กองทุน High yield ในภูมิภาคเอเชีย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าเป็นช่วงที่ท้าทายมากสำหรับกองทุนประเภท High yield ในเอเชีย 

Morningstar 18/08/2566
Facebook Twitter LinkedIn

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าเป็นช่วงที่ท้าทายมากสำหรับกองทุนประเภท High yield ในเอเชีย ภายใต้ความผันผวนจากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมทั้งการผิดนัดชำระของผู้ออกตราสารหนี้ ส่งผลให้เกิดเงินทุนไหลออกจากกองทุน High yield และมีผลตอบแทนที่ไม่ค่อยดีในช่วงดังกล่าว

1

1

และเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กองทุนประเภท High yield ในเอเชียเริ่มมีการกระจายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆมากขึ้นทั้งใน ฮ่องกง มาเก๊า อินเดีย ฟิลิปปินส์ ขณะที่การลงทุนในจีนโดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์นั้นปรับลดลงเนื่องจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ประกอบการ

1

ปริมาณการออกตราสารหนี้ High yield ลดน้อยลง

ในแง่ปริมาณตราสารหนี้ High yield สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่ออกจำหน่ายในปีนี้นั้นปรับลดลงกว่าครึ่งจากปีก่อนหน้าเหลือเพียง 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 5% ของ Bond supply ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเอเชียในตอนนี้ ซึ่งเป็นผลจากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐส่งผลให้ต้นทุนการออกตราสารในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐนั้นเพิ่มสูงขึ้นกว่าอดีต ทำให้ผู้ออกตราสารหนี้ High yield ส่วนใหญ่ในเอเชียหันไปออกตราสารในรูปของ Local currency หรือไม่ก็เน้นการกู้ยืมเงินจากธนาคารในประเทศเนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการออกตราสารหนี้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดีคาดว่าแนวโน้มในครึ่งหลังของปีจะมีปริมาณตราสาร High yield ออกมาขายกันมากขึ้นจากทิศทางของนโยบายการเงินสหรัฐที่คาดว่าจะจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้แล้ว

โอกาสการลงทุนในตลาด High yield ในเอเชีย

สำหรับผู้จัดการกองทุนมีแนวโน้มลงทุนในตราสารโดยให้น้ำหนักที่ต่างจาก Benchmark มากขึ้น และกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่นๆ เช่น ตราสารหนี้ High yield ในกลุ่มธุรกิจคาสิโนในมาเก๊าเนื่องจากได้ประโยชน์จากการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวและความคลายกังวลที่ลดลงหลังจากผู้ประกอบการสามารถต่อ Licenses กับรัฐบาลเรียบร้อยแล้วในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการลงทุนไปยังธุรกิจพลังงานทางเลือกในอินเดียตามการส่งเสริมของรัฐบาลอินเดีย รวมถึงลงทุนในตราสารของภาคธุรกิจในอินโดนีเซียจากเศรษฐกิจที่เติบโตสูงอีกด้วย

ส่วนการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงให้ความระมัดระวัง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอยอดขายอสังหาริมทรัพย์ปรับลดลง และมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ในบางผู้ประกอบการ ทำให้ราคาตราสารหนี้ในกลุ่มนี้ปรับลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในจีนต้องหันไปพึ่งแหล่งเงินทุนจากการออกตราสารในประเทศหรือกู้ธนาคารพาณิชย์ทดแทน

การลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีระดับ Investment grade

กองทุนประเภท High yield นอกเหนือจากการลงทุนในตราสารประเภท High yield แล้วยังมีกระจายการลงทุนบางส่วนในตราสารหนี้คุณภาพดีอย่าง Investment grade bondsซึ่งได้ประโยชน์ในช่วงที่ Bond yield เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้ราคาตราสารอยู่ในระดับที่น่าสนใจลงทุน

1

คำแนะนำการลงทุนในมุมมองของผู้จัดการกองทุน

ผู้จัดการกองทุนกลุ่ม High yield funds มีมุมมองการลงทุนที่หลากหลาย เช่น ผู้จัดการกองทุน BGF Asian High Yield Bond แนะนำให้ลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินหยวนและดอลลาร์สิงคโปร์เนื่องจากมองว่าราคาตราสารได้สะท้อนความเสี่ยงไปมากแล้ว หรือผู้จัดการกองทุน Pimco GIS Asia High Yield Bond แนะนำการลงทุนในตราสารของธุรกิจการเงินใน Europe เนื่องจากมีระดับราคาที่น่าสนใจ นอกจากนี้ผู้จัดการกองทุน HSBC Asian High Yield Bond ยังเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารกลุ่ม AT1 ของธนาคารในเกาหลีหลังจากที่ราคาตราสารตกลงมามากจากเหตุการณ์ Silicon Valley Bank และ Credit Suisse ส่วนผู้จัดการกองทุน Fidelity Asian High Yield ให้น้ำหนักลงทุนมากขึ้นในตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment grade)ในญี่ปุ่นและเกาหลี

 

 

 

 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar  Morningstar