กองทุนยั่งยืนทั่วโลกรอบไตรมาส 4-21

กองทุนยั่งยืนทั่วโลกในรอบไตรมาสสุดท้ายของปี 2021 มีมูลค่าทรัพย์สินเติบโต 9% ไปที่ 2.7 ล้านล้านดอลลาร์

Morningstar 03/02/2565
Facebook Twitter LinkedIn

กองทุนยั่งยืนทั่วโลกในรอบไตรมาสสุดท้ายของปี 2021 มีมูลค่าทรัพย์สิน ไปที่ 2.7 ล้านล้านดอลลาร์ เติบโต 9% จากไตรมาสที่ 3 หรือ 53% จากปี 2020 โดยมีเงินไหลเข้าสุทธิ 1.4 แสนล้านดอลลาร์ มากกว่าไตรมาสก่อนหน้าราว 12% ซึ่งแน่นอนว่ามีเม็ดเงินมาจากทางฝั่งยุโรปเป็นหลักที่มูลค่า 1.1 แสนล้านดอลลาร์ โดยยุโรปยังคงเป็นตลาดกองทุน ESG ที่มีพัฒนาการและมีความหลากหลายมากที่สุด ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาด้วยสัดส่วน 13% ของมูลค่าการลงทุนอย่างยั่งยืนทั่วโลก

exh1

ในขณะที่ภูมิภาคอื่นคือ Asia ex-Japan, Japan, Australasia และแคนาดา มีเงินไหลเข้าสุทธิรวม 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลง 13.5% จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังเพิ่มขึ้น 17.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

exh2

กองทุนเปิดใหม่ทั่วโลก

ในด้านการออกผลิตภัณฑ์ยังมีการเปิดกองทุนใหม่จำนวน 266 กองทุนทั่วโลก ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า โดย 60% ของกองทุนใหม่เป็นกองทุนในยุโรป ตามมาด้วยทางฝั่งสหรัฐ และญี่ปุ่น

exh4

ในทวีปเอเชียยังคงเป็นประเทศจีนและญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่ด้วยมูลค่าราว 4.9 และ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ตามลำดับ โดยในตลาดประเทศญี่ปุ่นมีการเติบโต 11% จากไตรมาสก่อนหน้า และมูลค่าทรัพย์สินส่วนใหญ่ของกองทุนในประเทศญี่ปุ่นเป็นกองทุนหุ้นแบบ active funds

exh29

ในแง่ของการปรับปรุงเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา International Financial Reporting Standards Foundation (IFRS Foundation) ได้จัดตั้ง International Sustainability Standards Board (ISSB) เพื่อเป็นส่วนช่วยสร้างมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของบริษัทต่าง ๆ นอกจากนี้ทาง IOSCO ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลระดับโลก ได้ออกมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแลแต่ละประเทศใช้พิจารณาอ้างอิงในการออกเกณฑ์

(หมายเหตุ ข้อมูลข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของรายงาน Global Sustainable Fund Flows Q4-2021 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลกองทุนเปิด อีทีเอฟ ทั้งนี้ไม่รวมกองทุนตราสารตลาดเงิน กองทุนรวมฟีดเดอร์ และกองทุนรวมหน่วยลงทุน)

กองทุนรวมยั่งยืนในประเทศ

ทางด้านกองทุนยั่งยืนของไทยในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาจำนวน 75 กองทุน (รวมทุกชนิดหน่วยลงทุน) มูลค่าทรัพย์สินราว 6 หมื่นล้านบาท น้อยกว่าช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาจากเงินไหลออกราว 5 ร้อยล้านบาทรวมทั้งผลตอบแทนที่ติดลบที่เป็นไปตามความผันผวนของตลาดหุ้นโลกในช่วงเดือนมกราคม

ทั้งนี้ในจำนวน 75 กองทุนดังกล่าวมีจำนวน 48 กองทุนที่ได้ Morningstar Sustainability Rating ในระดับ 3 globe ขึ้นไป ซึ่งมีการประเมินเรตติ้งโดยใช้ข้อมูลอ้างอิงจาก Sustainalytics ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมิน ESG ระดับโลกด้วยรางวัล Best ESG Ratings Provider จาก ESG Investing Awards 2022

ตลาดการลงทุนอย่างยั่งยืนในประเทศไทยยังมีแนวโน้มการเติบโตไปในทิศทางเดียวกับทั่วโลก จากองค์กรในหลายภาคส่วนมีความตื่นตัวกันมากขึ้น รวมทั้งจะมีการออกเกณฑ์จากทางสำนักงาน ก.ล.ต. ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมซึ่งจะช่วยเห็นภาพการลงทุนอย่างยั่งยืนได้ชัดเจนมากขึ้น

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar