิดจากกลุ่มที่อยู่อาศัย รวมถึงยานพาหนะมือสอง และพลังงาน โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 0.4% จากเดือนก่อน ซึ่งเป็นไปตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาด แต่เพิ่มจากอัตราของเดือนมีนาคมที่ 0.1% หากไม่นับรวมกลุ่มอาหารและพลังงานนั้น CPI เพิ่มขึ้น 0.4%

1

ตัวเลขสำคัญของการรายงานเงินเฟ้อ

  • CPI เพิ่มขึ้น 0.4% จากเดือนก่อน มากกว่าตัวเลขของเดือนมีนาคมที่ 0.1%
  • Core CPI เพิ่มขึ้น 0.4% เช่นเดียวกับเดือนมีนาคม
  • อัตราเงินเฟ้อรอบปีอยู่ที่ 4.9% ต่ำกว่าเดือนมีนาคมที่ 5.0%
  • Core CPI รอบปีเพิ่มขึ้น 5.5% จากเดือนมีนาคมที่ 5.6%

หากดูในรายละเอียดของสินค้าต่าง ๆ นั้นจะพบว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมานั้นมีส่วนสำคัญมาจากที่อยู่อาศัย ยานพาหนะมือสอง รวมทั้งน้ำมัน ด้านราคาอาหารนั้นไม่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยกลุ่มสินค้า grocery ผักผลไม้ลดลง 0.2% ขณะที่กลุ่มร้านอาหารเพิ่มขึ้น 0.4% การปรับตัวลงของกลุ่ม grocery นั้นเป็นผลจากห่วงโซ่อุปทานอาหารนั้นปรับตัวเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปีหน้า

นอกจากการปรับขึ้นในกลุ่มที่อยู่อาศัยและยานพาหนะมือสองแล้ว ยังมีกลุ่มประกันภัยรถยนต์ สันทนาการ อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน รวมทั้งผลิตภัณฑ์ personal care ที่เป็นส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นมา

2

เงินเฟ้อกลุ่มที่อยู่อาศัยยังคงสูง

Preston Caldwell หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากมอร์นิ่งสตาร์มองว่าเงินเฟ้อกลุ่มที่อยู่อาศัยนั้นเป็นไปตามคาด โดยลดลงจากระดับ 9% ในเดือนมกราคมมาอยู่ที่ 7.2% (คำนวณจากค่าเฉลี่ย 3 เดือนย้อนหลังเป็นอัตราต่อปี) จากแนวโน้มค่าเช่าที่เติบโตช้าลง รวมทั้งความต้องการที่อยู่อาศัยที่ยังอ่อนแอ ทำให้คาดว่าเงินเฟ้อภาคที่อยู่อาศัยจะกลับมาเป็นปกติได้ในปีหน้า

4

เงินเฟ้อกลุ่มสินค้าคงทนพุ่งขึ้น

หากดูที่เงินเฟ้อพื้นฐานโดยไม่รวมกลุ่มที่อยู่อาศัยด้วยนั้นจะพบว่ากลุ่มสินค้าคงทนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มสินค้าคงทนนั้นมีราคาขยับขึ้น 4.5% (คำนวณจากค่าเฉลี่ย 3 เดือนย้อนหลังเป็นอัตราต่อปี) หรือเพิ่มขึ้นจากระดับ -6.8% ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นผลมาจากราคารถยนต์มือสองที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีประเด็นนี้ถือว่าไม่น่ากังวลมากนัก และคาดว่าจะกลับมาที่ระดับปกติได้ตามสถานการณ์ห่วงโซ่อุปทาน

เฟดอาจคงดอกเบี้ยไว้ในการประชุมรอบมิถุนายน

หากมองเป็นเงินเฟ้อรอบปีจะลดลงมาอยู่ที่ 4.9% ในเดือนเมษายน จากเดือนมีนาคมที่ 5% และค่อนข้างต่ำกว่าเดือนธันวาคมที่ 6.5% ซึ่งอาจทำให้เฟดมีโอกาสที่จะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยได้ในเดือนมิถุนายนนี้ หลังจากปรับดอกเบี้ยขึ้นมาต่อเนื่องในการประชุม 10 ครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้จากเป้าหมายของเฟดคืออัตราเงินเฟ้อที่ 2% ทำให้เฟดจะยังคงต้องการให้อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลงกว่านี้ก่อนที่จะเริ่มปรับดอกเบี้ยลง

คุณ Preston มองว่า หากสถานการณ์เงินเฟ้อไม่ได้แย่ลง ก็ทำให้มีโอกาสที่เฟดจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยไว้ก่อนในรอบการประชุมเดือนมิถุนายนนี้ ทั้งนี้เมือสัปดาห์ก่อนเฟดได้มีการปรับดอกเบี้ยขึ้นไปอีก 0.25% ไปที่ระดับ 5.00%-5.25% และไม่มีถ้อยคำว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นต่อ แต่หากไปดูที่ตลาดตราสารหนี้จะพบว่าตลาดมองไปถึงว่าเฟดอาจลดดอกเบี้ยภายในกันยายนนี้

6

จากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและคงอยู่ระดับสูงนั้นทำให้เรายังต้องติดตามกันต่อว่าเฟดจะตัดสินใจคงดอกเบี้ยไว้ระดับเดิมในการประชุมครั้งหน้าหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบสำคัญต่อตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมทั้งส่งผลต่อแผนการลงทุนของผู้ลงทุนด้วยเช่นกันว่าจะรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างไร

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar  Morningstar